ผู้สื่อข่าว “มิติหุ้น” รายงานว่า จากการที่กระทรวงพาณิชย์เผยอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือน ธ.ค.63 เท่ากับ -0.27% เนื่องจากราคาพลังงานค่า โดยสาร &ขนส่ง ราคาข้าวและแป้งต่างๆ ลดลง แต่เพิ่มขึ้น +0.15% ได้เมื่อเทียบกับพ.ย.63 ซึ่งมาจากอาหารสด ผัก ผลไม้เนื้อสัตว์ สำหรับทั้งปี 63 อัตราเงนิเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ -0.85%
- ด้านอตัราเงินเฟ้อพื้นฐานเดือนธ.ค.63 เท่ากับ +0.19% (+0.05%MoM) ส่วนทั้งปี63 เท่ากบั 0.29%
- กระทรวงพาณิชย์ยืนยันว่ายังไม่เกิดภาวะเงินฝืด เพราะราคาสินค้าหลายชนิดปรับขึ้นได้และมีแนวโน้มดี และ
มาตรการของรัฐช่วยหนุนภาคเกษตรอย่างต่อเนื่อง
- ทิศทางเงินเฟ้อ ปี64 คาดว่าจะปรับเพิ่มขึ้นเป็น 1.2% (ค่ากลางของชว่ งประมาณการที่ 0.7-1.7%) จากอุปสงค์ฟื้นตัวสะท้อนผลดีของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ (เช่น คนละครึ่ง เป็นต้น) และราคาพลังงานที่ขยับขึ้น โดยมีสมมติฐาน GDP growth 3.5-4.5%, ราคาน้ำมันดิบดูไบ 40-50 US$/bbl และอัตราแลกเปลี่ยน 30-32 บาท/US$
ทั้งนี้คาดว่า อัตราเงินเฟ้อทั่วไปงวดไตรมาส 1/64จะยังติดลบราว -0.5% แล้วค่อยปรับเป็นบวกตั้งแต่ไตรมาส2/64 เป็นต้นไป
- ความเห็นเชิงกลยุทธ์ DBS : ประมาณการอัตราเงินเฟ้อทั่วไปปี 64 ไว้ที่ +1.0% ต่ำกว่า ที่กระทรวงพาณิชย์ ประเมินไว้เล็กน้อย และคาดการณ์ GDP growth ไว้ที่ +3.5% ส่วนอัตราดอกเบี้ยคาดว่า จะยังทรงตัวต่ำ สุดเป็นประวัติการณ์ต่อเนื่องในปี64ซึ่ง อัตราดอกเบี้ยต่ำเป็นบวกกับการลงทุนในตลาดหุ้น โดยเฉพาะหุ้นปันผลสูง และหุ้นกลุ่ม Property Fund & REIT แต่เนื่องจากหุ้นบางตัวได้รับผลกระทบจากโควิด-19 มาก และเมื่อผ่านพ้นวิกฤตโควิดแล้วธุรกิจกอ็าจจะไม่ได้ดีเหมือนเดิม หรือต้องใช้เวลาในการฟื้นตัวมาก แนะนำเลือกซื้อ (Selective Buy) ซึ่งหุ้นเด่น ในกลุ่มปันผลสูง ได้แก่ AP, LH, SENA, SC, KTB, SCB, TISCO, INTUCH, RJH, UTP, AIMIRT, DIF เป็นต้น
www.mitihoon.com