บลจ.วี ชี้ ชู ธีมลงทุนหุ้นเทคโนโลยี ยังเติบโตในระยะยาว เปิดขาย IPO ‘กองทุน WE-CYBER’ รับเทคโนโลยีโครงสร้างพื้นฐานอินเทอร์เน็ตยุคใหม่ที่มีการเติบโตอย่างแข็งแกร่ง

455

 

 

มิติหุ้น-“บลจ. วี มอง เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตยุคใหม่ยังเติบโต ผลัดดันการสร้างนวัตกรรมใหม่ ที่รองรับการการขยายตัวของธุรกิจและสังคมเมือง  ระบุ เป็นจังหวะดีรับปี 2564  เปิดขาย IPO “กองทุนเปิด วี เน็กซ์เจเนอเรชั่น อินเทอร์เน็ต (WE-CYBER)” ระหว่างวันที่ 18 -28 มกราคม 2564  สร้างโอกาสรับผลตอบแทนในบริษัทที่เติบโตจากการพัฒนานวัตกรรมเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตยุคใหม่ทั่วโลก  ชู หุ้นเด่น เช่น Tesla Inc , Roku , Square  ”

“นายอิศรา พุฒตาลศรี”  ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน วี จำกัด (บลจ.วี) เปิดเผยว่า  การพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหมๆ กำลังเติบโตอย่างแข็งแกร่ง เพื่อตอบสนองต่อการเติบโตของสังคมเมืองและขยายตัวของธุรกิจต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น  1.) การพัฒนา Computing Platform จากการใช้ Big Data และ Artificial Intelligence (AI) ไปสู่เทคโนโลยีเรียนรู้เชิงลึก  (Deep Learning) เพื่อนำไปประยุกต์ใช้กับอุตสาหกรรมอื่นๆ เช่น รถยนต์ไร้คนขับ  , การสื่อสารโดยตรงกับคอมพิวเตอร์ (Conversational Computers)

โดยการใช้ ชิปประมวลผลที่มีประสิทธิภาพสูง (AI Accelerator Chip) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน มีแนวโน้มจะเติบโตปีละประมาณ 36%  และการใช้ Deep Learning สามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจเติบโตปีละ 21%  ขณะเดียวกัน เทคโนโลยี AI ทำให้เกิดการเติบโตในธุรกิจอื่นๆ อีกด้วย  2.)  สื่อบันเทิง เทคโนโลยีเข้ามาปรับเปลี่ยนและพัฒนาเพื่อตอบสนองพฤติกรรมของผู้บริโภคด้วยการใช้  Streaming Media ซึ่งสามารถรับชม รับฟังได้ทุกที่ ทุกเวลา นอกจากนี้ AI ยังช่วยในด้านการประมวลฐานข้อมูลเชิงลึก เพื่อทำการตลาด ปัจจุบันผู้ผลิตเนื้อหาสื่อสามารถเป็นผู้จัดจำหน่ายได้ในเวลาเดียวกัน ซึ่งเพิ่มประสิทธิภาพและตอบสนองต่อผู้บริโภคในการทำการตลาดได้อย่างรวดเร็ว โดยคาดว่ารายได้จากการ Streaming จะเติบโตปีละ 35% ภายในปี 2024

ทั้งนี้นวัตกรรมที่พัฒนารองรับการใช้อินเทอร์เน็ตมากขึ้น ยังทำให้ 3.) การใช้อุปกรณ์เชื่อมโยงการส่งข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต หรือ Internet of Things (IoT)  เพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะภาคธุรกิจต่างๆ ที่ใช้ เทคโนโลยี IoT เพิ่มขึ้นจาก 13% ในปี 2014 เป็น 25% ในปี 2019 และคาดว่าจำนวนอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อ IoT ทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นเป็น 43,000 ล้านเครื่อง ภายในปี 2023 หรือเกือบ 3 เท่าจากปี 2018

นอกจากนี้ ยังส่งผลไปถึงการเติบโตของธุรกรรมออนไลน์ที่พัฒนาไปสู่การใช้  4.) เทคโนโลยี โครงข่ายการเก็บบัญชีธุรกรรมออนไลน์(Blockchain) ซึ่งมีการลงทุนมากในอุตสาหกรรมการเงิน โดยรายได้จากเทคโนโลยี Blockchain ทั่วโลกเติบโตอย่างมากและคาดว่าจะเพิ่มขึ้นที่ระดับกว่า 39,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2025  ซึ่งจะทำให้การทำธุรกิจออนไลน์ต่างๆ เป็นไปได้อย่างสะดวกและปลอดภัยมากขึ้น  ซึ่งจะสนับสนุนให้ 5.) ธุรกิจ  E-Commerce มีการเติบโตมากยิ่งขึ้น จากความปลอดภัยในการใช้งาน ประกอบกับการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมผู้บริโภค และเทคโนโลยีที่เข้ามามีส่วนช่วยเช่น การแสดงสินค้าเหมือนจริงด้วย

(Virtual Reality) ที่เพิ่มความน่าสนใจกับลูกค้า , การซื้อขายสินค้าด้วยระบบเสียง (Voice Commerce) และ การใช้เทคโนโลยีอากาศยานไร้คนขับ (Drone) ในการขนส่งสินค้าที่เริ่มใช้กับบริษัท Amazon Prime Air ทำให้ส่งสินค้าได้รวดเร็วมีต้นทุนต่ำ และใช้เทคโนโลยี  Blockchain เพื่อสามารถติดตามสินค้า (Tracking) ที่สั่งซื้อได้ คาดการณ์ส่วนแบ่งในภาคธุรกิจค้าปลีก E-Commerce มีสัดส่วนที่เติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2023 E-Commerce จะมีส่วนแบ่งกว่า 22% มูลค่ากว่า 6.5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

ดังนั้นด้วยแนวโน้มการเติบโตสูงของการใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานสำหรับนวัตกรรรมเทคโนโลยีใหม่ๆ บลจ.วี จึง เปิดเสนอขาย  IPO “กองทุนเปิด วี เน็กซ์เจเนอเรชั่น อินเทอร์เน็ต (WE-CYBER)” ระหว่างวันที่ 18-28 ม.ค 2564 ลงทุนผ่าน กองทุนหลัก  ARK Next Generation Internet ETF ที่มีนโยบายลงทุน ในบริษัทที่เกี่ยวข้องกับการเติบโตจากการพัฒนานวัตกรรมที่ได้ประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างพื้นฐานของเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตยุคใหม่  เช่น การประมวลผลแบบคลาวด์ , Big data , เทคโนโลยีบล็อกเชน, Social Platform และ Internet of things เพื่อสร้างโอกาสรับผลตอบแทนให้กับพอร์ตการลงทุนให้สูงกว่าตลาดในระยะยาว

ตัวอย่างบริษัทที่กองทุนลงทุนเช่น 1.) บริษัท Tesla Inc. ผู้ออกแบบผลิตและจำหน่ายรถยนต์ไฟฟ้า รวมถึงระบบการส่งกำลังของรถยนต์ไฟฟ้า และเป็นเจ้าของเครือข่าย บริการและการจำหน่ายทั่วโลก โดยมีภารกิจหลักคือ การกระตุ้นให้เกิดการเข้าสู่ยุคการเดินทางที่ยั่งยืน  (Accelerate the World’s Transition to Sustainable Transport)

2.) บริษัท ROKU Inc. ผู้ออกแบบผลิตผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ ที่สามารถสตรีมมิ่ง  เสียงและวิดีโอ จากอินเทอร์เน็ตไปสู่ยังระบบเชื่อมต่อความบันเทิงภายในบ้าน ซึ่งมีฐานผู้ใช้งานทั่วโลกกว่า 36.9 ล้านคน  3.) บริษัท Square, Inc. ให้บริการซอฟต์แวร์ การชำระเงินผ่านมือถือ  ณ จุดขาย มีการรายงานข้อมูลการขาย และข้อเสนอแนะต่างๆ  อีกทั้งบริษัทยังให้บริการเกี่ยวกับทางการเงินและการตลาด 

4.) บริษัท Zillow Group, Inc. ผู้ให้บริการอีคอมเมิร์ซ เกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์และการจำนอง ผ่านเว็บไซต์และแอปพลิเคชันมือถือ ที่ให้บริการทั้งผู้ซื้อ ผู้ขาย และผู้ให้เช่า โดยมีจำนวนผู้ใช้บริการทั่วสหรัฐอเมริกา ที่ไม่ซ้ำกันเฉลี่ย 236 ล้านคนต่อเดือน  5.) บริษัท Facebook, Inc. ผู้ให้บริการเว็บไซด์เครือข่ายสื่อสารสังคมออนไลน์ ที่มีผู้ใช้งานมากกว่า 2.5 พันล้านคนต่อเดือน และมีผู้ใช้บริการลงโฆษณาทั้งหมดกว่า 7 ล้านคน  6.) บริษัท Pinterest, Inc. แพลตฟอร์มที่รวบรวมภาพถ่ายส่วนตัว  รวมถึงไอเดียใหม่ ๆ เพื่อสร้างแรงบันดาลใจและความคิดสร้างสรรค์ให้กับผู้เข้าชมซึ่งให้บริการลูกค้าทั่วโลก

ด้วยกลยุทธ์กระจายการลงทุน และเน้นเลือกบริษัทที่เติบโตจากการพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ รวมทั้งมีระดับราคาหุ้นที่เหมาะสม  ทำให้ผลการดำเนินงานของกองทุนหลัก  ARK Next Generation Internet ETF  สร้างโอกาสรับผลตอบแทนที่โด่ดเด่น โดย ณ วันที่ 30 ก.ย. 2563 ให้ผลตอบแทนย้อนหลัง 3 เดือนที่อยู่ที่  27.99%  ย้อนหลัง 1 ปีอยู่ที่  123.08%  ย้อนหลัง 3 ปีอยู่ที่  45.63% ย้อนหลัง 5 ปี 43.20%  และผลตอบแทนตั้งแต่จัดตั้งกองทุน 36.28% ต่อปี *

“การพัฒนาทางเทคโนโลยีที่เติบโตต่อเนื่องทำให้เกิดการพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ  ส่งผลให้เกิดความสะดวกสบายและตอบสนองต่อการเติบโตของสังคมเมืองที่รองรับความก้าวหน้าและการขยายตัวของทุกกลุ่มธุรกิจในอนาคต  จึงเป็นโอกาสสำหรับการลงทุนในธุรกิจที่เติบโตจากการสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ซึ่งมีผู้จัดการกองทุนที่ผู้เชี่ยวชาญ คัดเลือกวิเคราะห์บริษัทที่เข้าไปลงทุน ในรูปแบบการใช้ข้อมูลทั้งภายในและภายนอกร่วมกัน (Open Research Ecosystem) เพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง “กองทุนเปิด วี เน็กซ์เจเนอเรชั่น  อินเทอร์เน็ต (WE-CYBER)” จึงมีความน่าสนใจลงทุนเพื่อสร้างโอกาสรับผลตอบแทนระยะยาว จากธีมการลงทุนหุ้นในกลุ่มเทคโนโลยีโครงสร้างพื้นฐานอินเทอร์เน็ต ทั่วโลก  ที่เป็นปัจจัยพื้นฐานสำคัญต่อการพัฒนาธุรกิจต่างๆ ในอนาคต”  นายอิศรา กล่าว

สำหรับผู้ที่สนใจสามารถติดต่อสอบถามเพิ่มเติมพร้อมรับหนังสือชี้ชวนได้ที่ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน วี จำกัด (“บลจ.วี”) โทรศัพท์ 02-648-1555 หรือตัวแทนการขายและรับซื้อคืนหน่วยลงทุนของ บลจ.วี ได้แก่ บล.เคทีบี (ประเทศไทย), บล.หยวนต้า , บล.โนมูระ, บล.เคจีไอ, บล.เอเชียเวลท์, บล.ฟิลลิป, บล.กรุงศรี, บล.เอสบีไอ ไทย ออนไลน์,บล.คันทรี่ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน), บล.เมย์แบงก์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน),  บลน.โรโบเวลธ์, บลน.ฟินโนมินา,  บลน.เวลท์ รีพับบลิค, บลน.เว็ลธ์เมจิก และบริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน แอสเซนด์ เวลธ์ จำกัด

  • ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไข ผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน
  • ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลในหนังสือชี้ชวนให้เข้าใจและควรเก็บหนังสือชี้ชวนไว้เป็นข้อมูลเพื่อใช้อ้างอิงในอนาคต และเมื่อมีข้อสงสัยให้สอบถามผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนให้เข้าใจก่อนซื้อหน่วยลงทุน
  • ผลการดำเนินงานในอดีต มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต
  • ผลตอบแทนของกองทุนรวมจะขึ้นอยู่กับผลการดำเนินงานของกองทุน ARK Next Generation Internet ETF (กองทุนหลัก)
  • กองทุนรวมนี้ลงทุนกระจุกตัวในประเทศสหรัฐอเมริกา ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย
  • กองทุนอาจลงทุนในตราสารที่มีสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง (Structured Note) ส่งผลให้กองทุนมีความเสี่ยงมากกว่ากองทุนรวมทั่วไป
  • กองทุนไทยอาจลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Derivatives) เพื่อป้องกันความเสี่ยง (Hedging) จากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศโดยขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน ทั้งนี้ เนื่องจากกองทุนที่ลงทุนในต่างประเทศไม่ได้ป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนทั้งจำนวน ผู้ลงทุนอาจจะขาดทุน หรือได้รับกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน หรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้
  • กองทุนอาจลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารการลงทุน (Efficient Portfolio Management) โดยพิจารณาจากสภาวะตลาดในขณะนั้น กฎข้อบังคับ และปัจจัยอื่นๆที่เกี่ยวข้อง จึงเหมาะสมกับผู้ลงทุนที่ต้องการผลตอบแทนสูงหรือสามารถรับความเสี่ยงได้สูงกว่าผู้ลงทุนทั่วไป ผู้ลงทุนควรลงทุนในกองทุนรวมเมื่อมีความเข้าใจในความเสี่ยงของสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และผู้ลงทุน
    ควรพิจารณาความเหมาะสมในการลงทุน โดยคำนึงถึงประสบการณ์การลงทุน วัตถุประสงค์ และฐานะทางการเงินของผู้ลงทุนเอง

www.mitihoon.com