มิติหุ้น – เดลล์ เทคโนโลยีส์ ประกาศวิสัยทัศน์ “Perspectives – 2021 and beyond” สำหรับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น (APJ) โดย อามิต มิธา ประธานภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค และโกลบอล ดิจิทัล ซิตี้ พร้อมด้วย จอห์น โรส ประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านเทคโนโลยี สรุปถึงสิ่งสำคัญสูงสุดอันดับต้นด้านไอที (Top IT Priorities) ของปี 2020 พร้อมระบุเทคโนโลยีเทรนด์ที่จะขึ้นมานำในปี 2021 และปีต่อๆ ไป
“ปี 2020 คือปีของความรีบเร่งอย่างที่เราได้เห็นกัน เรามีโอกาสได้นั่งในที่นั่งแถวหน้าสุดของการเคลื่อนสู่การปฏิวัติด้านดิจิทัล (Digital Transformation) ในเวลาเพียงข้ามคืนเพื่อพบการเปลี่ยนแปลง ด้วยการเริ่มการทำงานกันจากบ้าน อย่างไรก็ตาม ธุรกิจก็ยังคงสามารถดำเนินต่อไปได้อย่างราบรื่น และนี่ก็คือพลังที่แข็งแกร่งทรงอานุภาพของเทคโนโลยี” มิธา กล่าว
มิธา กล่าวเสริมว่า ด้วยเหตุนี้ การสร้างและพัฒนา นวัตกรรมได้ถูกเร่งให้เกิดเร็วมากยิ่งขึ้น ในปีที่แล้ว เดลล์ เทคโนโลยีส์ประกาศเปิดตัวนวัตกรรมหลักในหลายส่วน อาทิ การเปิดตัวของ PowerScale, PowerStore และ Project APEX “เรากำลังพัฒนาสายผลิตภัณฑ์ในระดับชั้นนำของอุตสาหกรรมในหลายๆ ส่วน เพื่อเสริมพลังในการทำงานให้กับองค์กรธุรกิจ เพื่อให้มั่นใจได้ว่าเราคือบริษัทด้านโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญในยุคของข้อมูล” มิธากล่าว
ควอนตัม คอมพิวติ้งและเซมิคอนดักเตอร์ท่ามกลางท้อปเทรนด์เทคโนโลยีที่เกิดขึ้นใหม่
สำหรับแนวโน้มเทคโนโลยีในปี 2021 และในอนาคตที่ไกลกว่านั้น โรสได้ชี้เฉพาะไปที่ควอนตัม คอมพิวติ้ง และกล่าวว่าการเติบโตของเทคโนโลยีดังกล่าวยังต้องใช้เวลาอีกหลายปีในอนาคตข้างหน้า ทั้งนี้ ควอนตัม คอมพิวติ้งคือ “การเปลี่ยนแปลงโดยสิ้นเชิง” (disruption) แต่ควอนตัม คอมพิวติ้งจะไม่ได้เข้ามาเปลี่ยนแปลง (disrupt) ตลาดในด้านพลังการประมวลผลคอมพิวเตอร์แบบดั้งเดิม (Conventional Computing)” โรสอธิบายเพิ่มเติมว่าเทคโนโลยีควอนตัม คอมพิวติ้ง คือ “ตัวเร่ง(Accelerator) ที่เสริมประสิทธิภาพให้กับพลังการประมวลผลคอมพิวเตอร์แบบเดิม”
“ในปีที่แล้ว ควอนตัม คอมพิวติ้งยังคงเป็นสิ่งที่อยู่ในระหว่างการพัฒนาและคนส่วนใหญ่เองก็ยังไม่สามารถเข้าถึงได้ แต่ในปีนี้ เรามีระบบควอนตัมในจำนวนพอสมควรที่พบเห็นได้ทั้งในพับบลิค คลาวด์ ในบริษัทด้านอุตสาหรรม และในห้องแล็บของภาครัฐบาล และปีนี้จะเป็นปีแรกที่จะมีการอำนวยความความสะดวกในวงกว้างมากยิ่งขึ้นให้กับระบบนิเวศด้านการพัฒนาซอฟต์แวร์เพื่อนำมาใช้ในการทดสอบการทำงานร่วมกับควอนตัม คอมพิวติ้ง นี่จะเป็นปีแรกที่นักวิทยาศาสตร์ด้านคอมพิวแตอร์ที่ไม่เคยเข้าถึงควอนตัม คอมพิ้วติ้งมาก่อนสามารถเข้าถึงโปรแกรมจำลองและเริ่มต้นเรียนรู้ภาษาของควอนตัมหลายปีล่วงหน้าก่อนที่จะเปลี่ยนควอนตัมไปเป็นมูลค่า”
นอกจากนี้ โรสยังชี้ให้เห็นว่าเซมิคอนดักเตอร์เองก็ถือเป็นอีกหนึ่งเทรนด์ทางด้านเทคโนโลยีชั้นนำที่ควรทราบ
“เรากำลังก้าวจากยุคของการประมวลผลที่เรียกว่าโฮโมจีเนียส (Homogeneous Compute) ไปสู่ยุคของการประมวลผลแบบเฮทเทอโรจีเนียส (Heterogeneous Compute) ซึ่งนี่หมายความว่าระบบโฮโมจีเนียส คอมพิวท์ อาทิ x86 จะได้รับการส่งเสริมประสิทธิภาพเป็นอย่างสูงด้วยสถาปัตยกรรมเฉพาะโดเมน หรือ Domain Specific Architectures (ตัวเร่งความเร็ว) และระบบนิเวศเซมิคอนดัคเตอร์ต่างๆ ได้รับการจัดระบบใหม่เพื่อโดเมนนี้”
โรสยังเน้นย้ำว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงต่างๆ เกิดขึ้นในปริมาณที่เท่าเทียมกันทั้งในการสร้างซอฟต์แวร์ให้มีความทันสมัย หรือ Software Modernization และการบูรณาการของแพลตฟอร์มต่างๆ (Integration Platforms) เข้าด้วยกัน อาทิ เซิร์ฟเวอร์ในอนาคต การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ไม่ได้เกิดขึ้นในเชิงเทคนิคเท่านั้นหากแต่จะเกิดขึ้นในระดับภาพรวมของอุตสาหกรรมภายในปีนี้
โอกาสสำหรับนวัตกรรม 5G และมัลติคลาวด์นำการเปลี่ยนแปลงไปสู่อุปกรณ์ปลายทาง (Edge)
จากข้อมูลของโรส แนวคิดที่เกี่ยวกับ 5G จะไม่ใช่สิ่งที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์สำหรับผู้บริโภค หรือคอนซูเมอร์ โพรดัคส์อีกต่อไป หากแต่จะเป็นองค์กรธุรกิจระดับเอนเทอร์ไพรซ์ที่มีอิทธิพลต่อการใช้งานในส่วนนี้
“ในปี 2021 เราจะมีอุปกรณ์ 5G แบบสแตนอโลนด์ (standalone) ที่แท้จริงที่จะพร้อมกับคุณสมบัติขั้นสูง ทั้งนี้ กรณีการใช้งานในระดับเอนเทอร์ไพรซ์จะมีอิทธิพลสำคัญต่อภาพรวมในตลาด (landscape) ของ 5G ในการนำเอามาใช้งานทั้งในภาครัฐและเอกชน สถาปัตยกรรมพื้นฐานของ 5G จะเคลื่อนตัวออกจากการใช้งานในกลุ่มโทรคมนาคม แล้วย้ายไปสู่คลาวด์ และสถาปัตยกรรมด้านไอที ซึ่งจะเปิดกว้างสู่รูปแบบของการกำหนดด้วยซอฟต์แวร์ (Software-Defined) เป็นครั้งแรกอีกด้วย” เขากล่าว
การทำนายส่วนสุดท้ายของโรสคือส่วนของอุปกรณ์ปลายทาง หรือ edge การเพิ่มจำนวนขึ้นของเอดจ์ (Edge Proliferation) จะกลายมาเป็นปัญหาสำคัญของ multi-cloud edge ที่มีระบบปลายทาง (Edge) ต่างๆ ที่เป็นอิสระต่อกันมากเกินไป โดยสถาปัตยกรรมเอดจ์จะเข้ามามีส่วนร่วมอยู่ระหว่างเอดจ์ แพลตฟอร์ม (ศูนย์กลางการแชร์ประสิทธิภาพการใช้งาน) และเอดจ์ เวิร์กโหลด (ส่วนขยายของงานการประมวลผลและงานด้านข้อมูล)
“ในปี 2021 และปี 2022 เราจะเห็นการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการสร้าง เอดจ์ แพลตฟอร์มต่างๆ ที่สามารถทำงานด้วยประสบการณ์ของมัลติเพิล เอดจ์ (Multiple Edge) และบริการรูปแบบต่างๆ ที่กำหนดด้วยซอฟต์แวร์ (Software-Defined Services) บนตัวเองเพื่อแก้ปัญหาการเพิ่มจำนวนของเอดจ์ที่มากขึ้น (Edge Proliferation) ทั้งนี้ เอดจ์ แพลตฟอร์มจะกลายเป็นพื้นที่สำคัญใหม่ของประสิทธิภาพไอที On-Premise ที่พร้อมให้บริการทั้งในรูปแบบของผลิตภัณฑ์และรูปแบบบริการ as-a-service” เขาอธิบายเพิ่มเติม
มิธา กล่าวว่า เทรนด์ต่างๆ เหล่านี้มีความสอดคล้องและสามารถนำไปใช้ได้กับประเทศที่อยู่ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค รวมถึงญี่ปุ่น (APJ) มิธา กล่าวสรุปถึงเป้าหมายสำคัญที่สำคัญอย่างยิ่ง (Moonshot Goals) ของแผนงาน Dell Technologies’ 2030 พร้อมเน้นย้ำว่าเดลล์จะสร้างผลกระทบทางสังคมในเชิงบวกให้เกิดขึ้นจริงและวัดผลได้โดยการปลูกฝังการรวมเข้าด้วยกันเพื่อก้าวไปสู่ความยั่งยืน เพื่อการเปลี่ยนแปลงชีวิตและรักษาความเป็นส่วนตัวและจริยธรรมในองค์รวม
“ท้ายที่สุด เราเชื่อว่าสิ่งที่เราทำไม่เพียงแต่มีความสำคัญเท่านั้น แต่หากทำได้เป็นอย่างดีและถูกต้องแล้วจะช่วยให้โลกใบนี้ให้เป็นสถานที่ที่ดียิ่งขึ้น เราเชื่อมั่นเป็นอย่างยิ่งว่าเมื่อนำเอาเทคโนโลยีและข้อมูลเข้ามาผสมผสานกับเจตจำนงค์ของมนุษยชาตินั่นคือพลังในเชิงบวกของโลกและจะเป็นเช่นนั้นเสมอไป และในเวลานี้ ผมเชื่อว่าเรากำลังมุ่งหน้าสู่อนาคตที่สดใสและดีกว่าเดิม”
www.mitihoon.com