มิติหุ้น – นางอรอนุช ทัพพสารดำรง รองกรรมการผู้จัดการด้านกฎระเบี
ยบอาหาร ซีพีเอฟ กล่าวว่า ซีพีเอฟ ให้ความสำคัญกับการพัฒนาและวิจั
ยอาหารและผลิตภัณฑ์อาหารภายใต้
วิสัยทัศน์ “ครัวของโลก” โดยมีเป้าหมายผลิตอาหารปลอดภั
ยและสร้างความมั่นคงทางอาหาร ตามแนวทางความรับผิดชอบต่อสั
งคมและการพัฒนาอย่างยั่งยืน ตลอดจนมุ่งมั่นสร้างอาหารทางเลื
อกและส่งเสริมการเข้าถึงอาหาร โดยมีเป้าหมายในการพัฒนาผลิตภั
ณฑ์ใหม่ที่มุ่งเน้นสุขโภชนาการ สุขภาพและสุขภาวะที่ดี ซึ่งปัจจุบันมากกว่า 30% ของผลิตภัณฑ์ใหม่เป็นผลิตภัณฑ์
เพื่อส่งเสริมสุขภาพที่ดี ขณะเดียวกัน ในปี 2563 เด็ก เยาวชนและผู้บริโภค 1.3 ล้านคน ในประเทศไทย ได้รับการส่งเสริมให้เข้าถึ
งอาหารและเรียนรู้เกี่ยวกั
บอาหาร โภชนาการและการบริโภคอย่างยั่
งยืน เพื่อให้การผลิตและการบริโภคมี
ส่วนร่วมบรรเทาผลกระทบต่อสิ่
งแวดล้อม
ในปีนี้ ซีพีเอฟ ร่วมกับผู้ผลิตอาหารชั้นนำระดับโลกและระดับภูมิภาคหลายราย ให้การสนับสนุน โปรเว็ก เอเซีย ซึ่งเป็นองค์กรวีแกนที่ไม่แสวงหากำไรและมีเป้าหมายในส่งเสริมการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี ให้ความสำคัญกับการคุ้มครองสวัสดิภาพสัตว์ การรักษาสิ่งแวดล้อม โดยจัดการแข่งขันในระดับภูมิภาค (Food Innovation Challenge) ภายใต้แนวคิดการพัฒนานวัตกรรมอาหารที่มาจากพืช “Plant-based innovation” มุ่งเน้นส่งเสริมนักศึกษา รวมทั้งนักวิจัยและพัฒนาอาหารรุ่นใหม่ ซึ่งจะนำไปสู่การต่อยอดธุรกิจ Startup ในอนาคต โดยมีมหาวิทยาลัย 20 แห่ง จาก 9 ประเทศ คือ สิงคโปร์ มาเลเซีย เวียดนาม กัมพูชา ลาว เมียนมา อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และไทย เข้าร่วมในการแข่งขันครั้งนี้ ซึ่งผู้ชนะเลิศจะได้รับเงินรางวัลรวม 5,000 เหรียญสหรัฐ กำหนดส่งผลงานเข้าประกวดได้จนถึงวันที่ 13 มีนาคม 2564 และจะมีพิธีประกาศรางวัลในเดือนมิถุนายน 2564 นี้
นางอรอนุช กล่าวว่า การแข่งขันในครั้งนี้ ซีพีเอฟ ได้กำหนดหัวข้อในการสร้างสรรค์นวัตกรรม คือ การพัฒนาโปรตีนจากพืชที่เป็นอาหารจานหลักในวิถีเอเซีย เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันและช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม โดยจะต้องสร้างแบรนด์สินค้าของตัวเองและวางแผนการเปิดตัวสินค้าให้ครบถ้วน ซึ่งบริษัทฯ จะร่วมเป็นโค้ชให้กับนักศึกษาที่เข้ารอบ โดยจะมีการประชุมออนไลน์ร่วมกัน เพื่อติดตามความคืบหน้า ให้คำปรึกษาและช่วยแก้ปัญหาให้โครงการสำเร็จตามเป้าหมาย โดยแนวคิดที่เสนอในโครงการ อาจมีโอกาสพัฒนานำไปสร้างธุรกิจ Startup ในอนาคต เพื่อเป็นการกระตุ้นและสร้างเครือข่ายธุรกิจของคนรุ่นใหม่ เกี่ยวกับโปรตีนทางเลือกในเอเซีย
“ในฐานะผู้ผลิตอาหารชั้นนำ ซีพีเอฟ มีการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารมาอย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งร่วมขับเคลื่อนศักภาพของประเทศตามหลักการ BCG Model: เศรษฐกิจชีวภาพ (Bioeconomy) เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) และเศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) เพื่อร่วมผลักดันการส่งเสริมการบริโภคที่ยั่งยืน ในรูปแบบการพัฒนาโปรตีนทางเลือกที่หลากหลาย ทั้งโปรตีนจากสัตว์ โปรตีนทางเลือก เช่น จากพืช จากแมลง ซึ่งโปรตีนเป็นแหล่งสารอาหารที่สำคัญในทุกช่วงวัย” นางอรอนุช กล่าว
ทั้งนี้ โปรเว็ก เอเซีย อ้างถึงรายงานของ World Economic Forum ว่าชนชั้นกลางในอาเซียนขยายตัวควบคู่ไปกับความต้องการที่เพิ่มขึ้นของการดูแลสุขภาพ รวมถึงการเพิ่มความต้องการของอาหารโปรตีนจากพืช ซึ่งเอเซีย-แปซิฟิค เป็นภูมิภาคที่คาดว่าจะมีสัดส่วนการตลาดของอาหารโปรตีนจากพืชใหญ่ที่สุดของโลกในอนาคต การแข่งขันฯ ในครั้งนี้ จะนำไปสู่การเปลี่ยนถ่ายนวัตกรรมที่ดีที่สุด ส่งผลดีต่อผู้บริโภค เพื่อนำไปสู่การพัฒนาอาหารคุณภาพดีและโปรตีนทางเลือกจากพืชอย่างยั่งยืน
www.mitihoon.com