ผลการสำรวจเบื้องต้นโครงการศึกษาพื้นที่ที่เหมาะสมของอุตสาหกรรมอู่ต่อเรือ และซ่อมเรือในภาคใต้ (ฝั่งอันดามัน) เพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยว

250

สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน1, และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนืออุตสาหกรรมต่อเรือและซ่อมเรือ เป็นอุตสาหกรรมพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่สำคัญและมีส่วนเชื่อมโยงกับธุรกิจการขนส่งทางน้ำและกิจการพาณิชย์นาวี การประมง การท่องเที่ยวทางน้ำ ตลอดจนเชื่อมโยงกับอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่องอื่นๆ เช่นการท่องเที่ยวและบริการ อีกมากมาย เช่น อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า อุตสาหกรรมเครื่องมือสื่อสาร อุปกรณ์เดินเรือ อุตสาหกรรมสีและเคมีภัณฑ์อุตสาหกรรมเครื่องจักรกล เครื่องยนต์เรือ อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมไม้และเฟอร์นิเจอร์ เป็นต้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ธุรกิจการต่อเรือและซ่อมแซมเรือธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับเรือ ถือเป็นธุรกิจที่สำคัญที่จะบริการและอำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยวทางทะเล  และสามารถสร้างรายได้แก่ภาคใต้ของไทยเป็นจำนวนมาก ดังนั้นการจัดหาพื้นที่ที่เหมาะสมสำหรับอุตสาหกรรมต่อเรือและซ่อมเรือ จะช่วยเชื่อมโยงระหว่างผู้ประกอบการมารีน่า ผู้ประกอบการต่อเรือและซ่อมแซมเรือ และธุรกิจต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง อีกทั้งยังช่วยสนับสนุนการท่องเที่ยวทางทะเลและการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการประกอบกิจการอู่ต่อเรือและซ่อมแซมเรือ ในการนี้ สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามันเห็นความสำคัญกับส่งเสริมอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการศึกษาพื้นที่ที่เหมาะสมของอุตสาหกรรมอู่ต่อเรือและซ่อมเรือ (ฝั่งอันดามัน) โดยจะเป็นการศึกษาในขั้นต้น เพื่อใช้เป็นกรอบการดำเนินการในระยะถัดไป

โครงการศึกษาพื้นที่ที่เหมาะสมของอุตสาหกรรมอู่ต่อเรือและซ่อมเรือ (ฝั่งอันดามัน) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพื้นที่ที่เหมาะสมสำหรับอุตสาหกรรมต่อเรือและซ่อมแซมเรือในภาคใต้เพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยว เป็นข้อมูลประกอบการวางแผนการพัฒนาของภาครัฐ และประกอบการตัดสินใจของในการลงทุนของผู้ประกอบการ มีขั้นตอนการดำเนินงาน ได้แก่ การศึกษาพื้นที่ที่เหมาะสมอุตสาหกรรมอู่ต่อเรือและซ่อมเรือในพื้นที่ภาคใต้ฝั่งอันดามัน ได้แก่ การศึกษาแผนยุทธ์ศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง ความเป็นได้การพัฒนา กำหนดเกณฑ์การพิจารณาและคัดเลือก วิเคราะห์เทคนิคการจัดทำแผนที่ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ และศึกษาด้านเศรษฐศาสตร์การลงทุน  พบว่า การพัฒนาอุตสาหกรรมอู่ต่อเรือและซ่อมเรือในพื้นที่ภาคใต้ฝั่งอันดามัน เป็นการศึกษาในระดับเบื้องต้น เพื่อเป็นแนวทางพัฒนาอู่ต่อเรือและซ่อมเรือสำราญ ขนาดไม่เกิน 2,000 ตันกรอส ในรูปแบบอู่แห้ง ที่ควรมีพื้นที่ใช้สอยอย่างน้อย 72 ไร่ ขณะที่การพิจารณาพื้นที่ศักยภาพจากเกณฑ์การคัดเลือก สามารถจัดลำดับพื้นที่สามอันดับแรกได้ดังนี้ (1) พื้นที่เป้าหมายในตำบลไม้ขาว (2) พื้นที่เป้าหมายในตำบลกันตัง และ (3) พื้นที่เป้าหมายในตำบลเจ๊ะบิลัง ส่วนการวิเคราะห์ด้านเศรษฐศาสตร์ จะพบว่า หากมีปริมาณการต่อเรือปีละ 1 ลำ พื้นที่เป้าหมายทั้ง 3 พื้นที่ เป็นพื้นที่เหมาะแก่การลงทุน ส่วนในกรณีที่มีรายได้จากการต่อเรือที่มีปริมาณการต่อที่แตกต่างกัน พบว่า พื้นที่ตำบลไม้ขาวมีศักยภาพเหมาะสมต่อการลงทุนเนื่องจากมีความเสี่ยงน้อยกว่าอีก 2 พื้นที่ ส่วนในเงื่อนไขพื้นที่เป้าหมายมีรายได้จากการซ่อมเรือเพียงอย่างเดียว พบว่า ไม่มีพื้นที่ใดมีความเหมาะสมต่อการลงทุนในขณะนี้

สนใจข้อมูลการศึกษาเบื้องต้นอ่านเพิ่มเติมที่ : https://1drv.ms/b/s!Ap2rMB6gGLIK6AhrVIQJmPz-1Xa-

www.mitihoon.com