KTC ลั่นปี 64 กำไรนิวไฮ-ใส่เกียร์ลุย“สินเชื่อรถ”

306

 

ผู้สื่อข่าว “ มิติหุ้น” รายงานว่า บมจ.บัตรกรุงไทย (KTC) โดย “นายระเฑียร ศรีมงคล” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เปิดเผยว่า มั่นใจในผลการดำเนินงานของบริษัทจะสร้างกำไรเติบโตสูงสุดทุกๆปี รวมถึงปี 64 กำไรสุทธิจะต้องเติบโตกว่าปี 63 อย่างแน่นอน(ปี63 กำไรสุทธิ 5,332 ลบ.) ภายหลังเกิดวิกฤตที่รุนแรงของโควิด -19 และมาตรการต่างๆที่ปรับเปลี่ยนอย่างต่อเนื่อง บริษัทได้ปรับแผนยุทธศาสตร์ในปีนี้ใหม่ เร่งเปลี่ยนแปลงองค์กรแบบก้าวกระโดด สร้างโอกาสทางธุรกิจใหม่ให้เติบโตคู่ขนานไปกับธุรกิจเดิม ซึ่งธุรกิจใหม่ที่เคทีซีมุ่งขยายขอบเขตนั่นก็คือ ธุรกิจสินเชื่อที่มีหลักประกันที่หลากหลาย

คาดดีลซื้อ “เคทีบีลีสซิ่ง”จบเม.ย.นี้

โดยล่าสุดบริษัทสนใจเข้าถือหุ้น “บริษัทกรุงไทยลีสซิ่ง จำกัด หรือ เคทีบี ลีสซิ่ง” ถึง 75.05 % เป็นการตอบโจทย์และทำให้บริษัททำธุรกิจเช่าซื้อและลีสซิ่งทุกประเภท ต่อยอดธุรกิจสินเชื่อที่มีหลักประกันอย่างครบวงจรและยังได้ประโยชน์จากสาขาและฐานลูกค้าที่มีอยู่เดิม โดยบริษัทจะเข้าไปศึกษาระบบในเคทีบี ลีสซิ่ง และคาดว่าจะเริ่มออกแบบโมเดลธุรกิจได้หลังจาก ทาง “แบงก์ชาติ” อนุญาตให้ดำเนินการได้ รวมถึงผ่านการประชุมผู้ถือหุ้นคาดว่าจะแล้วเสร็จประมาณเดือนเมษายนนี้

“เคทีบี ลีสซิ่ง”จับมือพี่เบิ้มลุยจำนำทะเบียน

นายระเฑียร กล่าวเสริมว่า บริษัทคาดหวังจะให้ “เคทีบี ลีสซิ่ง” ร่วมมือกับ “เคทีซี พี่เบิ้ม” เพื่อยอดทางธุรกิจสินเชื่อจำนำทะเบียนรถร่วมกัน พร้อมตั้งเป้ายอดสินเชื่อปีนี้ไว้ราว 1,000 ล้านบาท จากปีก่อน(ปี 63 อยู่ที่ 160  ลบ.) นอกจากนี้บริษัทคาดว่าจะเริ่มให้บริการสินเชื่อยานยนต์ทั้งมือ 1 และมือ 2  ผ่าน “เคทีบี ลีสซิ่ง” ด้วย ไม่เพียงเท่านี้ทาง “เคทีบี ลีสซิ่ง” ยังเชี่ยวชาญการให้สินเชื่อที่มีหลักประกันที่หลากหลายรวมทั้งสินเชื่อเครื่องจักร ซึ่งน่าจะตอบโจทย์ได้ดีที่บริษัทมุ่งเน้นการรถขยายสินเชื่อที่มีหลักประกันในปีนี้

ลุยออกบีอี-พีเอ็น

นอกจากนี้เคทีซี ยังพร้อมสนับสนุนด้านเงินทุนให้ “เคทีบีลีสซิ่ง” อีกด้วยคาดต้นทุนน่าจะแข่งขันกับคู่แข่งได้ โดยเฉพาะปีนี้การออกหุ้นกู้ระยะสั้นประเภท บีอี และ พีเอ็น นั้นต้นทุนไม่ถึง 1 % เคทีซีก็มีแผนจะออกหุ้นกู้ระยะสั้นดังกล่าวเพิ่มขึ้นให้ได้สัดส่วน 30 % ที่เหลือเป็นหุ้นกู้ระยะยาวสัดส่วน 70 % ซึ่งอายุหุ้นกู้ระยะยาวมีแผนจะออกอายุไม่เกิน 2-3 ปี จากเดิมอายุเฉลี่ย 5 ปีโดยปีนี้เคทีซีมีแผนออกหุ้นกู้รวม 1.2 หมื่นล้านบาท ส่วนหนึ่งทดแทนหุ้นกู้ที่จะครบกำหนดราว 9 พันล้านบาท ทำให้ต้นทุนโดยรวมปีนี้จะลดลงจาก 2.7 % ในปี 63

ตั้งเป้ายอดใช้จ่ายบัตรโต 8 %

ด้านธุรกิจเดิมซึ่งเป็น “บัตรเครดิตและสินเชื่อบุคคล” บริษัทยังมุ่งเน้นรักษาคุณภาพพอร์ตลูกหนี้ที่ดี  โดยตั้งเป้ายอดใช้จ่ายผ่านบัตรในปี 64 เติบโต 8 %  เป็น 2.1 แสนล้านบาทจากปีก่อนอยู่ที่ราว 1.97 แสนล้านบาท โดยตั้งเป้าหมายสมาชิกใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมา คือ บัตรเครดิต 2.35 แสนใบ และสมาชิกบัตรกดเงินสด “เคทีซี พราว” 1.35 แสนราย โดยพบว่าการใช้จ่ายผ่านช่องทางออนไลน์เติบโตอย่างต่อเนื่อง เห็นได้จากช่วง ม.ค.-ก.พ. 64  มียอดใช้จ่ายบัตรผ่านออนไลน์โต 50 % หลักๆเพื่อซื้อสินค้า ซึ่งส่วนของใช้จ่ายเพื่อท่องเที่ยวก็เริ่มเห็นสัญญาณที่ดี และเชื่อว่าจะกลับมาช่วงครึ่งหลังของปีนี้

กำไรปี 64 แตะ 6,113 ลบ.

ด้านบทวิเคราะห์ บล.หยวนต้า (ประเทศไทย) ระบุว่า คาด KTC จะมีกำไรสุทธิปี 64 อยู่ที่ 6,113 ลบ. โต 14.6 % โดยมีแรงหนุนหลักจากการฟื้นตัวของยอดใช้จ่ายผ่านบัตร การขยายสัดส่วนสินเชื่อจำนำทะเบียนที่เร่งตัวขึ้น และการ ตั้งสำรองที่มีแนวโน้มผ่อนคลายลง สอดคล้องกับการชำระคืนหนี้ของลูกหนี้ที่แข็งแรงขึ้นตามลำดับ  อีกทั้งด้วยระดับ Coverage Ratio ที่สูงถึง 460% และด้วยแผนขยายสินเชื่อที่จะสินเชื่อมี หลักประกันมากขึ้น ทำให้คาดบริษัทจะเริ่มปรับลด Credit Cot ลง  อย่างไรก็ดีเรามองว่าราคาหุ้น KTC ซื้อขายในระดับราคาที่ร้อนแรงมากเกินไปเทียบกับการฟื้นตัว ของผลประกอบการ ทำให้ใน Valuation มี Downside สูงถึง 36.3% จากมูลค่าพื้นฐานปี 64 ที่  43 บาท และซื้อขายที่ PBV สถึง 8.3เท่า สูงกว่าค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 5 ปี + 2 S.D. ที่7.5 เท่า

www.mitihoon.com