กรมป่า​ไม้ -ชุมชน -ซีพีเอฟ ร่วมพลิกฟื้นป่าเขาพร​ะยาเดินธง

60
มิติหุ้น  –  บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ  จับมือกรมป่าไม้ และชุมชน สานต่อโครงการซีพีเอฟ รักษ์นิเวศ ลุ่มน้ำป่าสัก เขาพระยาเดินธง จ.ลพบุรี
ระยะที่ 2 มุ่งมั่นเพิ่มพื้นที่สีเขียว ร่วมบรรเทาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสร้างความมั่นคงทางอาหาร  สนับสนุนการขับเคลื่อนเป้าหมายความยั่งยืนของซีพีเอฟ และSDGs  รวมทั้งส่งเสริมการเรียนรู้อนุรักษ์และฟื้นฟูป่าผ่านห้องเรียนธรรมชาติ
ซีพีเอฟ ร่วมมือกรมป่าไม้ และชุมชน เดินหน้าโครงการ  “ซีพีเอฟ รักษ์นิเวศ ลุ่มน้ำป่าสัก เขาพระยาเดินธง”  ตำบลพัฒนานิคม อำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี
โดยปีนี้เข้าสู่ระยะที่สอง (ปี 2564-2568) มีเป้าหมายอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าเพิ่มเป็น 7,000 ไร่  จากระยะที่หนึ่ง (ปี 2559-2563) ที่ดำเนินการแล้วเสร็จรวม 5,971 ไร่
สำหรับกิจกรรมแรกของปีนี้  (26 มี.ค.) จิตอาสาซีพีเอฟ เจ้าหน้าที่จากสำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 5 (สระบุรี)  และชุมชน ร่วมซ่อมแซมฝายชะลอน้ำ  6 ฝาย เพื่อ
เพิ่มประสิทธิภาพการชะลอการไหลของน้ำและดักตะกอนก่อนเข้าสู่ฤดูฝน โดยมี ว่าที่ร้อยตรีทรงพล แป้นแก้ว นายอำเภอพัฒนานิคม  เป็นประธานเปิดงาน  พร้อม
ด้วย นายภูมินพศ์ บุญบันดาร ผู้อำนวยการสำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 5 (สระบุรี) นำเจ้าหน้าที่ของกรมป่าไม้ ร่วมกิจกรรม  และนายบัญชา ขาวเมืองน้อย รอง
กรรมการผู้จัดการอาวุโส ซีพีเอฟ ในฐานะรองประธานคณะทำงานโครงการซีพีเอฟ รักษ์นิเวศ  ลุ่มน้ำป่าสัก เขาพระยาเดินธง นำจิตอาสาซีพีเอฟจากสายธุรกิจต่างๆ
200 คน รวมทั้งอาจารย์และนักศึกษาจากวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีลพบุรี ลงพื้นที่
นายอำเภอพัฒนานิคม กล่าวว่า  ขอขอบคุณทุกภาคส่วนที่มาร่วมกิจกรรมในวันนี้   แสดงให้เห็นว่าทุกคนตระหนักถึงการมีส่วนร่วมรักษาและปกป้องทรัพยากรป่าไม้
ของชาติ และยังเป็นการสร้างจิตสำนึกด้วยการเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับเยาวชนคนรุ่นหลัง เห็นความสำคัญของการช่วยกันดูแลทรัพยากรธรรมชาติให้คงอยู่อย่างยั่งยืน
โดยเฉพาะอย่างยิ่งผืนป่าเขาพระยาเดินธง เป็นป่าต้นน้ำของภาคเกษตรและอุตสาหกรรมของประเทศ  ความร่วมมือดำเนินโครงการนี้ให้เกิดความยั่งยืน จะส่งผลดี
ต่อชุมชนในพื้นที่ ช่วยพัฒนาเศรษฐกิจในท้องถิ่นและเศรษฐกิจของประเทศในระยะยาว
ผู้อำนวยการสำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 5 (สระบุรี) กล่าวว่า  เป็นเรื่องน่ายินดีที่ได้เห็นความร่วมมือของชุมชน และองค์กรเอกชน ร่วมอนุรักษ์และฟื้นฟูผืนป่า
ของประเทศ ซึ่งสอดรับกับเป้าหมายของภาครัฐที่อยากให้ประชาชนทุกคนช่วยกันปลูกต้นไม้เพื่อแผ่นดิน  และในโอกาสวันป่าไม้โลก 21 มีนาคมของทุกปี ทางกรมป่า
ไม้ได้มอบหมายให้สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ในท้องที่บูรณาการความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และประชาชน ในการฟื้นฟูป่า ทางสำนักจัดการ
ทรัพยากรป่าไม้ที่ 5 (สระบุรี) จึงถือเป็นโอกาสที่ดีที่หน่วยงานภาครัฐและซีพีเอฟ ร่วมกันทำกิจกรรมในวันนี้  สอดคล้องตามเจตนารมย์ของบันทึกความร่วมมือการ
ปกป้องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ(Climate Change)ระหว่างกรมป่าไม้ กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือน
กระจก (องค์การมหาชน) และซีพีเอฟ
ด้านรองประธานคณะทำงานโครงการยุทธศาสตร์รักษ์นิเวศ กล่าวว่า ซีพีเอฟดำเนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม  ภายใต้กลยุทธ์ 3 เสาหลัก
อาหารมั่นคง สังคมพึ่งตน ดินน้ำป่าคงอยู่  โดยในด้านดินน้ำป่าคงอยู่  โครงการ “ซีพีเอฟ รักษ์นิเวศ ลุ่มน้ำป่าสัก เขาพระยาเดินธง”มีเป้าหมายบรรเทาผลกระทบ
ต่อสิ่งแวดล้อมควบคู่กับการปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพ และต่อยอดสร้างความมั่นคงทางอาหารอย่างยั่งยืน  สนับสนุนการขับเคลื่อนเป้าหมายความยั่งยืน
2030 ของซีพีเอฟ และสอดคล้องกับเป้าหมายความยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ(Sustainable Development Goals : SDGs)
“ซีพีเอฟขอเป็นส่วนหนึ่งของการส่งมอบผืนป่าที่อุดมสมบูรณ์ เพิ่มพื้นที่สีเขียวให้ประเทศ เป็นแหล่งต้นน้ำ และเป็นแหล่งอาหารที่ยั่งยืนของชุมชน” รองประธาน
คณะทำงานฯ กล่าว
กิจกรรมเริ่มต้นของปีนี้ซึ่งเข้าสู่ระยะที่สอง จิตอาสาซีพีเอฟ ร่วมกับเจ้าหน้าที่กรมป่าไม้และชุมชน ลงพื้นที่ซ่อมแซมฝายชะลอน้ำ 6 ฝาย ที่ทำไว้ตั้งแต่  ปี  2561
เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำหน้าที่ของฝายในการชะลอการไหลของน้ำ  ดักตะกอน กิ่งไม้ เศษไม้ ดิน โคลน เพิ่มความชุ่มชื้นในบริเวณฝายและพื้นที่เหนือฝาย  เพิ่ม
ปริมาณน้ำใต้ดิน ทำให้ผืนดินมีความชุ่มชื้น ซึ่งในระยะต่อไป ต้นไม้ในพื้นที่โครงการฯที่เติบโตขึ้น จะสามารถกักเก็บคาร์บอนไดออกไซด์ ช่วยบรรเทา
ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
นอกจากนี้ ผืนป่าเขาพระยาเดินธงยังเป็นต้นแบบการปลูกป่า  จากความสำเร็จในการนำรูปแบบปลูกป่า 4 รูปแบบมาใช้ทำป่าฟื้นตัวเร็วขึ้น เป็นห้องเรียนธรรมชาติ
 และแหล่งเรียนรู้ของเด็ก เยาวชน และประชาชนที่สนใจเกี่ยวกับการปลูกป่า โดยที่ผ่านมา มีหน่วยงานต่างๆ และสถานศึกษาที่สนใจเข้ามาศึกษาดูงาน อาทิ
มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี สาขาชีววิทยาเชิงอนุรักษ์ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีลพบุรี บริษัท บี.กริม ดร.เกฮาร์ด ลิงค์ บิวดิ้ง จำกัด
บริษัท เชลล์แห่งประเทศไทย จำกัด เป็นต้น
ขณะเดียวกัน บริษัทฯได้นำความสำเร็จการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าไปขยายผลในการสร้างความมั่นคงทางอาหารอย่างยั่งยืนให้กับชุมชนใกล้เคียง  โดยส่งเสริมให้คนใน
ชุมชนมีส่วนร่วมผลิตอาหารที่ปลอดภัย จากการทำโครงการปลูกผักปลอดสาร และโครงการปล่อยปลาลงเขื่อน ทำให้ชุมชนมีแหล่งอาหารไว้บริโภคเอง และตระหนัก
รู้คุณค่าของป่าและน้ำ
www.mitihoon.com