ม.อ. โชว์ความสำเร็จพัฒนาระบบคัดกรอง COVID-19 อัจฉริยะด้านทันตกรรม

88

มิติหุ้น – มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม..) โดยคณะทันตแพทยศาสตร์ ตอกย้ำวิสัยทัศน์โรงเรียนทันตแพทย์คุณภาพ เพื่อประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์ ประเดิมเปิดใช้ระบบตรวจคัดกรอง COVID-19 อัจฉริยะก่อนการรักษาด้านทันตกรรม ที่โรงพยาบาลทันตกรรม  ชูประสิทธิภาพสะดวกและปลอดภัย ด้วยระบบคัดกรองประวัติเสี่ยง อุณหภูมิร่างกาย ลดโอกาสสัมผัสระหว่างบุคคล ช่วยลดความเสี่ยงการติดเชื้อ บุคลากรทางการแพทย์ นักศึกษา และผู้ป่วยที่เข้าใช้บริการ 300 คนต่อวัน เพื่อร่วมลดการสูญเสียค่าใช้จ่ายการรักษาของประเทศไทย พร้อมเล็งขยายผลไปสู่แผนกอื่นๆ ในโรงพยาบาล    

 รศ.ดร.ทพญ. ชิดชนก ลีธนะกุล คณบดี คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  (ม..)  เปิดเผยว่า มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดยคณะทันตแพทยศาสตร์ ได้พัฒนาระบบการตรวจคัดกรองอัจฉริยะก่อนการรักษาด้านทันตกรรม (Smart Screening COVID-19 for Dental Patients)  โดยมีกองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เป็นผู้ให้การสนับสนุนในครั้งนี้  ซึ่งวัตถุประสงค์การพัฒนาเพื่อให้ประชาชนที่เข้ามารับบริการได้รับความสะดวก รวดเร็ว มีความปลอดภัย และที่สำคัญลดความเสี่ยงจากการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ทั้งจากผู้ป่วยที่เข้ามาใช้บริการ รวมทั้งบุคลากรทางแพทย์ และนักศึกษา  

  ล่าสุดโรงพยาบาลทันตกรรม คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ นำระบบการตรวจคัดกรองอัจฉริยะก่อนการรักษาด้านทันตกรรม เปิดบริการอย่างเป็นทางการแล้ว เนื่องจากโรงพยาบาล ถือว่าเป็นพื้นที่ที่มีความเสี่ยงการแพร่ระบาดโรค COVID-19 ค่อนข้างสูง โดยปัจจุบันมีผู้ป่วยที่เข้ามารักษาทันตกรรมทั่วไปและเฉพาะทาง รวมทั้งรับส่งต่อผู้ป่วยที่มีความยากและซับซ้อนจากโรงพยาบาลต่างๆ ภาคใต้  เช่น ผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่  ที่เข้ามารักษาทั้งในเวลาราชการและนอกราชการโดยเฉลี่ย 300 คนต่อวัน และยังเป็นสถาบันฝึกอบรมสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี และบัณฑิตศึกษา  

       ทั้งนี้การตรวจคัดกรองผู้ป่วยติดเชื้อ COVID-19  ถือว่าเป็นมาตรการที่สำคัญสำหรับโรงพยาบาล ก่อนที่จะรับผู้ป่วยเข้ารับบริการทันตกรรมทุกครั้ง เพื่อพยายามแยกผู้ที่มีความเสี่ยงน้อยที่สุด โดยระบบการตรวจคัดกรองอัจฉริยะก่อนการรักษาด้านทันตกรรม  มีประสิทธิภาพในการตรวจคัดกรองประวัติเสี่ยง ตั้งแต่ระบบคัดกรองอุณหภูมิร่างกายทั้งผู้ป่วยและผู้ปฏิบัติงาน นอกจากนี้ยังมีระบบทำการลงทะเบียนโดยอัตโนมัติ (kiosk) หรือโทรศัพท์ (mobile application) พร้อมกับมีระบบแจ้งคิวการรับบริการ เพื่อช่วยลดโอกาสสัมผัสระหว่างบุคคล ลดความแออัดในพื้นที่รอรับบริการ  

   สำหรับการพัฒนาระบบการตรวจคัดกรองอัจฉริยะ เป็นหนึ่งในการมุ่งขับเคลื่อนวิสัยทัศน์ของคณะทันตแพทยศาสตร์ ม.. ที่ก้าวสู่การเป็นโรงเรียนทันตแพทย์คุณภาพ เพื่อประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์  ซึ่งที่ผ่านมาระบบการคัดกรองผู้ป่วยจะเป็นการซักประวัติและประเมินความเสี่ยง พร้อมกับตรวจวัดอุณหภูมิร่างกาย ต้องใช้เจ้าหน้าที่ประจำจุดคัดกรอง 8 คนต่อช่วงเวลา และใช้เวลาโดยเฉลี่ย 10 นาที  การพัฒนาระบบดังกล่าวช่วยลดระยะเวลาทำงานและลดการสูญเสียค่าใช้จ่ายของประเทศไทยในกรณีที่มีผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้น โดย ม..มีความพร้อมนำระบบคัดกรองอัจฉริยะขยายผลไปสู่การใช้งานกับแผนกอื่นๆ ภายในโรงพยาบาลต่อไป  

www.mitihoon.com