วิเคราะห์สถานการณ์ราคาน้ำมัน

104

 

ราคาน้ำมันดิบปรับเพิ่ม จากข้อมูลเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งของสหรัฐฯ และจีน (7/4/2021)

+ ราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสและเบรนท์ปรับเพิ่ม 1% หลังมีการเปิดเผยตัวเลขการจ้างงานและภาคบริการของสหรัฐฯ ที่เพิ่มขึ้นสูงสุดในเดือน มี.ค. โดยสถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM) เปิดเผยว่ามีการจ้างงานเพิ่มขึ้น 916,000 ตำแหน่งในเดือนมี.ค. 64 ซึ่งมากที่สุดนับตั้งแต่เดือนส.ค. 63 ท่ามกลางการเติบโตของคำสั่งซื้อใหม่ซึ่งเป็นสัญญาณบ่งชี้การเติบโตอย่างรวดเร็วของเศรษฐกิจ โดยได้รับแรงหนุนจากการฉีดวัคซีนที่เพิ่มขึ้นและมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ

+ ราคายังได้รับการสนันสนุนจากการฟื้นตัวของภาคบริการของจีนและอัตราการจ้างงานที่เพิ่มขึ้น ทำให้เศรษฐกิจจีนขยายตัวอย่างรวดเร็วในเดือนมี.ค. โดยมีดัชนีภาคการผลิตของจีน (PMI) สำหรับเดือนมี.ค.อยู่ที่ 54.3 ซึ่งสูงกว่าเดือนก.พ.ที่ 51.5 โดยยังคงสูงกว่า 50 จุดที่แสดงถึงการขยายตัวของเศรษฐกิจ

– กลุ่มโอเปกพลัสมีมติปรับเพิ่มกำลังการผลิตเป็น 350,000 บาร์เรลต่อวันในเดือน พ.ค. และเดือน มิ.ย. จากนั้นจะปรับเพิ่มกำลังการผลิตเป็น 441,000 บาร์เรลต่อวันในเดือน ก.ค.

ราคาน้ำมันเบนซิน-ปรับตัวลดลงมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ จากปริมาณน้ำมันเบนซินคงคลังสหรัฐฯ ประจำสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 3 เม.ย. 64 ปรับเพิ่ม 300,000 บาร์เรล แตะระดับ 230.8  ล้านบาร์เรล ประกอบกับการปรับเพิ่มกำลังการผลิตของโรงกลั่นในภูมิภาคเอเซีย

ราคาน้ำมันดีเซล-ปรับตัวเพิ่มขึ้นสวนทางกับราคาน้ำมันดิบดูไบ จากอุปสงค์ที่เพิ่มขึ้นของญี่ปุ่นในเดือนเม.ย. เนื่องจากเหตุการณ์ไฟไหม้ของโรงกลั่นในภาคตะวันตกของญี่ปุ่น

หน่วยวิเคราะห์สถานการณ์ราคาน้ำมัน บมจ. ไทยออยล์