ระมัดระวังเมื่อรายย่อยมี long ssf สะสมจำนวน 904,001 สัญญา

1017

มิติหุ้น-ความหมายคือทำสัญญาใช้เงินจำนวนน้อยเพื่อซื้อหุ้นในวงเงินจำนวนมากนั่นเอง ที่เหลือคือ สถาบัน&ต่างชาติ มีสถานะตรงข้ามความมั่นใจเพิ่มมากขึ้นตรงแนวเฝ้าระวังการหมดแรงทางขึ้น แล้วถ้าสิ่งที่มั่นใจ มันไม่เป็นไปตามที่คิดล่ะ จะเกิดอะไรขึ้น คำตอบคือตลาดหุ้นจะลงอย่างรวดเร็วจากกลไกของ Block Trade เวลาคุณเปิด long ssf โบรกคู่สัญญาจะเปิด short ssf มา match ให้ธุรกรรมเกิดสำเร็จ พร้อมทั้งซื้อหุ้นมา hedging ไว้คู่กัน โดยโบรกได้กำไรจากค่าธรรมเนียมในการทำ Block Tradeแต่เมื่อตลาดไม่ได้ขึ้นไปตามที่รายย่อยคาดการณ์ การเรียกหลักประกันเพิ่มจะตามมา หากไม่มีเงินเติมแล้ว ก็จะถูกบังคับปิดสัญญา และโบรกก็จะขายหุ้นที่ทำ hedging ไว้ออกมาทำให้ตลาดลงได้ไวมากจนหนีไม่ทัน เหมือนที่เกิดตอน SET ไป 1606.41 แล้วลงอย่างรวดเร็ว 60 กว่าจุดในเวลาแค่ 2 วันทำการ

เตือนลงต้องเตือนตอนตลาดเขียวที่แนวเฝ้าระวัง

Block Trade คือ เครื่องมือการลงทุนในหุ้น ผ่านสัญญาซื้อขายล่วงหน้า TFEX เสมือนนักลงทุนซื้อขายหุ้นที่ต้องการได้โดยใช้เงินน้อยกว่าการลงทุนในหุ้นโดยตรง เพียงทำรายการ Block Trade บนหุ้นอ้างอิงนั้น ๆ กับโบรกเกอร์ที่ให้บริการ สำหรับการทำ Block Trade มีจำนวนสัญญาฯ ขั้นต่ำต่อรายการที่ TFEX กำหนดไว้ ปัจจุบันมีจำนวนขั้นต่ำ 20, 100, 500 และ 1,000 สัญญาต่อ 1 รายการบล็อค ขึ้นอยู่กับช่วงราคาของหุ้นอ้างอิง โดย 1 สัญญาฯ เทียบเท่ากับหุ้น 1,000 หุ้น ดังนั้นถ้าหากซื้อขายสัญญาฯ 20 สัญญา ก็เปรียบเสมือนการซื้อขายหุ้นอ้างอิง 20,000 หุ้น

จุดกำเนิด Block Trade

ในอดีตการเปิดปิดสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ต้องทำบนกระดาน TFEX แต่เนื่องจากสภาพคล่องที่ไม่เพียงพอ จึงไม่ค่อยมีผู้เล่นในตลาดมากนัก ทำให้การเปิดปิดแต่ละครั้งทำได้ยาก เนื่องจากไม่มี Bid Offer เพียงพอ หากมีก็อาจเป็น Bid กับ Offer ที่ราคาห่างกันมาก ๆ ไม่ได้ราคาตามที่ต้องการ

 

จากปัญหานี้จึงทำให้เกิดบริการ Block Trade เพื่อมาแก้ไขปัญหาเรื่องสภาพคล่องของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าบนกระดาน TFEX โดยมีโบรกเกอร์เข้ามาเป็นคู่สัญญาฝั่งตรงข้ามให้กับนักลงทุน เพื่อให้สามารถซื้อขายได้ตามราคาที่ต้องการโดยนักลงทุนสามารถแจ้งโบรกเกอร์ เพื่อทำรายการ Block Trade บนหุ้นอ้างอิง ณ ราคาที่ต้องการได้ หากราคาหุ้นอ้างอิงเป็นไปตามเงื่อนไข โบรกเกอร์จะเปิดสัญญา Block Trade ให้กับนักลงทุน ผ่านบัญชี TFEX ของ นักลงทุน โดยมีโบรกเกอร์เป็นคู่สัญญา

หากโบรกเกอร์เข้ามาเป็นคู่สัญญาฝั่งตรงข้ามให้เฉยๆ อาจมีความเสี่ยงสำหรับโบรกเกอร์เอง เพราะหากนักลงทุนมีกำไร โบรกเกอร์จะขาดทุน ในทางกลับกัน ถ้าหากนักลงทุนขาดทุน โบรกเกอร์จะมีกำไร แต่หากโบรกเกอร์ไม่ต้องการรับความเสี่ยงนี้ โบรกเกอร์ต้องการเพียงแค่ผลตอบแทนจาก ค่าธรรมเนียมการซื้อขาย และ ดอกเบี้ยเท่านั้น จึงต้องทำการป้องกันความเสี่ยง โดยเข้าไปซื้อหุ้นในตลาดมาเก็บไว้

 

สมมุติว่า ผู้เทรดเปิดสถานะฝั่งซื้อ (Long) Block Trade หุ้น XYZ จำนวน 1 Block 20 สัญญา โบรกเกอร์จะทำการซื้อหุ้น XYZ ในตลาดจำนวน 20,000 หุ้นมาเก็บไว้ และทำรายการ Block Trade เข้าในตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้า นักลงทุนก็จะได้สัญญาฯ บนหุ้น XYZ จำนวน 20 สัญญาเข้าไปอยู่ในบัญชี TFEX เปรียบเสมือนว่า นักลงทุน มีหุ้น XYZ อยู่จำนวน 20,000 หุ้น และเมื่อนักลงทุนทำการขาย เพื่อปิดสถานะ(Short Close) โบรกเกอร์ก็จะทำการขายหุ้น XYZ จำนวน 20,000 หุ้นออกไป เช่นกัน

www.mitihoon.com