GBS จับตาโควิดซีซั่น 3 กระทบเศรษฐกิจในประเทศ

240

มิติหุ้น – บลโกลเบล็ก (GBS) ประเมินหุ้นไทยแกว่งตัวผันผวน จากตัวเลขผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในประเทศพุ่งต่อเนื่อง ส่งผลหลายจังหวัดยกระดับป้องกันเข้มข้นมากขึ้น และสถานการณ์ต่างประเทศที่สะเทือนอีกครั้งหลัง “โจ ไบเดน” ประกาศขึ้นภาษีจากการลงทุน และภาษีผู้มีรายได้ไม่ต่ำกว่า 1 ล้านดอลลาร์ พร้อมแนะจับตาการการประชุมครม. และการประชุมภาคเอกชนร่วมหาแนวทางการจัดหาและกระจายวัคซีน จึงให้กรอบดัชนี 1,544-1,587 จุด แนะลงทุนหุ้น ได้ประโยชน์จาก WFH ได้แก่ COM7SYNEXSISHMPROILMITELINSETNETBAY

นางสาววิลาสินี บุญมาสูงทรง ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย บริษัทหลักทรัพย์ โกลเบล็ก จำกัด หรือ GBS ประเมินทิศทางตลาดหุ้นไทยมีโอกาสแกว่งตัวผันผวน จากแรงกดดันตัวเลขจำนวนผู้ติดเชื้อ   โควิด-19 ในประเทศที่ยังเพิ่มสูงขึ้น ประกอบกับการที่หลายจังหวัดที่เป็นพื้นที่สีแดงยกระดับเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดโควิด-19 สั่งปิดสถานที่ จำกัดเวลาทำการ เริ่ม 26 เม.ย.นาน 14 วันรวมทั้งกรณีที่ประธานาธิบดี โจ ไบเดน มีแผนปรับเพิ่มภาษีกำไรที่ได้จากการลงทุน (capital gains tax) สูงถึง 43.4% สำหรับชาวอเมริกันที่ร่ำรวย และปรับเพิ่มภาษีสูงถึง 39.6% สำหรับผู้ที่มีรายได้ไม่ต่ำกว่า 1 ล้านดอลลาร์ จากปัจจุบันเรียกเก็บที่ระดับ 20% ส่งผลให้เกิดแรงขายออกมาหลังจากประกาศข่าวดังกล่าว และทางด้านโกลด์แมน แซคส์ คาดการณ์ว่า การขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐอาจชะลอตัวลง และอัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น หากสถานการณ์ขาดแคลนชิปซึ่งเป็นอุปกรณ์สำคัญในอุตสาหกรรมรถยนต์ โทรศัพท์มือถือ ทีวี และเครื่องเล่นเกมคอนโซล เลวร้ายลง ส่งผลให้คาดการกรอบการเคลื่อนไหวของดัชนีแกว่งตัวในระดับ 1,544-1,587 จุด

จากปัจจัยลบข้างต้นทำให้กดดันปัจจัยบวก อาทิ การรายงานตัวเศรษฐกิจของสหรัฐและยูโรโซนที่ดีกว่าคาด ทั้งยอดขายบ้านใหม่ในเดือนมี.ค.ของสหรัฐ ปรับตัวเพิ่มขึ้น 20.7% สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาด ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) รวมภาคการผลิตและภาคบริการเบื้องต้นของสหรัฐ ในเดือนเม.ย. พุ่งขึ้นเหนือระดับ 50 บ่งชี้ว่า ภาคธุรกิจของสหรัฐขยายตัว อีกทั้งดัชนี PMI รวมภาคการผลิต-บริการเบื้องต้นของยูโรโซน ในเดือนเม.ย.พุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 9 เดือน ได้รับแรงหนุนจากภาคการผลิตที่พุ่งขึ้นทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ และการอัดฉีดงบประมาณของรัฐบาลประมาณกว่า 3.8 แสนล้านบาท สำหรับการเยียวยาประชาชนและฟื้นฟูเศรษฐกิจจากการระบาดระลอกใหม่

ทั้งนี้คงต้องจับตาสถานการณ์ต่างๆ ในประเทศ อาทิ  การประชุมครม. การเชิญภาคเอกชน ทั้งคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ประชุมหารือเกี่ยวกับแนวทางการจัดหาและกระจายวัคซีนร่วมกับภาครัฐ เพื่อกระจายสู่บุคลากรในภาคอุตสาหกรรม และทางสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง(สศค.)รายงานภาวะเศรษฐกิจการคลัง ภาวะเศรษฐกิจภูมิภาค  และดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาค จับตาการทบทวนประมาณการแนวโน้มเศรษฐกิจไทย ปี 2564 เปลี่ยนแปลงจากเดิมที่เคยคาดไว้ที่ 2.8% หรือไม่ อีกทั้งทาง สศอ.แถลงดัชนีอุตสาหกรรม และ ธปท.รายงานภาวะเศรษฐกิจไทย

และปัจจัยต่างประเทศ เช่น จีนเปิดเผยกำไรภาคอุตสาหกรรม ธนาคารกลางญี่ปุ่นประชุมนโยบายการเงิน สหรัฐเปิดเผยราคาบ้านเดือนก.พ. และความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนเม.ย. 27-28 เม.ย. ธนาคารกลางสหรัฐ (FOMC) ประชุมนโยบายการเงิน แถลงมติอัตราดอกเบี้ย(เช้าวันที่ 29 เม.ย.) รวมทั้งการเปิดเผยสต็อกน้ำมันของสหรัฐ ส่วนทางอียูเปิดเผยความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนเม.ย. และสหรัฐเปิดเผยจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ GDP 1Q64 (ประมาณการเบื้องต้น) และยอดทำสัญญาขายบ้านที่รอปิดการขายเดือนมี.ค.

www.mitihoon.com