PRECISE” ลงนามความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) กับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

119

มิติหุ้น – กลุ่มบริษัทในเครือบริษัท พรีไซซ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ PRECISE  ภายใต้สายธุรกิจ Bio-Circular-Green Business บริษัท พรีไซซ สมาร์ท ไลฟ์ จำกัด  , สายธุรกิจ  International Business บริษัท แปซิฟิค เพาเวอร์ ดีเวลลอปเม้นท์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด  และสายธุรกิจ Renewable Energy บริษัท คลีน เอ็นเนอร์จี โปรดิวเซอร์ จำกัด ผู้นำด้านการพัฒนาไฟฟ้าและพลังงานอย่างครบวงจร ภายใต้ธรรมาภิบาลและความเป็นมืออาชีพ  ได้ลงนามความร่วมมือทางวิชาการ หรือ MOU กับ บัณฑิตวิทยาลัยการจัดการและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี หรือ GMI  โดยมี นายวรพจน์ อังกสิทธิ์ รักษาการแทนคณบดี ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลง โดยมีระยะเวลา 5 ปี เพื่อสร้างความร่วมมือทางวิชาการในการสนับสนุนองค์ความรู้และบุคลากรใช้องค์ความรู้ทางวิชาการร่วมกัน โดยร่วมกันในการพัฒนาขีดความสามารถในด้านต่างๆ เพื่อเพิ่มการแข่งขันทางด้านอุตสาหกรรมในระดับภูมิภาคและระดับนานาชาติต่อไปในอนาคต การร่วมมือเริ่มต้นอย่างเป็นรูปธรรมด้วยโครงการบัณฑิตพันธุ์ใหม่และกำลังคนที่มีสมรรถนะ เพื่อตอบโจทย์ภาคการผลิตตามนโยบายการปฏิรูปการอุดมศึกษาไทย ประเภทประกาศนียบัตร (Non-Degree) กลุ่มอุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์

นาย ธีรวัฒน์ พรพงษ์สุริยา กรรมการผู้จัดการ บริษัท พรีไซซ สมาร์ท ไลฟ์ จำกัด กล่าวว่า “ความร่วมมือในครั้งนี้เป็นการเปิดมิติใหม่ให้กับการเรียนการสอนและเสริมสร้างองค์ความรู้ให้แก่บุคลากร ซึ่งเป็นการแลกเปลี่ยนทางวิชาการ ระหว่าง กลุ่มบริษัทในเครือบริษัท พรีไซซ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ทั้ง 3 บริษัท คือ 1.บริษัท พรีไซซ สมาร์ท ไลฟ์ จำกัด  2.บริษัท แปซิฟิค เพาเวอร์ ดีเวลลอปเม้นท์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด 3. บริษัท คลีน เอ็นเนอร์จี โปรดิวเซอร์ จำกัด ที่มีศักยภาพในการพัฒนาองค์ความรู้ต้นแบบในกลุ่มอุตสาหกรรมระดับประเทศ มีการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีทีทันสมัยมาใช้ ซึ่งจะประสานกับการถ่ายทอดองค์ความรู้จาก บัณฑิตวิทยาลัยการจัดการและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ในการพัฒนาหลักสูตร กิจกรรมการเรียนการสอน และการฝึกอบรม เพื่อยกระดับสมรรถนะของบุคลากรให้ตรงตามความต้องการของทั้งในและต่างประเทศ โดยนำร่องด้วยหลักสูตร Logistics ERP Systems ที่เกิดจากการบูรณาการของสหสาขาวิชา (Multidisciplinary) ด้านโลจิสติกส์ (Logistics) วิศวกรรมอุตสาหการ (Industrial Engineering) และเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology: IT) โดยการเรียนรู้ผ่านการทำโครงงาน (Project-based learning) นำมาซึ่งการลดต้นทุนด้านโลจิสติกส์”

“ในอีก 5 ปีหลังจากนี้ การพัฒนาบุคลากร การฝึกอบรม งานวิชาการ วิจัยและนวัตกรรม ที่จะเกิดขึ้นจะเป็นการเรียนรู้ที่นำไปสู่การต่อยอดในเชิงอุตสาหกรรมรูปแบบดิจิทัล ตามวิสัยทัศน์เชิงนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทย (Thailand 4.0) ที่มุ่งเน้นส่งเสริมการปรับเปลี่ยนสถานประกอบการในกลุ่มวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) จากแบบดั้งเดิม (Traditional SMEs) เป็นแบบสมัยใหม่ (Smart SMEs) อย่างแท้จริง เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้เกิดขึ้นในระดับภูมิภาคและระดับนานาชาติ

www.miihoon.com