การกลับมาระบาด COVID19 รอบใหม่ตั้งแต่ต้นปี 2564 ทำให้ภาครัฐฯ ออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ อย่าง “เราชนะ” และ “เรารักกัน” มูลค่าเกือบ 3 แสนล้านบาท และการระบาดรอบปัจจุบันที่เริ่มต้นตั้งแต่ต้นเดือน เม.ย.ที่ มีจำนวนผู้ติดเชื้อมากกว่า 2 รอบแรกมาก ทำให้ภาครัฐฯ เริ่มใช้นโยบายป้องกั้นการระบาดที่เข้มงวดขึ้น และออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ รอบใหม่อีกครั้ง เมื่อวันที่ 5 พ.ค.ที่ผ่านมา แบ่งเป็น 1) มาตรการระยะสั้น พ.ค.-มิ.ย. ผ่าน “เราชนะ” และ “เรารักกัน” รวม 8.4 หมื่นล้านบาท และมาตรการระยะยาว ก.ค.-ธ.ค. ผ่าน “บัตรสวัสดิการ” “คนละครึ่ง” และ “ยิ่งใช้ยิ่งได้” รวม 1.4 แสนล้านบาท รวมกันประมาณ 2.2-2.3 แสนล้านบาท หรือคิดเป็น 1.4% ของ GDP
ซึ่ง “ฝ่ายวิจัย” บล.ธนชาต มองว่ามาตรการที่ บริษัท จดทะเบียน จะได้รับประโยชน์ จะมาจากมาตรการ “ยิ่งใช้ยิ่งได้” ที่เป็นการกระตุ้นกำลังซื้อของกลุ่มผู้จ่ายภาษีประมาณ 4 ล้านคน โดยมีวงเงินใช้จ่าย ประมาณ 7,000 บาท ต่อคน โดยเฉพาะกลุ่มค้าปลีก สินค้าที่มีราคาสูง อย่าง สินค้า IT, อุปการณ์ตกแต่งบ้าน, สินค้าอุปโภคบริโภค, ร้านอาหาร อย่าง COM7, HMPRO, CRC, MC, M ขณะที่มาตรการอื่นๆ ไม่ได้ส่งผลกับรายได้บริษัทจดทะเบียนมากนัก
แนะระวังแรงขาย “Sell In May”
สำหรับกลยุทธ์การลงทุน เดือน พ.ค. “ฝ่ายวิจัย” บล.ธนชาต แนะนำให้ระมัดระวัง แรงขาย “Sell In May” ระยะสั้น เนื่องจาก 1) สถิติในอดีต 10 ปีที่ผ่านมา การลงทุนในเดือน พ.ค.มีโอกาสให้ผลตอบแทนเป็นบวกเพียง 30% เท่านั้น 2) เงินเฟ้อสหรัฐฯ มีแนวโน้มเร่งตัวขึ้น มาก โดยจะมีการประกาศตัวเลขเงินเฟ้อในวันที่ 10 พ.ค.นี้ ขณะที่ Janet Yellen และ Warrent Buffet เองก็มีการพูดถึงเงินเฟ้อที่เร่งตัวขึ้นเช่นเดียวกัน และ 3) การระบาด COVID19 ในประเทศ จะทำให้เห็นการปรับประมาณการ GDP ปี้ และกำไรบริษัทจดทะเบียน โดยเฉพาะกลุ่ม Domestic Play ลงในช่วง 1-2 เดือนนี้