วิเคราะห์สถานการณ์ราคาน้ำมัน

109

 

ราคาน้ำมันดิบปรับเพิ่ม หลังตัวเลขการส่งออกน้ำมันดิบสหรัฐฯ แตะระดับต่ำสุดตั้งแต่ ต.ค. 61(13/5/2021)

+ ราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสและเบรนท์ปรับเพิ่มแตะระดับสูงสุดในรอบ 8 สัปดาห์ หลังสำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐฯ (EIA) รายงานตัวเลขการส่งออกน้ำมันดิบของสหรัฐประจำสัปดาห์ก่อนหน้า ปรับลดมาอยู่ที่ระดับ 1.8 ล้านบาร์เรลต่อวัน ซึ่งเป็นระดับต่ำที่สุดนับตั้งแต่เดือน ต.ค. 61 ขณะที่ปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ ปรับลดลง 0.4 ล้านบาร์เรล

+ องค์การพลังงานระหว่างประเทศ (IEA) กล่าวในรายงานประจำเดือน พ.ค. 64 ว่า การเพิ่มขึ้นของอุปทานน้ำมันดิบภายใต้แผนการผลิตปัจจุบันของกลุ่มโอเปกและประเทศพันธมิตร จะอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าการฟื้นตัวของความต้องการใช้น้ำมันทั่วโลก โดย API คาดว่าความต้องการใช้น้ำมันในปีนี้จะเพิ่มขึ้น 5.4 ล้านบาร์เรลต่อวันจากปีก่อนหน้า

+ ราคาน้ำมันดิบได้รับแรงหนุนหลัง ตัวเลข GDP ของสหราชอาณาจักรในเดือน มี.ค. 64 ฟื้นตัวดีกว่าคาด ประกอบกับราคาสินค้าโภคภัณฑ์ในสหรัฐฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบเกือบ 12 ปี ตามความต้องการใช้ที่ฟื้นตัว

ราคาน้ำมันเบนซิน-ปรับตัวเพิ่มขึ้นมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ หลังความต้องการใช้น้ำมันเบนซินในประเทศอินโดนีเซียเริ่มพื้นตัว อย่างไรก็ตาม ราคาได้รับแรงกดดันหลังสถาบันปิโตรเลียมด้านพลังงานสหรัฐฯ (API) รายงานปริมาณน้ำมันเบนซินคงคลังสหรัฐฯ สิ้นสุดวันที่ 7 พ.ค. 64 ปรับตัวเพิ่มขึ้น 5.64 ล้านบาร์เรล

ราคาน้ำมันดีเซล-ปรับตัวเพิ่มขึ้นมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ หลังได้รับแรงสนับสนุนจากปริมาณการส่งออกน้ำมันดีเซลจากภูมิภาคเอเชียไปยังตะวันตกที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม ความต้องการใช้น้ำมันดีเซลในภูมิภาคเอเชียยังคงได้รับแรงกดดันจากการแพร่ระบาดของโควิด-19

หน่วยวิเคราะห์สถานการณ์ราคาน้ำมัน บมจ. ไทยออยล์

www.mitihoon.com