ZEN Group โชว์กลยุทธ์ ‘เขียง’ ก้าวสู่ปีที่ 3

57

มิติหุ้น – ‘เซ็น คอร์ปอเรชั่น กรุ๊ป หรือ ZEN ประกาศความสำเร็จกลยุทธ์การตลาด เขียง แบรนด์ร้านอาหารสไตล์สตรีทฟู้ดเติบโตรวดเร็วฝ่าวิกฤต Covid-19 ก้าวสู่ปีที่ โชว์โมเดลแฟรนไชส์หลากหลายและเข้าถึงทุกพื้นที่ คาดสิ้นปีขยายเพิ่มเป็น 140 สาขา จากปัจจุบัน 83 สาขา ทั้งกรุงเทพ และต่างจังหวัด ยกเครื่องการให้บริการเดลิเวอรี่ มาตรฐานความสะอาด ความปลอดภัย เมนูอาหารใหม่ รับตลาดฟู้ดเดลิเวอรี่มีมูลค่า 74,000 ล้านบาท มั่นใจการระบาดระลอกใหม่แบรนด์เขียงแข็งแกร่ง คาดการณ์ยอดขายเติบโต 40  

นายบุญยง ตันสกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เซ็น คอร์ปอเรชั่น กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ ZEN  ผู้ประกอบธุรกิจบริการอาหาร (Food Services) เปิดเผยว่า การก้าวเข้าสู่ปีที่ 3 สำหรับ เขียง แบรนด์ร้านอาหารสไตล์สตรีทฟู้ด ภายใต้ร้านอาหารในเครือเซ็น กรุ๊ป ซึ่งถือเป็นแบรนด์ที่มีการเติบโตอย่างรวดเร็ว อันเนื่องการปรับกลยุทธ์การตลาด ทั้งในด้านการนำเสนอเมนูอาหารที่มีเอกลักษณ์ การบริการเดลิเวอรี่และแพลตฟอร์มออนไลน์ที่ตอบสนองความต้องการลูกค้าทุกที่และทุกเวลา รวมถึงการขับเคลื่อนโมเดลแฟรนไชส์ในการขยายสาขา ซึ่งสอดรับกับสถานการณ์ธุรกิจร้านอาหารที่เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทั้งจากพฤติกรรมของผู้บริโภคและการเกิดการแพร่ระบาดไวรัส Covid-19 

สำหรับในปี 2564 เขียงมีการขยายสาขาที่เติบโตอย่างรวดเร็ว คาดว่าถึงสิ้นปีนี้จะมีจำนวนทั้งสิ้น 140 สาขา จากปัจจุบันที่มี 83 สาขา แบ่งเป็น การลงทุนเอง 20 สาขา และแฟรนไชส์ 63 สาขา ปัจจัยที่ทำให้เขียงประสบความสำเร็จในการขยายสาขา เนื่องจากโมเดลแฟรนไชส์เขียงมีหลากหลายรูปแบบที่เข้าถึงได้ทุกพื้นที่ ทั้งโมเดลรถเข็น,ตลาด,ปั้มน้ำมั 

,ตึกแถว และอาคารสำนักงาน รวมถึงการวางงบลงทุนที่เหมาะสมในแต่ละโมเดล โดยเป็นค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์ (แรกเข้า) ระยะ ปี 600,000 บาท  ค่ารอยัลตี้ฟีและมาร์เก็ตติ้งฟี 15,000 บาทต่อเดือน และงบลงทุนก่อสร้าง 1-2 ล้านบาท ซึ่งสามารถถึงจุดคุ้มทุนภายในระยะเวลา 2-3 ปี จึงทำให้แฟรนไชส์เขียงได้รับความสนใจจากผู้ที่สนใจเข้ามาลงทุนจำนวนมาก  

นอกจากนี้ บริษัทฯ ปรับกลยุทธ์การตลาดการบริการเดลิเวอรี่ แพลตฟอร์มออนไลน์ พัฒนาแอปพลิเคชั่น การนำเสนอเมนูอาหารจานเดียวที่หลากหลาย รวมทั้งการนำบรรจุภัณฑ์ที่สะดวก สะอาด ปลอดภัย ย่อยสลายได้ ให้บริการทั้งเดลิเวอรี่และซื้อกลับบ้าน (Take Home) รับกับตลาดฟู้ดเดลิเวอรี่ในปีนี้คาดว่ามีมูลค่า 74,000 ล้านบาท ซึ่งมีอัตราเติบโตอย่างรวดเร็วจากเมื่อปีที่ผ่านมามีมูลค่า 68,000 ล้านบาท เพราะพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงหันมาสั่งอาหารรับประทานแทนการนั่งกินที่ร้าน ส่งผลให้รายได้เดลิเวอรี่ของเขียง มีสัดส่วนเพิ่มขึ้นจาก 60% เป็น 70% ส่วนรูปแบบนั่งกินในร้านจาก 40% เป็น 30%   

นายบุญยง กล่าวว่า ก้าวสู่ปีที่ เขียงไม่หยุดนิ่งที่จะนำเสนอสิ่งใหม่ให้กับลูกค้า เพื่อสร้างการเติบโตที่ยั่งยืนให้กับธุรกิจ โดยกำลังอยู่ระหว่างการพิจารณาโลเคชั่นที่มีศักยภาพสำหรับเปิดให้บริการเดลิเวอรี่และซื้อกลับบ้านเพิ่มเติม รองรับกับการเติบโตของตลาดฟู้ดเดลิเวอรี่ในช่วงเกิดการแพร่ระบาดไวรัส Covid-19 ระลอกใหม่ โดยคาดว่ารายได้
เดลิเวอรี่จะมีสัดส่วนเพิ่มเป็น 
80% และรูปแบบนั่งกินในร้านมีสัดส่วน 20% อีกทั้งเตรียมเปิดเมนูอาหารไทย ที่มีสมุนไพรมีสรรพคุณทางยา ช่วยเสริมภูมิคุ้มกันและต่อต้านเชื้อไวรัส อาทิ เช่น ไก่ผัดพริกขิง และไข่เจียวหอมใหญ่ อย่างไรก็ดีมั่นใจว่า เมื่อการแพร่ระบาดไวรัส Covid-19 คลี่คลาย ไลฟ์สไตล์การนั่งกินที่ร้านจะค่อยๆ กลับมาเหมือนเดิม  

“ตลอดระยะเวลา ปีที่ผ่านมา เขียงเผชิญกับความท้าทายรอบด้าน ทั้งการแพร่ระบาดไวรัส Covid-19 พฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เราได้ปรับกลยุทธ์ตลาดให้ทันกับสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง มั่นใจว่าการแพร่ระบาดระลอกนี้ ด้วยโมเดลธุรกิจที่วางไว้ ยอดขายเขียงจะมีอัตราเติบโตดีกว่าเป้าหมายในช่วงที่มีการใช้มาตรการควบคุมการแพร่ระบาด ซึ่งการเติบโตมาจากยอดเดลิเวอรี่เพิ่มขึ้นและยังมีผู้สนใจลงทุนเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง เพราะเป็นโมเดลธุรกิจที่ยังคงสามารถทำรายได้และกำไรได้ในสถานการณ์เช่นนี้ และวางเป้าหมายรายได้สิ้นปีของเขียงทะลุ 300 ล้านบาท เติบโต 40% นายบุญยง กล่าว  

www.mitihoon.com