ปิดฉากกองทุน SPF

9947

กองทุนรวมสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์สนามบินสมุย (SPF) ก่อตั้งเมื่อปี 49 มีมูลค่าสินทรัพย์ภายใต้การบริหารรวม(NAV) 9,500 ล้านบาทที่ราคาเสนอขายหน่วยละ 10 บาท จำนวนทั้งสิน 950 ล้านหน่วย ขณะที่มูลค่าสินทรัพย์ภายใต้การบริหารรวม ณ ปัจจุบันอยู่ที่ 10,500 ล้านบาท โดยมีนโยบาลงทุนในสิทธิการเช่าระยะยาวในทรัพย์สินที่เช่า ได้แก่ ที่ดิน ทางวิ่ง ลานจอด และสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินที่เช่า ซึ่งปัจจุบันใช้ในการดำเนินกิจการสนามบินสมุย โดยการเข้าทำสัญญาเช่าระยะยาวและ สัญญาตกลงกระทำการ (Undertaking Agreement) กับบางกอกแอร์เวย์ส ระยะยาวเป็นระยะเวลา 30 ปี ซึ่งมีความได้เปรียบคือไม่มีสนามบินคู่แข่ง

โควิด-19พ่นพิษ

แต่เมื่อเจอพิษโควิดที่ยาวนานกว่า 1 ปีส่งผลให้ผลการดำเนินงานขาดทุน โดยพบว่าผลการดำเนินงานงวดไตรมาส1/64 ขาดทุน 48.6 ล้านบาท ลดลงจากงวดเดียวกันของปีก่อนที่มียอดขาดทุนสุทธิ 701.65 ล้านบาท จากชะลอตัวต่อเนื่องของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวโดยรวม เนื่องจากผลกระทบการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

 

จ่ายปันผลมาแล้ว 14 ปี

แต่ล่าสุดยังประกาศจากกำไรสะสมในอัตราหน่วยละ 0.14 บาท XD  25 พ.ค. 64 กำหนดจ่าย 11มิ.ย.64 ปี 64 รวมประกาศจ่าย แล้ว 2 ครั้งรวม 0.28บาทต่อหน่วย รวมทั้งปีที่ผ่านมาก็ยังจ่ายปันผลเช่นกัน ถึง 4 ครั้ง รวม 0.88 บาทต่อหน่วยและ ตามนโยบายแล้วกองทุน SPF จะจ่ายปันผลอย่างสม่ำเสมอย่างน้อย 4 ครั้ง ต่อปี โดยจ่ายไม่น้อยกว่า 90 % ของกำไรสุทธิทุกๆปี ซึ่งรวมจ่ายปันผลมาแล้ว 56 ครั้ง รวม 15.7137 บาท รวมระยะเวลาเกือบ 14 ปี และมี IRR 8.92% ถือว่าน่าสนใจที่เดียว

ผงะ!! BAประกาศยกเลิกสัญญากับ SPF 

ล่าสุด บมจ.การบินกรุงเทพ (BA) ประกาศโดยอนุมัติให้บริษัท เสนอขอยกเลิกสัญญาเช่าระยะยาว ซึ่งมีระยะเวลาการเช่าตามสัญญาเหลือประมาณ 15.5 ปี และสัญญาที่เกี่ยวข้องระหว่างบริษัทฯกับกองทุนรวมสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์สนามบินสมุย(SPF)ทั้งนี้ในการเสนอยกเลิกสัญญาที่เกี่ยวข้องกับกองทุนรวมฯดังกล่าว บริษัทได้กำหนดค่าตอบแทนการเลิกสัญญาดังกล่าวที่จะชำระให่แก่กองทุนรวมเป็นมูลค่ารวมเท่ากับ 18,050 ลบ.

โบรกประเมินBAจ่าย18,050ลบ.

ด้านบทวิเคราะห์ บล.เอเซีย พลัส ระบุว่า จากกรณีที่ประชุม BA ขอเสนอยกเลิกสัญญาเช่าระยะยาว ซึ่งมีสัญญาเช่าเหลือประมาณ 15.5 ปี กับกองทุนรวมสิทธิการเช่าอสังหาฯ สนามบินสมุย (หรือ SPF) โดยกำหนดค่าตอบแทนการยกเลิกสัญญาและชำระให้กองทุนรวมมูลค่า 18,050 ล้านบาท ภายใต้ธุรกรรมดังกล่าว คาดทำให้ SPF ได้รับผลตอบแทนสุทธิประมาณ 1.8 หมื่นล้านบาท (หากอิงจากตัวเลขค่าตอบแทนนของ BA และหักค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวเนื่องกับกองทุนฯ ซึ่งอิงข้อมูลงบการเงิน 4 ไตรมาสย้อนหลังพบว่าอยู่ที่ 14 ล้านบาท/ไตรมาส หรือ 50-60 ล้านบาท/ปี และกองฯ ไม่มีภาระหนี้สินกู้ยืม) หรือคิดเป็นผลตอบแทนต่อหน่วยราว 18.9-19 บาท (ภายใต้จำนวนหน่วยทั้งสิ้น 950 ล้านหน่วย)

 

ทั้งนี้ผลตอบแทนดังกล่าวดังกล่าวจะถูกจัดสรรให้ผู้ถือหน่วยแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ การคืนเงินต้น (หรือลดทุน) ราว 9.69 บาท/หน่วย (ตามราคาพาร์ปัจจุบัน) และที่เหลือ 9.2-9.3 บาท/หน่วย เป็นรูปแบบเงินปันผล (ที่เกิดจากการขายสิทธิการเช่า) และเงินส่วนนี้นักลงทุนมีภาระต้องเสียภาษี คาดภายหลังกอง SPF ได้รับเงินตอบแทนจาก BA จะทำให้กองไม่มีสินทรัพย์ฯ ในการบริหาร เพราะต้องคืนสิทธิการเช่าสนามบินคืนให้กับ BA ดังนั้นกองจะดำเนินการยกเลิกและปิดสถานะกองทุนไป

ราคายังพอมีอัพไซต์

จากราคาผลตอบแทนต่อหน่วยที่สูงกว่าราคาปัจจุบัน (ราคาปิดเมื่อวาน) ที่ 13.9 บาท และ NAV สิ้น มี.ค. ที่ 11.53 บาท จึงทำให้เกิดแรงเก็งกำไรให้กับราคาหุ้น SPF (ล่าสุดอยู่ที่ 16.30 บาท) โดยหากราคาปรับขึ้นเกิน 18-19 บาท นักลงทุนสามารถขายทำกำไร แต่หากราคายังต่ำกว่า 18 บาท นักลงทุนที่มีอยู่ สามารถถือรอ รับเงินคืน หลังการเลิกกองทุน ซึ่งคาดเกิดขึ้นภายในไตรมาส 3/64 ภายใต้ธุรกรรมดังกล่าวเป็นไปตามแผน

www.mitihoon.com