มิติหุ้น – บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) ผู้พัฒนาศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ เซ็นทรัลพลาซา เซ็นทรัลเฟสติวัล เซ็นทรัล ภูเก็ต และ เซ็นทรัล วิลเลจ ลักชูรี่ เอาท์เล็ตแห่งแรกของไทย ชวนคนไทยและทุกภาคส่วน สร้างการเปลี่ยนแปลงร่วมกัน เดินหน้าภารกิจระดับโลกเพื่อสิ่งแวดล้อมโลกที่ดีขึ้น #BetterPlanet ด้านการพัฒนาเมืองที่ยั่งยืน รักษ์สิ่งแวดล้อม ควบคู่การจัดการพลังงานและเศรษฐกิจหมุนเวียน ชูจุดแข็งในการเป็น ศูนย์กลางการใช้ชีวิตของทุกที่ของประเทศ กว่า 33 สาขา ทุกภูมิภาค ทั่วไทย หากทุกภาคส่วนจับมือร่วมกัน เชื่อว่าสามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงได้อย่างชัดเจน เตรียมเดินหน้าร่วมมือกับองค์กรและตัวแทนนานาชาติ สำนักนโยบายสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานคร องค์การบริหารส่วนจังหวัดในจังหวัดต่างๆ เร่งสร้างการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกในระดับประเทศให้เกิดขึ้นจริง
นางสาวนภารัตน์ ศรีวรรณวิทย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารการเงิน และรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานการเงิน บัญชี และบริหารความเสี่ยง และ ฝ่ายบริหารความเป็นเลิศและการพัฒนาที่ยั่งยืน บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จากัด (มหาชน) กล่าวว่า “ตลอด 40 ปีที่ผ่านมา เซ็นทรัลพัฒนา มองว่า ความยั่งยืนของชุมชน สังคม สิ่งแวดล้อม และการดำเนินธุรกิจ เป็นเรื่องเดียวกัน โดยถือเป็นภารกิจสำคัญที่เราต้องขับเคลื่อนเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกให้มากที่สุด เพราะศูนย์การค้าเซ็นทรัลเป็นศูนย์กลางของการใช้ชีวิตที่เป็นส่วนหนึ่งของชุมชน เราจึงเดินหน้าทางานร่วมกับองค์กรต่างๆ ทั้งระดับโลก ระดับประเทศ และระดับท้องถิ่น เพื่อร่วมกันสร้างสิ่งแวดล้อมโลกที่ดีขึ้น #BetterPlanet โดยมีเป้าหมายในการลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก หรือ คาร์บอนฟุตพริ้นท์ (Carbon Footprint) และเพิ่มปริมาณพื้นที่สีเขียว ซึ่งจะช่วยพัฒนาเมืองและถิ่นฐานมนุษย์อย่างยั่งยืนและลดผลกระทบเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลก”
โดยบริษัทฯ ได้ริเริ่มและดำเนินโครงการ Journey to Zero ที่มุ่งลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก มาอย่างต่อเนื่อง ประกอบด้วยการดำเนินงานใน 3 มิติที่สำคัญ ดังนี้
- Collaborative Waste Management: การจัดการขยะร่วมกับผู้ที่เกี่ยวข้องอย่างเป็นระบบ โดยตั้งเป้าลดขยะฝังกลบลงให้ได้ร้อยละ 50 ของปริมาณขยะทั้งหมดและบริษัทฯ มุ่งที่จะสนับสนุนให้คนไทยทุกคนสามารถร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีได้ง่าย ผ่านการแยกขยะผ่านจุดขยะคัดแยก Recycle Station ในศูนย์การค้าเซ็นทรัลทุกสาขา ผ่านโครงการ ‘ทิ้งดี’ ซึ่งมีการบริหารจัดการขยะตั้งแต่การแยกประเภทขยะ การจัดเก็บไปจนถึงการนำขยะแต่ละประเภทไปบริหารจัดการอย่างเหมาะสมเพื่อให้เป็น Circular Economy โดยการผนึกกำลังกับพันธมิตรและคู่ค้าร่วมกันพัฒนากระบวนการดำเนินการอย่างครบวงจร อาทิ สำนักสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานคร, กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ภายใต้โครงการสานพลังประชารัฐ จัดทำโครงการ ‘มือวิเศษ x วน’ โดย PPP Plastics, ร่วมกับ AIS จัดการขยะ E-waste, ร่วมกับโค้ก (ประเทศไทย) คัดแยกบรรจุภัณฑ์ที่ใช้แล้วเพื่อแปรรูปใหม่, ร่วมกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ภาคีผู้ประกอบการอาคารบนถนนรัชดาฯ ในการคัดแยกขยะพลาสติก ภายใต้โครงการ “Care The Whale” เป็นต้น นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังตั้งเป้าเป็นต้นแบบองค์กรที่จัดการขยะนับตั้งแต่เริ่มก่อสร้างโครงการ ด้วยการรีไซเคิลเสาเข็ม จำนวน 2,000 ตัน ซึ่งเท่ากับ 20% ของปริมาณทั้งหมด นำร่องแล้วที่เซ็นทรัล ศรีราชา โดยความร่วมมือกับ SCG
- Efficient Water Management: การจัดการน้ำอย่างมีประสิทธิภาพโดยตั้งเป้าเพิ่มปริมาณน้ำรีไซเคิลให้ได้ร้อยละ 20 ของปริมาณการใช้น้ำภายในศูนย์การค้า ซึ่งมีการดำเนินการภายใต้แนวคิด Reduce – Reuse – Recycle ตั้งแต่การกำหนดมาตรฐานการออกแบบระบบการใช้น้ำและการเลือกใช้อุปกรณ์ประหยัดน้ำ การกำหนดขั้นตอนการปฏิบัติงาน ตลอดจนการรณรงค์และการจัดการน้ำอย่างรู้คุณค่ากับร้านค้าและลูกค้าที่มาใช้บริการศูนย์การค้า
- Sustainable Energy Management: การจัดการพลังงานอย่างยั่งยืนซึ่งประกอบด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานและการเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานทางเลือก โดยตั้งเป้าหมายลดการใช้พลังงานไฟฟ้าของบริษัทฯ ร้อยละ 20 และเป้าหมายการใช้พลังงานทางเลือกในทุกศูนย์การค้า โดยบริษัทฯ ดำเนินการปรับปรุงทั้งการออกแบบอาคารที่ประหยัดพลังงาน การปรับเปลี่ยนอุปกรณ์และการบริหารระบบการใช้พลังงาน ทำให้การอัตราการใช้พลังงานลดลงอย่างต่อเนื่องและได้รับรางวัลอาคารประหยัดพลังงานทั้งในระดับประเทศและระดับสากล นอกจากนี้บริษัทฯ ติดตั้ง Solar Rooftop ในศูนย์การค้าเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทั่วประเทศ
บริษัทฯ ยังเน้นการเพิ่มพื้นที่สีเขียวในโครงการเพื่อสร้างบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมที่ดีให้กับชุมชน โดยตั้งเป้าหมายเพิ่มสัดส่วนพื้นที่สีเขียวในศูนย์การค้าที่จะสร้างขึ้นในอนาคตให้มากกว่า 10% ของพื้นที่ทั้งหมด อาทิ ดุสิต เซ็นทรัล พาร์ค, เซ็นทรัล จันทบุรี, เซ็นทรัล อยุธยา และ เซ็นทรัล ศรีราชา เพื่อช่วยสร้างออกซิเจนและกรองฝุ่นละอองให้ผู้มาใช้ชีวิตรอบศูนย์การค้า และยังเป็นการเอื้อต่อการสร้างแหล่งอยู่อาศัยให้กับสิ่งมีชีวิตตามธรรมชาติที่อาศัยอยู่ในเมือง (Urban Wild Life) เช่น นก แมลง กระรอก อีกทั้ง ยังมีแนวคิด ‘เปลี่ยนพื้นที่รอการก่อสร้างเป็นพื้นที่สีเขียวและเอื้อประโยชน์ให้กับเกษตรกร’ ซึ่งริเริ่มนาร่องแล้วบนที่ดินของบริษัท G Land ที่เซ็นทรัลพัฒนาเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ โดยคาดว่าจะสามารถเปิดให้ประชาชนเข้าใช้บริการได้ ในไตรมาส 3-4 ของปีนี้ เมื่อสถานการณ์โควิดมีแนวโน้มที่ดีขึ้น”
ทั้งนี้เซ็นทรัลพัฒนาขออาสาเป็น ‘ผู้ประสานและแสวงหาความร่วมมือ’ สร้างเครือข่ายขับเคลื่อนอย่างเป็นองค์รวมในทุกระดับ ทั้งระดับภาคประชาชน ภาคการศึกษา ภาคสังคม ภาคเอกชน และ ภาครัฐ อย่างครบวงจร เพราะปัญหาใหญ่ด้านสิ่งแวดล้อมของโลก คือ ความเชื่อมโยงในระดับนโยบายและภาคปฏิบัติ เพื่อร่วมกันสร้างการเปลี่ยนแปลงได้อย่างมหาศาล
ตลอด 40 ปี เซ็นทรัลพัฒนาเป็น ’องค์กรต้นแบบภาคเอกชนที่ดี’ ในการพัฒนาเมืองที่ยั่งยืนกับคนทุกกลุ่ม โดยผนวกเรื่องของความยั่งยืนเข้าไปในกลยุทธ์การทำธุรกิจ มีเป้าประสงค์ขององค์กรที่ชัดเจนในการมุ่งมั่นที่จะสร้างสรรค์สิ่งดี เพื่ออนาคตที่ยั่งยืนสาหรับทุกคน จนได้รับการเลือกให้เป็นสมาชิกของ Dow Jones Sustainability Indices หรือ DJSI จึงเปรียบเหมือนผู้เล่นระดับโลก’ (Global Player) ในด้าน Sustainability
ปัจจุบัน เซ็นทรัลพัฒนา ได้นำแนวทาง Sustainable Development Goals หรือ SDGs ระดับนานาชาติ 5 ประการในการจัดการที่ยั่งยื่นด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อสร้างโลกที่ดีขึ้น มาปรับใช้ในธุรกิจ ซึ่งทุกข้อล้วนมีส่วนเกี่ยวข้องและเชื่อมโยงกัน ได้แก่ เป้าหมายที่ 6: การจัดการน้าและสุขาภิบาล (Clean Water and Sanitation) เป้าหมายที่ 7: พลังงานสะอาดที่ทุกคนเข้าถึงได้ (Affordable and Clean Energy) เป้าหมายที่ 11: เมืองและถิ่นฐานมนุษย์อย่างยั่งยืน (Sustainable Cities & Communities) เป้าหมายที่ 12: แผนการบริโภคและการผลิตที่ยั่งยืน (Responsible Consumption & Production) และ เป้าหมายที่ 13: การรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change)