มิติหุ้น – ตลาดหุ้นไทยในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ตลาดหุ้นไทยยังคงปรับตัวเพิ่มขึ้ นอย่างต่อเนื่องแม้ว่าจะมี การชะลอตัวลงในช่วงปลายสัปดาห์ โดยได้ปิดที่ระดับ 1,611.53 จุด เนื่องจากตลาดหุ้นไทยยังคงได้รั บแรงสนับสนุนจากความคืบหน้ าของวัคซีนต้านโรคโควิด-19 ที่มีความชัดเจนเพิ่มมากขึ้น ในขณะเดียวกันแรงซื้อของนักลงทุ นต่างชาติเริ่มกลับมาหลังจากที่ มีการขายสุทธิออกมาอย่างต่อเนื่ องในช่วงหลายสัปดาห์ที่ผ่านมา ประกอบกับได้รับปัจจัยสนับสนุ นจากการผ่านร่างงบประมาณปี 2565 ซึ่งคิดเป็นจำนวนราว 3.1 ล้านล้านบาท และการปรับตัวเพิ่มขึ้นของหุ้ นในกลุ่มใหญ่อย่างเช่น น้ำมัน ได้ส่งผลให้ตลาดมีการปรับตัวเพิ่ มขึ้น ทั้งนี้จำนวนผู้ติดเชื้ อในประเทศที่อยู่ในระดับสูงยั งคงเป็นประเด็นที่กดดันตลาดหุ้ นไทยซึ่งต้องติดตามอย่างใกล้ชิด ดังนั้นแม้ว่าตลาดหุ้นไทยจะเริ่ มมีปัจจัยสนับสนุนเข้ามาแต่ยั งคงเป็นปัจจัยที่ไม่ได้มีความชั ดเจนมากนัก ประกอบกับยังคงได้รับแรงกดดั นจากจำนวนผู้ติดโรคโควิด-19 ที่ค่อนข้างสูง ทำให้นักลงทุนที่ลงทุนในตลาดหุ้ นไทยอยู่อาจอาศัยจังหวะที่ ตลาดหุ้นไทยมีการปรับตัวเพิ่มขึ้ นในการทยอยขายเพื่อทำกำไรออกมา และสำหรับนักลงทุนที่ยังไม่มี การลงทุนและสนใจในตลาดหุ้ นไทยอาจชะลอการลงทุนและจับตาดู สถานการณ์อย่างใกล้ชิดต่อไป
ตลาดหุ้นต่างประเทศดัชนี S&P 500 ปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยในช่ วงสัปดาห์ที่ผ่านมาด้วยปริ มาณการซื้อขายที่ค่อนข้างเบาบาง ตลาดปรับตัวเพิ่มขึ้นนำโดยหุ้ นกลุ่มพลังงานหลังราคาน้ำมันขึ้ นไปแตะระดับสูงสุดในรอบ 2 ปี ในขณะที่หุ้นกลุ่มสินค้าฟุ่มเฟื อย (Consumer Discretionary) ถูกกดดันจากหุ้น Tesla ที่ปรับตัวลดลงหลังยอดขายในจี นลดลงกว่าที่คาด ด้านตลาดแรงงานของสหรัฐฯ ยังคงมีแนวโน้มฟื้นตัวอย่างต่ อเนื่องโดยตัวเลขการจ้ างงานนอกภาคการเกษตรเพิ่มขึ้น 559,000 ตำแหน่งและอัตราการว่ างงานลดลงมากกว่าที่คาดอยู่ที่ ระดับ 5.8% บ่งชี้เศรษฐกิจที่แข็งแกร่ งและอาจจะทำให้ FED กลับมาพิจารณานโยบายที่เข้ มงวดเร็วขึ้น ส่วนทางฝั่งยุโรปนั้นเศรษฐกิจมี แนวโน้มฟื้นตัวอย่างต่อเนื่ องจากการฉีดวัคซีนที่ทำได้เร็ วกว่าที่คาด ทำให้เงินเฟ้อออกมาที่ระดับ 2% สูงกว่ากรอบเป้าหมายกดดั นการลดนโยบายเชิงผ่อนคลาย ตลาดหุ้นเอเชียยังคงถูกกดดั นจากจำนวนผู้ติดเชื้อที่เพิ่มสู งขึ้นในบางภูมิภาค แนะนำกระจายการลงทุนในหุ้นกลุ่ มวัฏจักรขนาดใหญ่ที่ได้ประโยชน์ จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและหุ้ นในฝั่งยุโรปเนื่องจากมูลค่าพื้ นฐานยังอยู่ในระดับที่น่าสนใจ
ตลาดตราสารหนี้ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อายุคงเหลือ 10 ปี มีการปรับตัวลงสู่ระดับ 1.554 % เป็นระดับต่ำที่สุดนับจากช่วงต้ นเดือน พ.ค. ที่ผ่านมา ซึ่งระหว่างสัปดาห์ผลตอบแทนพั นธบัตรมีการปรับตัวขึ้นแตะระดั บกว่า 1.640% ก่อนจะปรับตัวลงอย่างแรงในวันศุ กร์จากการเผยตัวเลขการจ้ างงานนอกภาคเกษตร (Non-farm payroll) นอกจากนี้ ปริมาณการซื้อขายสินทรัพย์ ตราสารหนี้ในสัปดาห์ที่ผ่านมานั้ น อยู่ในระดับที่ค่อนข้างเบาบาง โดยคาดว่านักลงทุนมี การชะลอการซื้อขายเพื่อจับตาดู ผลการประชุ มของทางคณะกรรมการนโยบายการเงิ นของธนาคารกลางสหรัฐฯ (FOMC) ที่จะมีขึ้นในกลางเดือนนี้ ซึ่งอาจส่งผลให้อั ตราผลตอบแทนของพันธบัตรมีความผั นผวนสูงขึ้นได้ สำหรับนักลงทุนที่รับความเสี่ ยงได้ต่ำยังคงแนะนำคงสัดส่ วนการลงทุนในตราสารหนี้เพื่ อกระจายความเสี่ยงของพอร์ ตการลงทุนและสร้างผลตอบแทนที่มั่ นคง
ตลาดสินทรัพย์ทางเลือกสัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือน ส.ค. ปิดที่ 1,890.8 ดอลลาร์ สรอ./ออนซ์ ปรับตัวลดลง 0.76% เมื่อเทียบกับสัปดาห์ก่อน ราคาทองคำปรับตัวลงแรงระหว่างสั ปดาห์ จากการแข็งค่าขึ้นของสกุลเงิ นดอลลาร์ สรอ. โดยราคาทองคำลงไปทำจุดต่ำสุ ดระหว่างสัปดาห์ที่ 1,855.6 ดอลลาร์ สรอ./ออนซ์ อย่างไรก็ตาม ราคาทองคำสามารถปรับตัวบวกในช่ วงท้ายสัปดาห์หลั งกระทรวงแรงงานสหรัฐฯ เปิดเผยข้อมูลการจ้ างงานนอกภาคเกษตรเดือน พ.ค. ที่เพิ่มขึ้นอย่างมากจากระดั บในเดือน เม.ย. นอกจากนี้การปรับตัวลดลงของอั ตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลก็เป็ นอีกหนึ่งปัจจัยสนับสนุ นราคาทองคำ สำหรับนักลงทุนระยะยาว แนะนำให้คงสัดส่วนการลงทุน 3-5% ของพอร์ตการลงทุน เพื่อกระจายความเสี่ ยงโดยรวมของพอร์ตการลงทุน
สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือน ก.ค. ปิดที่ 69.62 ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล ปรับตัวเพิ่มขึ้น 5.08% เมื่อเทียบกับสัปดาห์ก่อน ราคาน้ำมันปรับตัวบวกแรงตลอดทั้ งสัปดาห์และปรับตัวขึ้นสู่ระดั บสูงสุดในรอบกว่า 2 ปี โดยได้รับปัจจัยสนับสนุ นจากผลการประชุมของกลุ่ มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (OPEC) และชาติพันธมิตร หรือ OPEC+ ที่จะปรับเพิ่มกำลังการผลิตน้ำ มันอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยจะเพิ่มกำลังการผลิตน้ำมัน 2.1 ล้านบาร์เรล/วัน ระหว่างเดือน พ.ค. – ก.ค. นอกจากนี้ ราคาน้ำมันยังได้รับปัจจัยสนั บสนุนจากการปรับเพิ่มอุปสงค์ ในครึ่งปีหลังของบรรดานักวิ เคราะห์หลายแห่ง รวมทั้งการแจกจ่ายวัคซีนป้องกั นโรคโควิด-19 ที่เป็นไปอย่างรวดเร็ว จะช่วยให้ตลาดน้ำมันโลกกลับสู่ ภาวะสมดุลได้เร็วขึ้น แนะนำให้คงสัดส่วนการลงทุน
สัปดาห์ที่ผ่านมา Bond Yield ทั่วโลกทรงตัวใกล้เคียงระดับเดิ มสอดคล้องกัน โดยตลาดการเงินเริ่มกลับมากั งวลอีกครั้งหลั งจากประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (FED) สาขาฟิลาเดลเฟีย กล่าวว่าอาจถึงเวลาพิ จารณาลดวงเงิน QE สะท้อนจากตัวเลขเศรษฐกิจของสหรั ฐฯ ยังคงออกมาดีกว่าคาดการณ์ บ่งบอกถึงการฟื้นตัวของเศรษฐกิ จสหรัฐฯ ต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ยังคงต้องติดตามผลการประชุมของ FOMC ในช่วงกลางเดือน มิ.ย. นี้ ด้าน REIT Yield ส่วนใหญ่ปรับตัวลดลงทั่ วโลกจากการปรับเพิ่มขึ้นของราคา ขณะที่ TH ทรงตัวใกล้เคียงระดับเดิม อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาจาก Yield Spread พบว่า REIT ทั่วโลกค่อนข้างมีมูลค่าที่ แพงเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยย้ อนหลัง 5 ปี แนะนำคงสัดส่วนการลงทุน
Asset Allocationการจัดสรรสินทรัพย์ลงทุ นและกองทุนที่แนะนำในสัปดาห์นี้
ภาพรวมตลาดหลักทรัพย์ในสัปดาห์ ที่แล้วแกว่งตัวในกรอบ โดยในช่วงต้นสัปดาห์ตลาดหลักทรั พย์โดยรวมตอบรับในเชิ งบวกและคลายความกังวลเกี่ยวกั บการลดการผ่ อนคลายของนโยบายการเงินลง หลังจากคณะกรรมการ FED ยังคงเน้นย้ำให้ว่ าธนาคารกลางสหรัฐฯ จะยังไม่ลดวงเงินการเข้าซื้อพั นธบัตรและการเร่งตัวขึ้นของเงิ นเฟ้อเป็นเพียงระยะสั้นเท่านั้น โดยแม้ว่าจะมีข่าวว่ามีการดูดซั บสภาพคล่องกลับผ่านการทำธุรกรรม Reverse Repo ตลาดการเงินก็ไม่ได้กังวลแต่อย่ างใด นอกจากนี้ยังมีความคาดหวังต่ อแผนงบประมาณรายจ่ายประจำปี ของรัฐบาลสหรัฐฯ ภายใต้การนำของ ปธน. โจ ไบเดน ที่อาจขาดดุลสูงถึง 6 ล้านล้านดอลลาร์ สรอ. โดยจะมีการปรับขึ้นภาษีจากภาคธุ รกิจเพื่อชดเชยการขาดดุลดังกล่ าว ในขณะที่ตัวเลขเศรษฐกิจก็ยั งสะท้อนให้เห็นถึงการฟื้นตัวต่ อเนื่อง นำโดยยอดคำสั่งซื้อสินค้าคงทน (Core Durable Goods) ที่ออกมาดีกว่าคาด และการจ้างงานนอกภาคเกษตร (Nonfarm Payrolls) เดือน พ.ค. ที่เพิ่มขึ้น 559,000 ตำแหน่ง ต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดไว้ เล็กน้อยที่ 675,000 ตำแหน่ง โดยส่วนใหญ่เป็นการจ้างงานในกลุ่ มการบริการ นำโดยร้านอาหารและบาร์ต่างๆ ที่ได้รั บผลบวกจากการลดลงของจำนวนผู้ติ ดเชื้อใหม่และการเร่งฉีดวัคซีน ในขณะที่หุ้นยุโรปปรับตัวสูงขึ้ นทำสถิติใหม่จากความคาดหวังต่ อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ประกอบกับตัวเลขดัชนีผู้จั ดการฝ่ายซื้อภาคการผลิต (PMI Manufacturing) เดือน พ.ค. ที่ออกมาอยู่ที่ระดับ 63.1 สูงที่สุดตั้งแต่มีการสำรวจตั้ งแต่ปี 2540 และปรับตัวสูงขี้นต่อเนื่ องมาตลาด 5 เดือนที่ผ่านมาสะท้อนให้เห็นถึ งแนวโน้มของกิจกรรมทางเศรษฐกิ จที่น่าจะดีในช่วงต่อไป อย่างไรก็ตามตลาดหุ้นส่วนใหญ่ ปรับตัวลดลงในช่วงท้ายสัปดาห์ จากแรงเทขายทำกำไรและการปรั บพอร์ตฟอลิโอของนักลงทุน
เรายังมองว่าแม้ประเด็นเรื่ องของแรงกดดันเงินเฟ้อจะยังมี อยู่ หลังจากเศรษฐกิจในกลุ่มประเทศพั ฒนาที่มีการเร่งฉีดวัคซีนน่ าจะกลับเข้าสู่ภาวะปรกติอย่างต่ อเนื่อง ส่งผลให้เกิดอุปสงค์ต่างๆ และกดดันราคาสินค้าเนื่ องจากภาคอุปทานใช้เวลามากกว่ าในการกลับเข้าสู่ภาวะปรกติ แต่ด้วยปัจจัยแวดล้อมของการฟื้ นตัวทางเศรษฐกิจที่ไม่ใช่เพี ยงสหรัฐฯ อีกต่อไป นโยบายการเงินที่ยังผ่อนคลาย และนโยบายการคลังแบบขาดดุลน่ าจะมีส่วนช่วยทำให้นักลงทุนยั งมีมุมมองเชิงบวกต่อการลงทุ นในตลาดทุนต่อไป โดยเรายังคงแนะนำสะสมกองทุนในจี นและยุโรป ได้แก่ กองทุนเปิดกรุงศรีไชน่าเอแชร์อิ ควิตี้ (KFACHINA-A) กองทุนเปิดเอ็มเอฟซี ไชน่า อิควิตี้ (MCHINAGD) และกองทุนเปิดเคแทม ยูโรเปียน อิควิตี้ ฟันด์ (KT-EURO) ในขณะที่นักลงทุนที่คาดหวั งผลตอบแทนสูงกว่าตลาดและคุ้ นเคยกับหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี เราแนะนำกองทุนเปิดพรินซิเพิล ไชน่า เทคโนโลยี (Principal CHTECH-A) โดยกลยุทธ์หลักยังเป็ นการกระจายความเสี่ ยงและลดการกระจุกตัวออกจากสหรั ฐฯ และกลุ่มเทคโนโลยีในสหรัฐฯ เป็นหลัก
สัปดาห์นี้ติดตามการตั วเลขเศรษฐกิจสำคัญนำโดยดัชนี ราคาผู้บริโภค (CPI) ของสหรัฐฯ (10 มิ.ย.) ซึ่งหากออกมาสูงกว่าคาดที่ 3.6% (YoY) อาจจะทำให้เกิดความผั นผวนในตลาดหลักทรัพย์อีกครั้ง รวมถึงการประชุมนโยบายการเงิ นของธนาคารกลางยุโรป (ECB) โดยคาดว่าจะยังคงวงเงินการเข้ าซื้อพันธบัตราตามโครงการ (PEPP) เท่าเดิม แต่นักลงทุนจับตาดูท่าทีเกี่ ยวกับการชะลอการซื้อสินทรัพย์ผ่ านโครงการ PEPP ในอนาคต ความคืบหน้าของการประชุม G-7 ที่อังกฤษ ซึ่งมีประเด็นเรื่องของการเก็ บภาษีของบริษัทขนาดใหญ่ระหว่ างประเทศ นอกจากนี้ยังมีการประชุมประจำปี Worldwide Developers Conference (WWDC21) ของ Apple ที่จะเปิดเผยข้อมู ลและแนวการทางพัฒนาใหม่ๆ ซึ่งอาจส่งผลต่อราคาหลักทรัพย์
www.mitihoon.com