วิเคราะห์สถานการณ์ราคาน้ำมัน

138

 

ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ปรับเพิ่ม จากความต้องการใช้น้ำมันฟื้นตัวท่ามกลางอุปทานที่เพิ่มมากขึ้นจากสหรัฐฯ

+  อุปสงค์ได้รับแรงหนุนจากตัวเลขผู้ใช้รถใช้ถนนในสหรัฐฯ และหลายประเทศในยุโรปได้ฟื้นตัวกลับไปสู่ระดับก่อนการแพร่ระบาดเชื้อโควิด-19 จากการผ่อนคลายมาตรการจำกัดการเดินทาง นอกจากนี้องค์การพลังงานระหว่างประเทศ (IEA) คาดการณ์ความต้องการใช้น้ำมันโลกในรายงานประจำเดือน มิ.ย. จะสามารถกลับไปสู่ระดับก่อนการแพร่ระบาดได้ในไตรมาส 4 ปี 65 ซึ่งเร็วขึ้นกว่าที่ดาดการณ์ไว้ในรายงานฉบับก่อนหน้า

+  อุปทานมีแนวโน้มปรับลดจากแท่นขุดเจาะน้ำมันในแคนาดาและทะเล North Sea อยู่ในฤดูการซ่อมบำรุง โดย Rystad คาดปริมาณการหยุดซ่อมในสองแหล่งผลิตจะแตะระดับสูงสุดในเดือน มิ.ย.ที่ 0.7 ล้านบาร์เรลต่อวัน ซึ่งปริมาณน้ำมันดิบที่หายไปจากการซ่อมบำรุงจะสามารถช่วยสมดุลอุปทานที่เพิ่มขึ้นจากกลุ่มโอเปก

– อย่างไรก็ตามปริมาณการผลิตน้ำมันดิบสหรัฐฯ มีแนวโน้มสูงขึ้นจากจำนวนแท่นขุดเจาะน้ำมันดิบสหรัฐฯ ปรับเพิ่ม 6 แท่น สู่ 365 แท่นในสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยสำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐฯ (EIA) คาดปริมาณการผลิตน้ำมันดิบสหรัฐฯ จะปรับเพิ่มขึ้นสู่ 7.8 ล้านบาร์เรลต่อวันในเดือน ก.ค. แตะระดับสูงสุดในรอบ 8 เดือน

ราคาน้ำมันเบนซิน-ปรับตัวเพิ่มขึ้นมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ หลังตลาดได้รับแรงหนุนจากปริมาณการส่งออกน้ำมันเบนซินของจีนและอินเดียปรับลด โดยโรงกลั่น PetroChina ของจีนมีแผนปรับลดการส่งออกน้ำมันเบนซินในเดือน มิ.ย. ลง 18% จากเดือนก่อนหน้า

ราคาน้ำมันดีเซล-ปรับตัวเพิ่มขึ้นน้อยกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ หลังปริมาณความต้องการใช้น้ำมันดีเซลของอินเดียปรับลดลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 8 เดือน แม้ว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อโควิด-19 เริ่มมีทิศทางดีขึ้น

หน่วยวิเคราะห์สถานการณ์ราคาน้ำมัน บมจ. ไทยออยล์

www.mitihoon.com