ปัจจัยที่กระทบต่อราคาน้ำมันดิบในเชิงบวก
- รายงานฉบับเดือน มิ.ย. 64 ของ Energy Information Administration (EIA) คาดการณ์อุปสงค์น้ำมันโลกในปี 2564 เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 41 ล้านบาร์เรลต่อวัน มาอยู่ที่ 97.67 ล้านบาร์เรลต่อวัน และในปี 2565 จะเพิ่มขึ้น 3.64 ล้านบาร์เรลต่อวัน มาอยู่ที่ 101.31 ล้านบาร์เรลต่อวัน
- ธนาคารโลก (World Bank) ปรับประมาณการอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ (GDP) ของโลก ปี 2564 อยู่ที่ 6%
ต่อปี สูงกว่าคาดการณ์ครั้งก่อนซึ่งอยู่ที่ 4.1% ต่อปี โดยได้ปัจจัยสนับสนุนจากการฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่งของเศรษฐกิจ
ในหลายประเทศ อาทิ สหรัฐฯ และจีน - นักลงทุนเพิ่มการลงทุนในตลาดซื้อขายน้ำมันล่วงหน้า ICE รายงานสถานการลงทุนสัญญาน้ำมันดิบ Brent ในตลาดนิวยอร์ค และตลาดลอนดอน สัปดาห์สิ้นสุด วันที่ 8 มิ.ย. 64 กลุ่มผู้จัดการกองทุนปรับสถานะถือครองสุทธิ (Net Long Position) เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อน 23,277 สัญญา มาอยู่ที่ 265,745 สัญญา
ปัจจัยที่กระทบต่อราคาน้ำมันดิบในเชิงลบ
- Baker Huges รายงานจำนวนแท่นขุดเจาะน้ำมันดิบ (Rig Count) ของสหรัฐฯ สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 11 มิ.ย. 64 เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อน 6 แท่น อยู่ที่ 365 แท่น สูงสุดตั้งแต่เดือน เม.ย. 63
แนวโน้มราคาน้ำมัน
ทีมวิเคราะห์ตลาดต่างประเทศ หน่วยธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ได้วิเคราะห์ทางเทคนิคราคาน้ำมันดิบ ICE Brent ในสัปดาห์นี้ มีแนวโน้มเคลื่อนไหวอยู่ระหว่าง 71 – 74 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล เนื่องจากการฟื้นตัวของอุปสงค์น้ำมันในสหรัฐฯ ยุโรป และจีน จากการกระจายวัคซีน COVID-19 ขยายวงกว้างขึ้น ประกอบกับ OPEC+ มีมติคงปริมาณการลดการผลิต ในเดือน ก.ค. 64 ที่ระดับ 5.759 ล้านบาร์เรลต่อวัน โดยจะตัดสินใจเกี่ยวกับนโยบายการลดผลิตของเดือน ส.ค. 64 เป็นต้นไป ในการประชุมวันที่ 1 ก.ค. 64 อย่างไรก็ตามการเจรจาเกี่ยวกับข้อตกลงระงับโครงการนิวเคลียร์ (Joint Comprehensive Plan of Action – JCPOA) ระหว่างอิหร่านกับสหรัฐฯ อาจทำให้อิหร่านสามารถส่งออกน้ำมันสู่ตลาดได้มากขึ้น หากสหรัฐฯ ยกเลิกมาตรการคว่ำบาตร
ทั้งนี้ Goldman Sachs คาดการณ์ว่าราคาน้ำมันดิบ Brent มีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 80 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ภายในเดือน ส.ค. 64 เนื่องจากการกระจายวัคซีนขยายวงกว้างขึ้นช่วยกระตุ้นกิจกรรมทางเศรษฐกิจและเพิ่มความต้องการใช้น้ำมันจากการเดินทางในสหรัฐฯ และยุโรปสูงขึ้น
www.mitihoon.com