มิติหุ้น-นายธีรเศรษฐ์ พรหมพงษ์ นักกลยุทธ์เศรษฐศาสตร์มหภาค บมจ.หลักทรัพย์ เมย์แบงก์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย) ประเมินจากการประชุม FOMC (FEDERAL OPEN MARKET COMMITTEE) เมื่อ 15-16 มิ.ย. ที่ผ่านมา แม้ว่าจะยังไม่มีบทสรุปจุดเริ่มต้นการไถ่ถอน QE อย่างเป็นทางการ แต่สัญญาณจาก Dot Plot บ่งชี้ว่า FED จะปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย 2 ครั้ง ภายในปี 2566 เร็วขึ้นจากประมาณการณ์ในครั้งก่อน ซึ่งถือเป็นปัจจัยกดดัน sentiment การลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยง แต่อย่างไรก็ตามในความผันผวนที่มีโอกาสเกิดขึ้นก็เป็นโอกาสสำหรับหุ้นบางกลุ่ม
1) EXPORT (ELECT/FOOD) ภาพเศรษฐกิจสหรัฐฯที่ฟื้นเร็วกว่าคาดเป็นปัจจัยหนุนค่าเงินดอลลาร์ และในทางกลับกันก็กดดันเงินค่าเงินบาท ได้แก่ HANA แนวโน้มกำไรเด่น จากอุปสงค์ที่ยังแข็งแรงตามเศรษฐกิจโลก ผสานการขยายกำลังผลิตใหม่, KCE แนวโน้มกำไรขยายตัวตามอุตสาหกรรมยานยนต์ คำสั่งซื้อที่ยังแน่นถึงครึ่งปีหลัง และพัฒนาการขยายกำลังผลิตลูกค้าใหม่, TU อาหารทะเลแช่แข็งฟื้นตัวตามการเปิดเมือง เช่นเดียวกับธุรกิจอาหารสัตว์เลี้ยง ที่ Demand โตทั้งในประเทศและส่งออก
2) ENERG ภาวะ Reflation การเร่งตัวของเงินเฟ้อ เศรษฐกิจฟื้นตัว เร็วกว่าคาด เป็นบวกต่อราคาน้ำมันดิบ ได้แก่ PTTEP ได้ประโยชน์โดยตรงจากราคาน้ำมันดิบขาขึ้น Demand เร่งตัวตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก, TOP การเปิดประเทศ การเดินทางระหว่างประเทศ กระตุ้นความต้องการ Jet Fuel มากขึ้น หนุนส่วนต่างเข้าสู่รอบฟื้นตัว, SPRC การเดินทางด้วยรถยนต์ การใช้ชีวิตนอกบ้าน กิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ฟื้น หลังการล็อคดาวน์ เพิ่มความต้องการ Gasoline
3) PROP ดอกเบี้ยขาขึ้นมาเร็วกว่าคาด จะกระตุ้น Demand การซื้ออสังหาฯให้เร่งตัวก่อนดอกเบี้ยของไทยจะปรับขึ้นตาม ได้แก่ AP มี Supply ที่รองรับความต้องการได้เพียงพอ เตรียมเปิดตัวโครงการใหม่ในช่วง 2H64 สูงที่สุดกว่า 4.3 หมื่นล้านบาท, SC เจาะกลุ่มลูกค้าระดับบน ซึ่งกำลังซื้อโดนผลกระทบจาก COVID-19 จำกัด
4) BANKING/INSUR ได้ประโยชน์โดยตรงจากดอกเบี้ยขาขึ้น ได้แก่ KBANK แรงกดดันจาก NIM ที่ต่ำมาเป็นระยะเวลานานจะค่อยๆผ่อนคลายลง อีกทั้งเป็นหุ้นที่ได้ประโยชน์มากที่สุดจากการฟื้นตัวของกลุ่ม SMEs ไทย หลังวิกฤต COVID-19, BKI ได้อานิสงค์บวกในแง่ผลตอบแทนจากการลงทุน และความเสี่ยงการลงทุนต่อ (Reinvestment Risk) ลดลง
อีกประเด็นสำคัญ คือการแถลงการณ์ของนายกฯ เรื่องการส่งสัญญาณเปิดประเทศใน 120 วัน และสถานการณ์ COVID-19 ในไทย ซึ่งสะท้อนถึง 1) เงื่อนไขการเปิดประเทศที่ indicator คือ ประชาชนได้รับวัคซีนเข็มแรกครบ 50 ล้านคน (หรือประมาณ 70%) ซึ่งปัจจุบันฉีดเข็มแรกทั้งสิ้นประมาณ 4.9 ล้านคน ดังนั้น ต้องฉีดให้ได้เฉลี่ยเฉพาะเข็มแรก 3.3 แสนคนต่อวัน เพื่อบรรลุเป้าหมายใน ต.ค. และ 2) ยืนยันการทยอยผ่อนคลายมาตรการควบคุมในประชุม ศบค. ชุดใหญ่ตั้งแต่ศุกร์นี้เป็นต้นไป เป็นบวกต่อกลุ่มภาคบริการ ได้แก่ CENTEL ได้อานิสงค์บวกจากนักท่องเที่ยวต่างชาติกลับมาเร็วขึ้น และฟื้นความเชื่อมั่นคนไทย กระตุ้นการท่องเที่ยวในประเทศ, CPN Pent-up Demand การใช้ชีวิตนอกบ้าน หลังความเชื่อมั่นฟื้น ก้าวผ่านสถานการณ์ COVID-19 ระลอกสาม ที่หนักที่สุด, AU Timeline การเปิดประเทศที่เร็วขึ้น บวกต่อธุรกิจร้านอาหาร ซึ่งน่าจะได้รับการผ่อนคลายเป็นลำดับแรกๆและเร็วขึ้นกว่าเดิม, MAJOR ความต้องการใช้ชีวิตนอกบ้าน ดูหนัง น่าจะเร่งตัวจาก Pent-up Demand และ Supply หนังฮอลีวูดที่เข้ามามากขึ้น และ AOT ได้ประโยชน์โดยตรงจากการเปิดประเทศ ปลดล็อคเที่ยวบินระหว่างประเทศเร่งตัว และคลายแรงกดดันจากส่วนลดค่าเช่า
คำชี้แจงสำคัญ : บมจ. หลักทรัพย์เมย์แบงก์กิมเอ็ง (ประเทศไทย) และ บมจ. โรงแรมเซ็นทรัลพลาซ่า (CENTEL) มีกรรมการบางท่านร่วมกันบมจ. หลักทรัพย์เมย์แบงก์กิมเอ็ง (ประเทศไทย) อาจมีธุรรมร่วมกับ บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) (CPN)
www.mitihoon.com