CPF ร่วมฟื้นทะเลสะอาด เก็บ -คัดแยก-รีไซเคิล เพิ่มมูลค่าขยะจากทะเล

78
มิติหุ้น – บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ  เสริมทัพแก้ปัญหาขยะในทะเล  ผนึกกำลังภาคีเครือข่ายพันธมิตร เรือประมง และชาวประมง คืนท้องทะเลสะอาด รักษาสมดุลระบบนิเวศ สร้างความมั่นคงทางอาหาร  ร่วมปลูกฝังจิตสำนึก  เก็บขยะ คัดแยกขยะ จนถึงการแปรรูปขยะรีไซเคิล  เพื่อเพิ่มมูลค่าและนำกลับมาใช้ประโยชน์ สอดรับแนวทาง SDGs มุ่งมั่นอนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรทางทะเลอย่างยั่งยืน
นายไพโรจน์  อภิรักษ์นุสิทธิ์ รองกรรมการผู้จัดการบริหาร ธุรกิจสัตว์น้ำครบวงจร ซีพีเอฟ กล่าวว่า ในฐานะผู้ผลิตอาหารชั้นนำของไทย ซีพีเอฟ ตระหนักดีว่าทรัพยากรธรรมชาติทางทะเล เป็นต้นทางของวัตถุดิบที่สำคัญในการสร้างความมั่นคงทางอาหาร บริษัทฯจึงให้ความสำคัญกับการทำประมงอย่างรับผิดชอบผ่านการใช้วัตถุดิบปลาป่นที่ยั่งยืนมาจากผลพลอยได้จากการแปรรูปสัตว์น้ำ  การร่วมอนุรักษ์ ปกป้องและฟื้นฟู ผืนป่าชายเลน  สนับสนุนการบริหารจัดการขยะในทะเลที่มีประสิทธิภาพตามแนวทางเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy)  และที่ผ่านมา ยังได้ร่วมสนับสนุนโครงการทะเลสะอาด (Catch the Trash Project) นำโดยกรมประมงและสมาคมประมงแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นโครงการที่ส่งเสริมและรณรงค์ให้ชาวประมงลดการทิ้งขยะลงสู่ทะเล  เก็บขยะจากกิจกรรมประมง ทั้งขยะจากการบริโภคบนเรือ และขยะที่ติดมากับเครื่องมือประมงกลับขึ้นฝั่ง โดยขยะที่รีไซเคิลได้ จะถูกคัดแยกและส่งขายให้กับโรงรับซื้อขยะต่อไป
ซีพีเอฟ  ต่อยอดโครงการทะเลสะอาด โดยมีแนวคิดขยายผลการดำเนินงานให้ครอบคลุมตั้งแต่การเก็บขยะ การคัดแยก การจัดการ  จนถึงการนำขยะมารีไซเคิลเป็นผลิตภัณฑ์ Upcycling เพื่อสร้างมูลค่า โดยเดินหน้าโครงการนำร่อง (Pilot  Project) ประสานความร่วมมือกับโรงงานปลาป่นเจดีพี ในจังหวัดตรังและชาวประมงเก็บขยะจากทะเลคืนฝั่ง  จากการรวบรวมขยะจากเรือประมงที่มาขึ้นท่าพบว่ามีขยะที่รีไซเคิลได้  อาทิ ขวดพลาสติก PET  ขยะประเภทขวดแก้ว  เศษแห เศษอวน  ที่สามารถเพิ่มมูลค่าขยะเหล่านี้ให้กลับมาใช้ประโยชน์ได้ ซึ่งบริษัทฯ สนใจทดลองนำขยะพลาสติกขวด PET ที่เก็บจากทะเล นำมาแปรรูปเป็นเส้นใยพลาสติก ผลิตเป็นเสื้อโปโล รีไซเคิล ซึ่งขณะนี้การผลิตล็อตแรก 500 ตัวจะเตรียมแจกให้พนักงานซีพีเอฟล็อตแรกเดือนกรกฏาคมนี้
“ซีพีเอฟนำขยะที่ชาวประมงเก็บกลับขึ้นฝั่งมารีไซเคิลและนำกลับมาใช้ประโยชน์อีก เป็นโครงการที่ดำเนินการตามหลักการเศรษฐกิจหมุนเวียน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการร่วมแก้ปัญหาปริมาณขยะในทะเล  ร่วมรักษาสมดุลระบบนิเวศทางทะเล สนับสนุนภารกิจของซีพีเอฟในการสร้างความมั่นคงทางอาหาร  สอดรับกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ (SDGs)  ทั้งในเรื่องของอนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากมหาสมุทร ทะเล และทรัพยากรทางทะเลอย่างยั่งยืนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน และบรรลุเป้าหมายการสร้างความมั่นคงทางอาหาร ” นายไพโรจน์ กล่าว

นายไพโรจน์ กล่าวเพิ่มเติมด้วยว่า  ซีพีเอฟมุ่งมั่นมีส่วนร่วมในการจัดการด้านทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืน ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรตลอดกระบวนการผลิตให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยการพัฒนาโมเดลการเลี้ยงกุ้งระบบรีไซเคิลน้ำเพื่อหมุนเวียนใช้ในฟาร์มโดยไม่มีการปล่อยน้ำจากฟาร์มสู่สิ่งแวดล้อม  (Zero Discharge) ลดปริมาณการดึงน้ำจากแหล่งน้ำภายนอกมาใช้ในกระบวนการผลิตและลดการปล่อยน้ำเสีย นอกจากนี้  ซีพีเอฟยังได้ดำเนินโครงการร่วมอนุรักษ์ ปกป้อง และฟื้นฟูผืนป่าชายเลนของประเทศ ดำเนินโครงการ “ซีพีเอฟ ปลูก ปัน ป้อง ป่าชายเลน” โดยผลดำเนินงานระยะที่หนึ่ง (ปี 2557-2561) สามารถอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าชายเลนในพื้นที่ยุทธศาสตร์ 5 จังหวัดได้รวม 2,388 ไร่ ในพื้นที่ จ.ระยอง สมุทรสาคร ชุมพร สงขลา และพังงา และอยู่ระหว่างดำเนินงานอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าชายเลน เข้าสู่ระยะที่ 2 มีเป้าหมายอนุรักษ์ ฟื้นฟู และปลูกป่าใหม่ในพื้นที่จ.สมุทรสาคร ระยอง และตราด เพื่อร่วมคืนสมดุลระบบนิเวศอย่างยั่งยืน./

www.mitihoon.com