มิติหุ้น – วิกฤตการระบาดของโควิด-19 กระทบวิถีการใช้ชีวิตประจำวั นของประชาชน ผู้ประกอบการรายใหญ่ กลาง เล็ก ต้องตัดสินใจปิดกิจการ ลูกจ้างตกงาน คนทำมาค้าขายหาเช้ากินค่ำ ถูกกระทบด้านรายได้อย่างหนัก พื้นที่ท่องเที่ยวเงียบเหงา จากที่เคยมีรายได้จากนักท่องเที่ ยว
ที่ ชุมชนบ้านธรรมชาติล่าง ชุมชนเล็กๆ ตั้งอยู่ในอำเภอแหลมงอบ จังหวัดตราด ชาวบ้านส่วนใหญ่มีอาชีพประมง ทำสวนและบางครัวเรือน มีรายได้จากการให้เช่าที่พัก เพราะที่นี่ เป็นจุดต่อเรือเฟอรี่เพื่อข้ ามไปเกาะช้าง ชาวบ้านที่นี่ได้รั บผลกระทบจากโควิด-19 เช่นกัน แต่ด้วยความเข้มแข็งของชุมชน รวมตัวกันจัดตั้งเป็นวิสาหกิจชุ มชน ทำให้มีอาชีพและรายได้เสริ มรองรับ ช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ ายของครอบครัวได้พอสมควร
ล่าสุด ชุมชนฯรวมตัวจัดตั้ง “กลุ่มวิสาหกิจชุมชนน้ำดื่มบ้ านธรรมชาติล่าง” เดินหน้าแก้ปัญหาคุณภาพของน้ำดื่ ม จนสามารถผลิตน้ำดื่มที่ได้ มาตรฐาน ปลอดภัย เพื่อบริโภคและจำหน่าย ด้วยความเข้มแข็งของชุมชน ประกอบกับได้รับการสนับสนุ นงบประมาณจากหน่วยงานภาครัฐซ่ อมแซมและปรับปรุงอุปกรณ์การผลิ ตน้ำดื่ม ยังได้รับองค์ความรู้การบริ หารจัดการและคำแนะนำที่ได้ จากภาคเอกชน คือ โรงเพาะฟักลูกกุ้งภาคตะวันออก บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ ให้ความช่วยเหลือด้านอุปกรณ์เกี่ ยวกับความปลอดภัยในการทำงาน ชุดปฏิบัติงาน รางลำเลียงถังน้ำ รวมถึงการตรวจคุณภาพทางเคมี และจุลินทรีย์เบื้องต้น รวมทั้งโครงการประชารัฐช่วยด้ านการขยายโครงสร้างฯ สาธารณสุขอำเภอและโรงพยาบาลส่ งเสริมสุขภาพตำบลให้คำแนะนำขั้ นตอนการขอรับรองมาตรฐานคุ ณภาพจากอย. (ได้รับการรับรองมาตรฐานน้ำดื่ม อย.23-2 -01262-6-0001)
นางสาวรวงทอง วรฉัตร หรือต้อม ชาวบ้านในชุมชน ซึ่งมีอาชีพให้เช่าบ้านพักนักท่ องเที่ยว และเป็นหนึ่งในสมาชิกวิสาหกิจชุ มชนน้ำดื่มบ้านธรรมชาติล่าง เล่าว่า เมื่อปี 2551 ชุมชนฯ เคยรวมตัวกันเพื่อผลิตน้ำดื่ มบริโภคและจำหน่าย แต่ตอนนั้นติดปัญหาตะกอนในน้ำ น้ำกร่อย ทำให้ไม่มีตลาดรองรับ จึงล้มเลิกโครงการไป จนเมื่อ 2-3 ปีที่ผ่านมา ทางกลุ่มกองทุนหมู่บ้านธรรมชาติ ล่างได้จัดประชุมกับสมาชิ กและคณะกรรมการฯ โดยเชิญซีพีเอฟเข้าร่วม เพื่อชี้เเจงการจัดตั้งกลุ่มวิ สาหกิจชุมชนน้ำดื่มบ้านธรรมชาติ ล่าง โดยมีเป้าหมายผลิตน้ำดื่มที่มี คุณภาพและได้มาตรฐาน เราอยากทำโครงการผลิตน้ำดื่มให้ สำเร็จ มองว่าเป็นการช่วยสร้างอาชีพ สร้างรายได้ให้คนในชุมชน สำคัญกว่านั้น ชาวบ้านอีกหลายร้อยครัวเรือน ได้บริโภคน้ำดื่มสะอาดและได้ มาตรฐาน
“ขอขอบคุณซีพีเอฟ ที่เข้ามาสนับสนุน ให้คำแนะนำ ความช่วยเหลือด้านอุปกรณ์ที่ใช้ ในโรงผลิตน้ำดื่ม อุปกรณ์อำนวยความสะดวกในการขนส่ ง อุปกรณ์ความปลอดภัย รวมถึงการสนับสนุนด้านต่าง ๆ ที่ทำให้สามารถผลิตน้ำดื่มที่ ได้มาตรฐาน เป็นการสร้างงาน สร้างรายได้ให้กับคนในชุมชน” รวงทอง กล่าว
ปัจจุบัน วิสาหกิจชุมชนบ้านธรรมชาติล่ างมีสมาชิก 98 ราย ปี 2563 ชุมชนมีปริมาณขายน้ำดื่ม 2,100 ถังต่อเดือน (ขนาด 18.9 ลิตร) รายได้รวม 268,000 บาทต่อปี โดยรายได้จากการจำหน่ายน้ำดื่ม 10 % นำเข้ากองทุนของชุมชน และในปี 2564 (ม.ค. – มิ.ย.) มีปริมาณยอดขายน้ำดื่มเพิ่มขึ้ นเป็น 2,300 ถังต่อเดือน หรือเพิ่มขึ้น 110 % มีรายได้สะสมแล้ว 154,700 บาท โดยมีโรงเพาะฟักลูกกุ้งภาคตะวั นออกของซีพีเอฟ ที่เป็นลูกค้าประจำออเดอร์น้ำดื่ มชุมชนเดือนละ 1,000-1,500 ถัง ที่เหลือเป็นออเดอร์จากชาวบ้าน ที่สามารถซื้อน้ำได้ในราคาถังละ 12 บาท ส่วนผู้สูงอายุและผู้มีรายได้น้ อยในชุมชนสามารถซื้อน้ำดื่มได้ ในราคาถังละ 10 บาท
“ตั้ว”หรือนายพงศ์พัทธ์ เสริฐศรี อายุ 18 ปี กำลังศึกษาชั้น ม.6 โรงเรียนแหลมงอบวิทยา จ.ตราด เป็นอีกคนหนึ่งที่มารับจ้างขนน้ำ ดื่มส่งให้ชาวบ้านในชุมชนทุกวั นอาทิตย์ เล่าว่า วันจันทร์-ศุกร์ต้องไปเรียน จึงมารับจ้างขนน้ำได้แค่วันอาทิ ตย์วันเดียว มีหน้าที่ล้างถังและช่วยยกน้ำส่ งในบ้าน เคยขนน้้ำส่งตามบ้านได้สูงสุด 300 ถัง/วัน รายได้เฉลี่ย 300-400 บาท ช่วยแบ่งเบาภาระของแม่ที่ต้ องให้เงินตนไปโรงเรียนทุกวัน แต่แม่ก็จะบอกให้ตนเก็บเงินที่ ได้จากการรับจ้างขนน้ำดื่มสำหรั บเป็นเงินออม ตอนนี้ทำงานมาได้ 2-3 ปีแล้ว ภูมิใจที่แม้ยังเรียนอยู่ก็ สามารถหารายได้ได้เอง ขอบคุณซีพีเอฟที่สนับสนุนคนในชุ มชนให้มีงานทำ มีอาชีพ มีรายได้จากอาชีพที่ชุ มชนเราทำเอง ไม่ต้องออกไปทำงานไกลบ้าน ชาวบ้านก็ได้บริโภคน้ำดื่มสะอาด ราคาถูก ดีต่อสุขภาพ
ตั้ว บอกด้วยว่า ในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของโควิ ด-19 ไม่มีผลกระทบต่อปริมาณออเดอร์ที่ ชาวบ้านสั่งน้ำดื่ม แต่การขนส่งน้ำต้องมีการระมั ดระวังตัวเองมากขึ้น ทั้งใส่หน้ากากอนามัย สวมถุงมือ พกแอลกอฮอล์ติดรถไว้ตลอดเวลา เพื่อลดความเสี่ยงของตั วเองและลูกค้าที่สั่งน้ำดื่ม
นางอุทิศ พวงนาค อายุ 53 ปี อาชีพรับจ้างกรีดยาง กล่าวว่า ตนและพี่เขยมีอาชีพหลักคือรับจ้ าง และมีอาชีพที่เป็นรายได้เสริ มจากโครงการผลิตน้ำดื่มของชุมชน ช่วยบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายของที่ บ้านได้พอสมควร โดยในแต่ละสัปดาห์ทุกวันอั งคารและวันศุกร์จะไปส่งน้ำให้ โรงเพาะฟักลูกกุ้งของซีพีเอฟ และวันอาทิตย์เป็นวันที่ออกส่ งน้ำให้ชาวบ้าน แต่ละครั้งที่ออกไปส่งน้้ำจะช่ วยกันประมาณ 4 คน ตั้งแต่ยกถัง ล้างถัง นำถังใส่เครื่องปั่นเพื่ อทำความสะอาดด้านใน กรอกน้ำ ยกถังที่กรอกน้ำแล้วขึ้นรถ จนถึงขนถังน้ำลงจากรถเพื่อส่ งตามบ้าน ขอบคุณซีพีเอฟที่เข้ามาสนับสนุ นกิจกรรมผลิตน้ำดื่มของชุมชน ช่วยให้ชาวบ้านมีอาชีพและมี รายได้เสริม
“โครงการน้ำดื่มชุมชน” ยังเป็นโครงการที่ได้รับรางวั ลระดับ Gold Pitch จากการจัดประกวดรางวั ลสามประโยชน์สู่ความยั่งยืน (CPF CSR Awards 2021) ในรอบ CSR Pitching Contest 2021 ที่ซีพีเอฟสนับสนุนให้พนักงานคิ ดสร้างสรรค์โครงการที่เป็ นประโยชน์ต่อชุมชนและสังคม ตามกลยุทธ์ 3 เสาหลักสู่ความยั่งยืนขององค์กร คือ อาหารมั่นคง สังคมพึ่งตน และดินน้ำป่าคงอยู่ มีคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จากภายนอกและผู้บริหารของซีพี เอฟ ร่วมพิจารณาคัดเลือกให้ “โครงการน้ำดื่มชุมชน” ได้รับรางวัลดังกล่าว เป็นโครงการที่ส่งเสริมการพึ่ งพาตนเอง
กลุ่มวิสาหกิจชุมชนน้ำดื่มบ้ านธรรมชาติล่าง วางแผนต่อยอดโครงการผลิตน้้ำดื่ ม ด้วยการพัฒนาแบรนด์และบรรจุภั ณฑ์ เป็นน้ำดื่มบรรจุขวด สร้างโอกาสในการขยายช่ องทางขายใหม่ อาทิ ภัตตาคาร ร้านอาหาร มินิมาร์ท โรงแรมและรีสอร์ท รวมไปถึงการขยายช่องทางการขายผ่ านออนไลน์ เป็นโมเดลสร้างงาน สร้างอาชีพ ยกระดับคุณภาพชีวิตชุมชน พึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน ./
🚩🚩ห้อง Official Line ห้องไลน์ฟรี มิติหุ้น ทันทุกสถานการณ์การลงทุน หุ้นเด่น หุ้นเด็ดตลอดวัน กับห้องไลน์ @mitihoonwealth ห้องไลน์ที่นักลงทุนเข้าเป็นสมาชิกฟรี ไม่มีเงื่อนไข เพียงคลิกลิงค์นี้ก็เข้าได้เลย และสามารถส่งต่อให้เพื่อนได้