เคทีซีผลักดันกลุ่มธุรกิจสินเชื่อพาคนไทยฝ่าวิกฤติเศรษฐกิจ โชว์พลังความร่วมมือแบบไฮบริด

31

มิติหุ้น –  นางสาวพิชามน  จิตรเป็นธรรม  ผู้ช่วยประธานเจ้าหน้าที่บริหารธุรกิจสินเชื่อบุคคล เคทีซี หรือ บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ยาวนานเกือบสองปี ส่งผลต่อการใช้ชีวิตของผู้คนทั้งในเชิงบวกและเชิงลบ แม้ว่าผู้บริโภคยังมีความต้องการสินเชื่อเพื่อเสริมสภาพคล่องในการใช้จ่ายสิ่งจำเป็นเพื่อการดำรงชีพก็ตาม การทำธุรกิจสินเชื่อบุคคลในปี 2564 ไม่ใช่เรื่องง่ายและท้าทายสูงที่จะผลักดันให้พอร์ตลูกหนี้เติบโตท่ามกลางวิกฤต ควบคู่ไปกับการบริหารคุณภาพลูกหนี้ให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ อย่างไรก็ตาม เคทีซีมุ่งรักษาเสถียรภาพของคุณภาพพอร์ตลูกหนี้เป็นสำคัญ จึงปรับเกณฑ์การอนุมัติให้รัดกุมขึ้น ทำให้ครึ่งปีแรกยอดลูกหนี้ธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคล ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2564 อยู่ที่ 29,480 ล้านบาท (อุตสาหกรรม 637,849 ล้านบาท) ลดลง 2.5% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ด้วยจำนวนสมาชิก 802,971 บัญชี สัดส่วนการตลาดอยู่ที่ 4.6% และ NPL เท่ากับ 3.0% (อุตสาหกรรม 3.5%) โดยคาดว่าสิ้นปีนี้จะรักษาพอร์ตลูกหนี้ได้ใกล้เคียงกับปีก่อน”  

“สำหรับการดำเนินงานกลุ่มธุรกิจสินเชื่อของเคทีซีในช่วงครึ่งปีหลัง ยังต้องจับตาดูสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 อย่างใกล้ชิด เพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับความไม่แน่นอนที่อาจเกิดขึ้น โดยแผนงานธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลที่ไม่มีหลักประกันจะประกอบด้วย เป้าหมายหลักคือ 1) การมุ่งช่วยเหลือสมาชิกสินเชื่อที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในหลากหลายรูปแบบตามความเหมาะสม เน้นการเข้าถึงและแสดงเจตจำนงค์ที่สะดวก โดยสามารถลงทะเบียนได้ง่ายผ่านเว็บไซต์เคทีซี www.ktc.co.th  2) แบ่งเบาสมาชิกด้วยโครงการเคลียร์หนี้เกลี้ยงต่อเนื่อง โดยซีซันที่ 12 นี้ เมื่อสมาชิกลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรม ใช้บัตรกดเงินและมีวินัยในการชำระคืนตรงเวลา จะได้รับสิทธิ์เคลียร์หนี้เกลี้ยง 100% และเคลียร์หนี้ 10% ตลอดทั้งปี”  

3) มุ่งพัฒนาผลิตภัณฑ์ต่อเนื่องให้สมาชิกมีประสบการณ์ใช้สินเชื่อที่สะดวกสบาย ปลอดภัย ลดการสัมผัสเงินสด โดยพัฒนาการโอนเงินออนไลน์ผ่านแอปฯ “KTC Mobile” ไปยัง 13 ธนาคารแบบเรียลไทม์ตลอด 24 ชั่วโมง การ ขอเพิ่มวงเงินฉุกเฉินผ่านระบบอัตโนมัติ IVR ได้ง่ายๆ รวมทั้งสามารถนำบัตรกดเงินสดไปใช้งานได้ทั้ง ฟังก์ชัน “รูด โอน กด ผ่อน” 4) การขยายฐานสมาชิกสินเชื่อรายใหม่ โดยมีเป้าหมายในการเพิ่มสัดส่วนสมาชิกสินเชื่อ “เคทีซี พราว” (KTC PROUD) ไปยังกลุ่มลูกค้าที่มีฐานรายได้สูงขึ้นและต้องการใช้เงินก้อนใหญ่ ด้วยแคมเปญแบ่งเบาภาระ ลดดอกเบี้ยเหลือเพียง 0.93% ผ่อนได้นานถึง 36 เดือน และล่าสุดได้อัพเกรดผลิตภัณฑ์ “สินเชื่อทะเบียนรถมอเตอร์ไซค์ พร้อมบัตรกดเงิน เคทีซี พี่เบิ้ม” ครบฟังก์ชันรูดโอนกด ซึ่งนับเป็นครั้งแรกของวงการสินเชื่อไทยที่มีการออกผลิตภัณฑ์ลักษณะนี้ เพื่อให้คนไทยที่ไม่สามารถเข้าถึงแหล่งสินเชื่อได้มีเงินทุนหมุนเวียนในการต่อยอดใช้จ่ายสิ่งจำเป็น เหมาะสำหรับผู้มีรถมอเตอร์ไซค์และมีเล่มทะเบียนเป็นชื่อตนเอง ชูจุดเด่นของผลิตภัณฑ์ “กู้ง่าย ได้ไว อนุมัติรับเงินก้อนใหญ่พร้อมบัตรกดเงินสด” โดยที่สมาชิกสามารถนำรถมอเตอร์ไซค์ไปใช้ต่อได้ อีกทั้งยังรับวงเงินสินเชื่อแบบหมุนเวียน และเบิกถอนวงเงินจากบัตรกดเงินสดเพื่อใช้ยามฉุกเฉินได้เพิ่มเติม เมื่อมีการชำระเงินและมีประวัติชำระที่ดี โดยสามารถใช้บัตรกดเงินรูดซื้อสินค้า โอนเงินเข้าบัญชีธนาคารแบบเรียลไทม์ และกดเงินสดที่ตู้เอทีเอ็มได้ ไม่มีค่าธรรมเนียม” 

นางสาวเรือนแก้ว  เกษมสวัสดิ์ศรี ผู้อำนวยการ-ธุรกิจสินเชื่อ “เคทีซี พี่เบิ้ม” กล่าวถึงภาพรวมของอุตสาหกรรมสินเชื่อรถยนต์และรถจักรยานยนต์ในช่วงครึ่งปีแรกว่า “ธุรกิจสินเชื่อที่มีทะเบียนรถเป็นประกัน (จำนำทะเบียน) สิ้นสุดไตรมาส มียอดลูกหนี้ 158,493 ล้านบาท โดยสถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคาร (นอนแบงค์) ถือครองตลาดเป็นหลักด้วยสัดส่วนประมาณ 82% ของยอดสินเชื่อทั้งหมด และธุรกิจสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์ (Hire Purchase) สิ้นสุดไตรมาส มียอดลูกหนี้ 1,176,279 ล้านบาท โดยมีธนาคารพาณิชย์ถือครองตลาดเป็นหลัก ด้วยสัดส่วนประมาณ 70% ของยอดสินเชื่อทั้งหมด” 

“ด้วยสภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวจากวิกฤตโควิด-19 ทำให้ตลาดสินเชื่อมีความไม่แน่นอนและเปราะบางสูง ทั้งจากนโยบายภาครัฐ ประกอบกับพฤติกรรมและไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตของผู้คนที่เปลี่ยนไป ท้าทายให้เราต้องปรับตัว โดยในช่วงครึ่งปีที่ผ่านมา พอร์ตสินเชื่อ “เคทีซี พี่เบิ้ม” อาจไม่เป็นไปตามคาดด้วยปัจจัยต่างๆ แต่เชื่อว่าความต้องการสินเชื่อในตลาดยังมีอีกเป็นจำนวนมาก เราจึงต้องค้นหาและสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์และบริการที่น่าสนใจ มานำเสนอให้กับลูกค้าอย่างทั่วถึงและตรงใจ โดยจะเน้นการปล่อยสินเชื่อด้วยความระมัดระวัง เพื่อให้พอร์ตเติบโตแบบค่อยเป็นค่อยไป มากกว่าที่จะโตเร็วแล้วมีความเสี่ยง โดยยังคงตั้งเป้าเติบโตสิ้นปีนี้ที่ 1,000 ล้านบาท” 

“สำหรับแผนกลยุทธ์ของธุรกิจสินเชื่อมีหลักประกันในช่วงครึ่งปีหลังนี้ เคทีซีได้ปรับตัวให้พร้อมรับมือกับสถานการณ์มากขึ้น และคาดว่าจะมีแนวโน้มที่ดีขึ้นด้วย เรื่องหลักคือ 1) ขยายขอบเขตพอร์ตผลิตภัณฑ์สินเชื่อให้มีความหลากหลายครอบคลุมกลุ่มลูกค้ามากขึ้น จากการมีกรุงไทยธุรกิจ ลีสซิ่ง (KTBL) เข้ามาเสริมทัพ ทำให้เราสามารถนำเสนอสินเชื่อทะเบียนรถแบบโอนเล่ม การทำรีไฟแนนซ์สินเชื่อทะเบียนรถ และการทำสินเชื่อรถยนต์มือสอง ซึ่งจะเริ่มในช่วงไตรมาส ของปีนี้  2) การเซ็นสัญญาแบบดิจิทัล นำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในขั้นตอนการสมัครและอนุมัติสินเชื่ออย่างต่อเนื่องตามหลักการของดิจิทัล ทวิน (Digital Twin) โดยตั้งแต่ปลายไตรมาส ที่ผ่านมา “เคทีซี พี่เบิ้ม” ได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำสัญญาเป็นแบบดิจิทัล ไม่ต้องใช้เอกสารและเซ็นสัญญาบนกระดาษอีกต่อไป ลดขั้นตอนการสมัครอยู่ที่ประมาณ 1.5 ชั่วโมง สะดวกปลอดภัยและลดการสัมผัส  3) ขยายพื้นที่ให้บริการครอบคลุมทั่วประเทศภายในปีนี้ โดยจะผูกไปกับสาขาของธนาคารกรุงไทยทุกภูมิภาค และผนึกกำลังเข้ากับสาขาเครือข่ายของ KTBL จะยิ่งช่วยให้ขยายได้รวดเร็วขึ้น 4) ทำให้จุดแข็งของเคทีซี พี่เบิ้ม เป็นที่รู้จักและเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายมากขึ้น ด้วยความโดดเด่นของผลิตภัณฑ์ที่มาพร้อม จุดแข็ง วงเงินใหญ่ อนุมัติใน ชั่วโมง และรับเงินทันที รับสมัครสมาชิกไม่จำกัดอาชีพ และบริการพี่เบิ้ม เดลิเวอรี่ (P Berm Delivery) อนุมัติสินเชื่อถึงที่ ไม่มีวันหยุด ซึ่งเป็นจุดขายที่แตกต่างจากผู้ประกอบการรายอื่น”  

“เคทีซี พี่เบิ้ม” ยังยืนยันเจตนารมย์สนับสนุนช่วยเหลือคนไม่ท้อทุกกลุ่มอาชีพ โดยเฉพาะในช่วงที่เศรษฐกิจชะลอตัวเช่นนี้ กลุ่มขวัญใจ “เคทีซี พี่เบิ้ม” จะเป็นกลุ่มที่ได้รับความเดือดร้อนสูง ได้แก่ พ่อค้าแม่ค้า เจ้าของกิจการขนาดเล็ก และกลุ่มอาชีพอิสระ โดยจะเน้นการเข้าถึงสินเชื่อที่ง่าย วงเงินใหญ่ เอกสารไม่ยุ่งยาก เงื่อนไขหลักประกันน้อย ไม่จำกัดอายุรถ ผ่อนไม่หมดก็สามารถขอสินเชื่อได้ รวมถึงการปรับเงื่อนไขผลิตภัณฑ์ให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้น เข้าถึงกลุ่มลูกค้าที่หลากหลาย อาทิ เจ้าของรถติดไฟแนนซ์ และเจ้าของรถยนต์ที่มีข้อจำกัดจากสถาบันการเงินอื่น”

นางสาวพิชามนกล่าวเพิ่มเติมถึงการช่วยเหลือสมาชิกจากโควิด19 ว่า “เคทีซีได้นำเสนอแนวทางช่วยเหลือที่เหมาะสมกับความหลากหลายของสมาชิก และสอดคล้องกับนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทย เพื่อการก้าวผ่านวิกฤตนี้ไปด้วยกัน โดยมีกลุ่มลูกหนี้ทุกผลิตภัณฑ์เข้าร่วมมาตรการช่วยเหลือกับเคทีซี ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2564 รวม 21,564 บัญชี ด้วยยอดหนี้คงค้างชำระที่ 1,545 ล้านบาท และมีสมาชิกทุกผลิตภัณฑ์ขอพักชำระหนี้ เดือน รวม 13,370 ราย ณ วันที่ 15 สิงหาคม 2564

🚩🚩ห้อง Official Line ห้องไลน์ฟรี มิติหุ้น ทันทุกสถานการณ์การลงทุน หุ้นเด่น หุ้นเด็ดตลอดวัน กับห้องไลน์ @mitihoonwealth ห้องไลน์ที่นักลงทุนเข้าเป็นสมาชิกฟรี ไม่มีเงื่อนไข เพียงคลิกลิงค์นี้ก็เข้าได้เลย และสามารถส่งต่อให้เพื่อนได้

https://lin.ee/cXAf0Dp