วิจัยกรุงศรีชี้เศรษฐกิจเสี่ยงหดตัวในไตรมาส 3 ผลกระทบจากการระบาดระลอกสามของไวรัสสายพันธุ์เดลต้า ด้านธปท.เร่งช่วยเหลือลูกหนี้ SMEs และรายย่อย

194

มิติหุ้น – วิจัยกรุงศรีรายงานว่า การใช้จ่ายในประเทศและการผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนกรกฎาคมได้รับผลกระทบมากขึ้นจากการระบาดของ COVID-19 ที่รุนแรง  โดยดัชนีการบริโภคภาคเอกชนเดือนกรกฎาคมลดลงมากจากเดือนก่อน (-5.3% MoM sa) ตามกำลังซื้อที่อ่อนแอลง กิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ถูกจำกัดจากมาตรการควบคุมการระบาดที่เข้มงวดขึ้น รายได้และความเชื่อมั่นผู้บริโภคลดลง ด้านดัชนีการลงทุนภาคเอกชนลดลงจากเดือนก่อนเช่นกัน (-3.8%)

โดยลดลงทั้งในหมวดเครื่องจักรและอุปกรณ์ และหมวดก่อสร้าง สอดคล้องกับอุปสงค์ที่ซบเซาและความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจที่อ่อนแอ อีกทั้งยังได้รับผลกระทบเพิ่มเติมจากมาตรการควบคุมการระบาดในพื้นที่ก่อสร้างที่เข้มงวดขึ้น ขณะที่ภาคส่งออกยังเติบโตได้แต่มีอัตราที่ชะลอลง เนื่องจากการแพร่ระบาดที่รุนแรงขึ้นในบางประเทศคู่ค้าทำให้ความต้องการสินค้าลดลง  สำหรับดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมลดลงมากจากเดือนก่อน (-5.1%) เนื่องจากอุปสงค์ทั้งในและต่างประเทศอ่อนแอลง กอปรกับการแพร่ระบาดในบางโรงงานทำให้ต้องหยุดการผลิตชั่วคราว ส่วนภาคท่องเที่ยว แม้เริ่มเปิดโครงการภูเก็ตแซนบ็อกซ์ในเดือนกรกฎาคมแต่ยังมีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเพียง 18,056 คน ซึ่งต่ำกว่าระดับปกติอยู่มาก

https://www.krungsri.com/getmedia/64b0d167-db1a-4bd2-9cef-77a076e73ea5/wk-210907-f4.jpg.aspx

วิจัยกรุงศรีประเมินเศรษฐกิจในไตรมาส ของปีนี้มีความเสี่ยงสูงที่จะกลับมาติดลบจากไตรมาสก่อน ซึ่งจะนับเป็นการติดลบครั้งแรกตั้งแต่ไตรมาส ปีที่แล้ว จากการระบาดที่รุนแรงของ COVID-19 จากไวรัสสายพันธุ์เดลต้าที่แพร่ กระจายรวดเร็วตั้งแต่ต้นเดือนกรกฎาคมและลากยาวกว่าคาด ทำให้ต้นเดือนสิงหาคมทางการประกาศขยายมาตรการควบคุมการระบาดที่เข้มงวดเพิ่มเป็น 29 จังหวัดพื้นที่สีแดงเข้ม  

ทั้งนี้ จากการประเมินผลกระทบจากวิกฤต COVID-19 หากไม่มีมาตรการรัฐเพิ่มเติม คาดว่าธุรกิจราว 27.6% ของจำนวนธุรกิจทั้งหมด จะประสบปัญหาสภาพคล่อง จนนำไปสู่ความเสี่ยงของการเลิกกิจการ ทำให้แรงงาน 9.3 ล้านคนมีความเสี่ยงที่จะถูกเลิกจ้างหรือลดเงินเดือน ล่าสุดแม้ทางการจะได้เริ่มปรับมาตรการควบคุมการระบาดในบางกิจการ/กิจกรรมกลับมาดำเนินการได้บ้างภายใต้เงื่อนไขที่กำหนดมีผลตั้งแต่วันที่ กันยายนที่ผ่านมา แต่โดยภาพรวมแล้วยังต้องอยู่ภายใต้พื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวดอยู่  จึงคาดว่ากิจกรรมทางเศรษฐกิจในหลายภาคธุรกิจและการจ้างงานยังคงซบเซาแม้อาจเห็นการฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไปในช่วงที่เหลือของปีก็ตาม

ธปท.ปรับมาตรการทางการเงินเพิ่มเติมเพื่อช่วยเหลือลูกหนี้ สะท้อนการมุ่งเน้นใช้นโยบายการเงินที่ตรงกลุ่มเป้าหมายเป็นสำคัญ ล่าสุดธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท).ร่วมกับสมาคมธนาคารไทยชี้แจงมาตรการสนับสนุนการช่วยเหลือลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของ COVID-19 เพิ่มเติม เพื่อบรรเทาผลกระทบให้กับลูกหนี้ได้มากขึ้นในสถานการณ์ที่การระบาดยังคงยืดเยื้อ โดยมาตรการเพิ่มเติมประกอบด้วย

(i)                  มาตรการรักษาสภาพคล่องและเติมเงินใหม่ให้กับลูกหนี้ SMEs และรายย่อย อาทิ การปรับปรุงหลักเกณฑ์สินเชื่อฟื้นฟู เพื่อให้ผู้ประกอบการ SMEs เข้าถึงสินเชื่อได้มากขึ้น รวมถึงการผ่อนปรนหลักเกณฑ์เกี่ยวกับสินเชื่อรายย่อยเป็นการชั่วคราว ในส่วนของบัตรเครดิต และสินเชื่อส่วนบุคคล

(ii)                มาตรการแก้ไขหนี้เดิมอย่างยั่งยืน โดยผ่อนคลายหลักเกณฑ์การจัดชั้นและการกันเงินสำรองเพื่อสนับสนุนให้สถาบันการเงินมุ่งเน้นการปรับโครงสร้างหนี้ระยะยาวที่เหมาะสมแก่ลูกหนี้แต่ละราย เริ่มมีผลตั้งแต่วันที่ กันยายน

ผลกระทบจากการระบาดของ COVID-19 ที่รุนแรงและมาตรการควบคุมการระบาดที่เข้มงวด เป็นผลให้เศรษฐกิจซบเซาลงมาก กระทบต่อภาคธุรกิจและครัวเรือนไทยในวงกว้าง ซึ่งจากข้อมูลของกรมพัฒนาธุรกิจการค้าและข้อมูลการสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือนพบว่า ธุรกิจใน 29 จังหวัดพื้นที่สีแดงเข้ม มีทั้งหมด 615,813 ราย (คิดเป็น 76.6% ของจำนวนธุรกิจทั้งหมด) และสร้างรายได้ประมาณ 93% ของรายได้รวมทั้งประเทศ ส่วนด้านแรงงานใน 29 จังหวัดนั้น มีประมาณ 18 ล้านคน โดยเป็นกลุ่มที่มีรายได้น้อยถึงปานกลาง 8.8 ล้านคน (24% ของแรงงานทั้งหมด) ทั้งนี้ มาตรการทางการเงินที่เพิ่มเติมดังกล่าวคาดว่าจะสามารถช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของลูกหนี้โดยเฉพาะกลุ่มที่เปราะบาง นอกจากนี้ ยังสะท้อนการดำเนินนโยบายการเงินของทางการที่เน้นการแก้ปัญหาที่เฉพาะเจาะจงสอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมายมากขึ้น

🚩🚩ห้อง Official Line ห้องไลน์ฟรี มิติหุ้น ทันทุกสถานการณ์การลงทุน หุ้นเด่น หุ้นเด็ดตลอดวัน กับห้องไลน์ @mitihoonwealth ห้องไลน์ที่นักลงทุนเข้าเป็นสมาชิกฟรี ไม่มีเงื่อนไข เพียงคลิกลิงค์นี้ก็เข้าได้เลย และสามารถส่งต่อให้เพื่อนได้

https://lin.ee/cXAf0Dp