ตารางราคาน้ำมันเฉลี่ยรายสัปดาห์ [เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ] | |||||
น้ำมันดิบ | น้ำมันสำเร็จรูป | ||||
เบรนท์ (ICE Brent) |
เวสท์เท็กซัสฯ (NYMEX WTI) |
ดูไบ (Dubai) | เบนซิน ออกเทน 95 |
ดีเซล | |
ราคา | 82.94 | 81.78 | 81.65 | 101.84 | 94.83 |
เปลี่ยนแปลง | -2.06 | -1.71 | -1.57 | -2.99 | -1.52 |
ราคาน้ำมันย้อนหลัง 15 วัน
ราคาน้ำมันดิบเฉลี่ยสัปดาห์ที่แล้วปรับตัวลดลง โดยราคา NYMEX WTI และ Dubai ลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 8 สัปดาห์ หลังธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) มีมติปรับลดมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) โดยลดวงเงินซื้อสินทรัพย์ลงทุกเดือน เดือนละ 15,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ต่อเดือน จากระดับปัจจุบันที่ 120,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ต่อเดือน ซึ่งจะเริ่มปรับลดวงเงินในเดือน พ.ย. 64 และสิ้นสุดในเดือน มิ.ย. 65 ทั้งนี้ Fed ตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย (Fed Funds Rate) ที่ระดับ 0-0.25% จนกว่าระดับการจ้างงานในสหรัฐฯ จะเพิ่มขึ้นถึงระดับที่เหมาะสม โดยล่าสุดกระทรวงแรงงานสหรัฐฯ รายงานยอดจ้างงานนอกภาคเกษตร (Nonfarm payrolls) ในเดือน ต.ค. 64 เพิ่มขึ้น 219,000 ราย จากเดือนก่อนหน้า มาอยู่ที่ 531,000 ราย สูงกว่านักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้น 138,000 ราย จากเดือนก่อนหน้า ขณะที่อัตราการว่างงาน (Unemployment Rate) ปรับตัวลง 0.2% จากเดือนก่อนหน้า สู่ระดับ 4.6% ต่ำสุดตั้งแต่เดือน มี.ค. 63 และต่ำกว่านักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าจะอยู่ที่ระดับ 4.7%
อย่างไรก็ตาม ตลาดคาดว่าอุปทานน้ำมันดิบมีแนวโน้มตึงตัวต่อเนื่อง หลังผลการประชุมวันที่ 4 พ.ย. 64 ของกลุ่ม OPEC และพันธมิตร (OPEC+) มีมติเพิ่มปริมาณการผลิตน้ำมันดิบ ในเดือน ธ.ค. 64 ที่ระดับ 400,000 บาร์เรลต่อวัน ต่อเดือน คงเดิมจากข้อตกลงในเดือน ก.ค. 64 ท่ามกลางแรงกดดันจากประเทศผู้บริโภคน้ำมันรายใหญ่ของโลก อาทิ สหรัฐฯ จีน และอินเดีย ที่เรียกร้องให้เพิ่มปริมาณการผลิตน้ำมันให้ทันกับการฟื้นตัวของการใช้น้ำมันโลก
ด้านเทคนิค สัปดาห์นี้ราคา ICE Brent มีแนวโน้มอยู่ในกรอบ 80 – 86 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล และมีโอกาสที่ ICE Brent จะขึ้นไปทดสอบแนวต้านสำคัญ คือ 87 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล
ปัจจัยที่กระทบต่อราคาน้ำมันดิบในเชิงบวก
กลุ่ม OPEC และพันธมิตร (OPEC+) มีมติเพิ่มปริมาณการผลิตน้ำมันดิบ ในเดือน ธ.ค. 64 ที่ระดับ 400,000 บาร์เรลต่อวัน ต่อเดือน คงเดิมจากข้อตกลงในเดือน ก.ค. 64 ท่ามกลางแรงกดดันจากประเทศผู้บริโภคน้ำมันรายใหญ่ของโลก อาทิ สหรัฐฯ จีน และอินเดีย ที่เรียกร้องให้เพิ่มปริมาณการผลิตน้ำมันให้ทันกับการฟื้นตัวของการใช้น้ำมันโลก
ปัจจัยที่กระทบต่อราคาน้ำมันดิบในเชิงลบ
สำนักวิเคราะห์ Energy Aspects ประเมินว่าสหรัฐฯ มีแนวโน้มระบายน้ำมันจากคลังสำรองน้ำมันทางยุทธศาสตร์ (Strategic Petroleum Reserve: SPR) ซึ่งประธานาธิบดีมีอำนาจอนุมัติปริมาณ 30 ล้านบาร์เรล เพื่อบรรเทาปัญหาราคาน้ำมันแพง หากราคาน้ำมันดิบ Brent สูงกว่าระดับ 85 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล
🚩🚩ห้อง Official Line ห้องไลน์ฟรี มิติหุ้น ทันทุกสถานการณ์การลงทุน หุ้นเด่น หุ้นเด็ดตลอดวัน กับห้องไลน์ @mitihoonwealth ห้องไลน์ที่นักลงทุนเข้าเป็นสมาชิกฟรี ไม่มีเงื่อนไข เพียงคลิกลิงค์นี้ก็เข้าได้เลย และสามารถส่งต่อให้เพื่อนได้