ตลาดคาดว่า FED จะขึ้นดอกเบี้ย 2 ครั้งในปีหน้า แนะกลุ่ม Bank (SCB KBANK)

203

มิติหุ้น-วันศุกร์ที่ผ่านมาสหรัฐรายงานตัวเลขเงินเฟ้อประจำเดือน พ.ย. +6.8%YoY +0.8%MoM ส่วน Core CPI +4.9%YoY +0.5%MoM ด้านเงินเฟ้อทั่วไปหลักๆแล้วยังเป็นผลจากราคาพลังงาน +33%YoY , น้ำมันเบนซิน +58%YoY ส่วนเงินเฟ้อพื้นฐาน (Core CPI) หลักๆผลจากรถยนต์ใหม่รถมือสองและรถบรรทุก ภายหลังเสร็จสิ้นการแถลงข้อมูลพบ Dow Jones +0.6% ,

อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐอายุ 2 และ 10 ปีปรับตัวลงบ่งชี้ว่าตลาดค่อนข้างผ่อนคลายมากขึ้นกับเรื่องของเงินเฟ้อ โดยสัปดาห์นี้ปัจจัยหลักๆจะเป็นการประชุม FED ในวันที่ 14-15 ธ.ค. ซึ่งค่อนข้างมีความสำคัญเนื่องจากจะเป็นการประชุมที่เปิดเผยทั้งแนวโน้มดอกเบี้ยในระยะถัดไป ตัวเลขเศรษฐกิจ รวมถึงการลดวงเงิน QE ข้อมูลล่าสุดจากประธาน FED เริ่มเผยถึงแนวโน้มที่อาจจะลดวงเงิน QE มากกว่า 1.5 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐต่อเดือน ขณะเดียวกันหากนำข้อมูลจาก Bloomberg Consensus มาพิจารณาความเห็นของนักลงทุนต่อทิศทางดอกเบี้ยจะพบว่าตลาดคาดว่าในปี 22 FED จะปรับขึ้นดอกเบี้ยราว 2 ครั้ง

ดังนั้นหากผลประชุมมีมติลดวงเงิน QE ที่สูงกว่า 1.5 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐและมีแผนจะขึ้นดอกเบี้ย 2 ครั้งในปีหน้าก็เชื่อว่าผลกระทบต่อตลาดจำกัด อย่างไรก็ตามหากส่งสัญญาณที่เข้มงวดกว่าตลาดคาดหมายไว้ก็อาจเป็นปัจจัยกดดันบรรยากาศการลงทุนทั่วโลกได้แต่กับ SET INDEX เชื่อว่าผลจำกัดทั้งทางบวกและทางลบเนื่องจากช่วงที่ FED ทำ QE เม็ดเงินเหล่านั้นมิได้เข้ามาแต่อย่างใด ส่วนอุตสาหกรรมที่ได้ประโยชน์เชิงจิตวิทยามองไปยังธนาคาร (BBL KBANK SCB) ประกัน (BLA)

ส่วนปัจจัยอื่นๆระหว่างสัปดาห์จะไม่ค่อยมีปัจจัยอะไรโดดเด่นแม้จะมีประชุมของธนาคารกลางอื่นๆอาทิ ECB ในวันศุกร์แต่เชื่อว่าผลกระทบจาก FED จะสูงกว่ารวมถึงประชุม ศบค. ชุดใหญ่วันจันทร์แต่ก็เชื่อว่าไม่ผลกับการลงทุนมากนัก ดังนั้นประเมินว่าทิศทางดัชนีจะแกว่งในกรอบแคบๆระหว่างรอผลประชุม FED แต่หากผลประชุมเป็นไปตามตลาดคาดก็จะยิ่งส่งผลให้การเคลื่อนไหวทั้งสัปดาห์เป็นอย่างจำกัด คาดกรอบเคลื่อนไหว 1610 – 1635

กลยุทธ์การลงทุนแนะถือต่อเนื่องหลังแนะทยอยสะสมไปก่อนหน้า หรือสะสมใน Domestic Play อาทิ ค้าปลีก (BJC CRC CPALL DOHOME GLOBAL HMPRO) ธนาคาพาณิชย์ (BBL KBANK SCB) ร้านอาหาร (M) โรงภาพยนตร์ (MAJOR) ท่องเที่ยว (MINT) สื่อนอกบ้าน (VGI) เครื่องดื่ม (CBG TACC) ปั๊มน้ำมัน (PTG)

SCB (ซื้อ / ราคาเป้าหมาย 149 บาท) คาดกำไรสุทธิจะกลับมาเติบโตแข็งแกร่ง 29% YoY ในปี 2021 และฟื้นตัวต่อเนื่อง 15-12% YoY ในปี 2022-23 ผลบวกจากเศรษฐกิจฟื้นต้นเปิดประเทศทำให้การใช้จ่ายของลูกฟื้นตัวขึ้นและความเสี่ยงหนี้เสียลดลง

KBANK (ซื้อ / ราคาเป้าหมาย 174 บาท) คาดว่ากำไรจะฟื้นตัวตั้งแต่ 4Q21 ตามการขยายสินเชื่อกลุ่มธุรกิจและ SME หลังจากคลายล็อกดาวน์ นอกจากนี้ ธนาคารจะได้รับประโยชน์สูงสุดจากการเปิดประเทศอีกครั้งในปี2022 เนื่องจากมีพอร์ตสินเชื่อ SMEและสินเชื่อที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยวสูง และจะได้รับประโยชน์จากแพลตฟอร์มสินเชื่อดิจิทัลภายใต้ KBTG ในการขยายฐานสินเชื่อรายย่อย

🚩🚩ห้อง Official Line ห้องไลน์ฟรี มิติหุ้น ทันทุกสถานการณ์การลงทุน หุ้นเด่น หุ้นเด็ดตลอดวัน กับห้องไลน์ @mitihoonwealth ห้องไลน์ที่นักลงทุนเข้าเป็นสมาชิกฟรี ไม่มีเงื่อนไข เพียงคลิกลิงค์นี้ก็เข้าได้เลย และสามารถส่งต่อให้เพื่อนได้

https://lin.ee/cXAf0Dp