ยีลด์กิลด์เกม เปิดตัว YGG SEA องค์กร SubDAO ระดับภูมิภาครายแรกกวาดเงินระดมทุนมูลค่า 15 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในรอบ Private Roundsตั้งเป้าตีตลาดไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
โดยได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มนักลงทุนสถาบันชั้นนำต่างๆ เช่น UOB Ventures Management และ BRI Ventures ซึ่งเป็นบริษัทร่วมลงทุน (Venture Capital) ของธนาคาร Rakyat Indonesia ในการสนับสนุนกิลด์ผู้เล่นเกมเพื่อหารายได้ (play-to-earn guild) ระดับภูมิภาค
ยีลด์กิลด์เกม เอเชียตะวันตกเฉียงใต้ หรือ YGG SEA เป็นองค์กร subDAO ระดับภูมิภาค รายแรกจาก ยีลด์กิลด์เกม หรือ YGG (Yield Guild Games) กิลด์เกมบล็อกเชนแบบกระจายศูนย์ (DAO) โดยล่าสุด YGG SEA เปิดระดมทุน 2 รอบและสามารถระดมทุนรวมมูลค่าสูงถึง 15 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (คิดเป็นเงินไทยประมาณ 500 ล้านบาท) เพื่อสนับสนุนระบบการเล่นเกมเพื่อหารายได้หรือเพลย์-ทู-เอิร์น (play-to-earn gaming) ทั่วภูมิภาคเอเชียตะวันตกเฉียงใต้รวมถึงประเทศไทย ซึ่งในระยะเริ่มต้น YGG SEA วางแผนเตรียมเจาะตลาดไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย เวียดนาม และสิงค์โปร์ ก่อนจะขยายตลาดไปยังประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคต่อไป
การระดมทุนในรอบ seed round เกิดขึ้นเมื่อเดือนสิงหาคม 2564 ที่ผ่านมา นำทีมโดย YGG และ Infinity Ventures Crypto และต่อมาเมื่อเดือนพฤศจิกายนก็ได้จัดการระดมทุนอีกครั้งในรอบ private round นำทีมโดยสถาบันการเงินและบริษัทลงทุนชั้นนำต่าง ๆ มากมาย ได้แก่ Crypto.com, Animoca Brands, MindWorks Ventures, Poloniex, Jump Capital, Sembrani Kiqani โดย BRI Ventures ร่วมด้วย Circle, Digital Currency Group, Hashed, Polygon, Bukalapak, United Overseas Bank (UOB) Venture Management, Arca Funds, Evernew Capital, OKEx, Blockdream Ventures, Yolo Ventures, SevenX Ventures, LongHash Ventures, Hashkey Group, Morningstar Ventures, Rise Capital, Dialectic, SweeperDAO, PetRock Capital, DNC Ventures, FBG Capital และ Emfarsis
“การสนับสนุนแบรนด์คู่แข่งและส่งเสริมระบบนิเวศสตาร์ทอัพโดยรวม ถือเป็นหัวใจสำคัญของกองทุน Sembrani Kiqani ประกอบกับกระแสเมตาเวิร์ส (Metaverse) ที่ได้รับความสนใจจากผู้คนจำนวนมากในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รวมถึงไทย จึงเป็นเหตุผลที่ทำให้ Sembrani Kiqani ตัดสินใจร่วมเป็นพันธมิตรกับ YGG SEA” คุณ Marcel Lukman ผู้ร่วมก่อตั้งและหุ้นส่วนของกองทุน Sembrani Kiqani กล่าว โดยกองทุนนี้ออกโดยบีอาร์ไอ เวนเจอร์ส เน้นเจาะกลุ่มสตาร์ทอัพที่อยู่ในช่วงเริ่มต้นธุรกิจในกลุ่ม direct-to-consumer หรือ D2C ซึ่งเป็นกลุ่มสินค้าและบริการที่เข้าถึงผู้บริโภคโดยตรงโดยไม่ผ่านตัวกลาง
การระดมทุนในครั้งนี้จะช่วยให้ YGG SEA สามารถตอบโจทย์ชุมชนเกมทั่วภูมิภาคได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ โดยจะเน้นสนับสนุนกิลด์เกมแบบเพลย์-ทู-เอิร์น ที่ถูกพัฒนาขึ้นในแต่ละประเทศ และการจัดสรรสินทรัพย์ในเกมเพื่อผลประโยชน์ของเหล่าผู้เล่นในกิลด์เป็นหลัก
โดยตลอดช่วงเวลาที่ผ่านมา YGG SEA ช่วยสร้างรายได้ให้กับคนกว่า 2,500 คนในภูมิภาคนี้ รวมถึงกว่า 600 คนในประเทศไทย และตั้งเป้าที่จะขยายฐานสมาชิกผู้เล่นให้ถึง 10,000 ราย ภายในปี 2565 ที่จะถึงนี้
YGG SEA นำทีมโดยคุณ Even Spytma ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้ร่วมก่อตั้ง ซึ่งมีประสบการณ์คร่ำหวอดในวงการสตูดิโอเกมมายาวนานกว่า 20 ปี เคยร่วมงานกับบริษัทเกมชั้นนำอย่าง Unity Technology และ Electronic Arts (EA) มาแล้ว นอกจากนี้ยังมีผู้บริหารที่ร่วมก่อตั้งกับคุณ Spytma ได้แก่ คุณ Dan Wang ซึ่งก่อนหน้านี้เคยทำงานตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายปฏิบัติการที่ Riot Games ในประเทศจีน และคุณ Irene Umar จาก Discovery Nusantara Capital หรือบริษัทร่วมทุนด้านเกมจากประเทศอินโดนีเซีย มาเสริมทัพ
คุณ Gabby Dizon ผู้ร่วมก่อตั้ง YGG กล่าวเพิ่มเติมว่า “หลังจากที่ YGG เปิดตัวไปทั่วโลก องค์กร subDAO ต่าง ๆ เช่น YGG SEA ถือเป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญในกลยุทธ์การขยายตลาดของ YGG เพราะองค์กรเหล่านี้มีความรู้และเครือข่ายในท้องถิ่นเป็นอย่างดี ยิ่งไปกว่านั้น ทีมงานที่อยู่เบื้องหลังการเปิดตัว YGG SEA นั้น มีประสบการณ์ความเชี่ยวชาญในการผลักดันการนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาใช้ในภูมิภาค อีกทั้งมีความต้องการในการเล่นเกมแบบเพลย์-ทู-เอิร์น เพิ่มขึ้นมากมายทั่วทั้งเอเชียอย่างไม่น่าเชื่อ”
ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีผู้คนอาศัยอยู่กว่า 700 ล้านคนใน 11 ประเทศ และยังถือเป็นอีกหนึ่งภูมิภาคที่มียอดการทำธุรกรรมคริปโตสูงที่สุดในโลก โดยเมื่อเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา 4 ใน 10 ประเทศแรกที่มีจำนวนผู้ใช้งานกระเป๋าเงินดิจิทัล Metamask สูงสุดนั้นคือประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ โดยส่วนใหญ่จะใช้ร่วมกันกับเกม Axie Infinity และเกมเพลย์-ทู-เอิร์น อื่น ๆ เพื่อเป็นช่องทางในการหารายได้เสริมในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19
คุณ Evan Spytma ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้ร่วมก่อตั้ง YGG SEA กล่าวเสริมว่า “ในฐานะองค์กร subDAO แรกของ YGG เรากำลังบุกเบิกหนทางสำคัญเพื่อผลประโยชน์ของประเทศต่าง ๆ ที่มีการทำธุรกรรม NFT มากที่สุดในโลก รวมถึงในประเทศไทยที่สินทรัพย์ NFT กำลังเป็นที่จับตามองและได้รับความสนใจอย่างกว้างขวางจากกลุ่มนักลงทุนและชุมชนผู้เล่นเกมในขณะนี้ ขณะเดียวกันความต้องการในการเล่นเกมเพลย์-ทู-เอิร์นในประเทศต่าง ๆ ก็พุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ซึ่งเป็นภูมิภาคที่มีความหลากหลาย การมีองค์กร subDAO อย่าง YGG SEA จึงเป็นเรื่องสำคัญมาก เพราะเรามีทีมงานที่มีความเชี่ยวชาญและความเข้าใจในความต้องการของแต่ละท้องถิ่น รวมถึงความแตกต่างหลากหลายในแต่ละวัฒนธรรม เพื่อการสร้างชุมชนผู้เล่นเกมและนักลงทุนระดับภูมิภาค้ตั้งแต่จุดเริ่มต้นไปจนขยายตลาดให้เติบโตยิ่งขึ้นต่อไปได้”
—
เกี่ยวกับ ยีลด์กิลด์เกม เอเชียตะวันตกเฉียงใต้ (YGG SEA)
ยีลด์กิลด์เกม เอเชียตะวันตกเฉียงใต้ หรือ YGG SEA (https://yggsea.io/) เป็นองค์กร subDAO อย่างเป็นทางการขององค์กรอัตโนมัติแบบกระจายศูนย์ ยีลด์กิลด์เกม ซึ่งเปิดตัวครั้งแรกเมื่อเดือนกรกฎาคม 2564 ที่ผ่านมา YGG SEA ใช้ประโยชน์จากโครงสร้างพื้นฐานและสินทรัพย์ต่าง ๆ ของ YGG เพื่อยกระดับการบริการทั่วภูมิภาคเพื่อก้าวเข้าสู่โลกจักรวาลนฤมิตรหรือเมตาเวิร์ส (Metaverse) ผ่านการลงทุนสำหรับตลาดแต่ละประเทศ รวมถึงการให้ความรู้ และบริการอื่น ๆ ในสถานการณ์จริง
เกี่ยวกับ ยีลด์กิลด์เกม (YIELD GUILD GAMES: YGG)
ยีลด์กิลด์เกม (https://yieldguild.io/) เป็นกิลด์เกมบล็อกเชนแบบกระจายศูนย์ซึ่งระดมทุนจากนักลงทุนเพื่อซื้อโทเค็นแบบ NFT (Non-Fungible Token) ที่สามารถสร้างรายได้ และยังช่วยให้ผู้เล่นเกมประหยัดแรงและเวลาในการเพิ่มประสิทธิภาพสินทรัพย์ของชุมชนผู้เล่นเกมเพื่อประโยชน์ใช้สอยสูงสุดและการแบ่งปันรายได้กับผู้ลงทุน ด้วยการผนวกรวม NFTs เข้ากับระบบการเงินแบบไร้ศูนย์กลาง (Decentralized Finance: DeFi) YGG มุ่งมั่นที่จะสร้างคุณค่าให้แก่เหล่าสมาชิกด้วยการสร้างสรรค์เนื้อหาคอนเทนต์และระบบเศรษฐกิจของโลกเสมือนจริง (Virtual Worlds) และเกมต่าง ๆ บนเทคโนโลยีบล็อกเชน
สารคดีขนาดสั้นชื่อว่า “เพลย์-ทู-เอิร์น: เกม NFT ในประเทศฟิลิปปินส์” (Play-to-Earn: NFT Gaming in the Philippines) ที่ถูกปล่อยออกมาในช่วงเดือนพฤษภาคม 2564 บอกเล่าเรื่องราวของชุมชนในชนบทแห่งหนึ่งที่สร้างรายได้จากเกมแนวเพลย์-ทู-เอิร์นในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 สารคดีเรื่องนี้ถูกสร้างขึ้นภายใต้ความร่วมมือระหว่าง YGG, Delphi Digital และ Emfarsis Consulting แสดงให้เห็นถึงวิธีการที่ NFT และสกุลเงินดิจิทัลต่าง ๆ ได้ส่งมอบโอกาสทางการเงินที่เข้ามาพลิกโฉมชีวิตผู้คนทั้งเด็กและผู้ใหญ่ในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาให้เปลี่ยนแปลงไป หลังต้องประสบปัญหาไม่มีงานทำและมาตรการเยียวยาวิกฤติที่ยังจำกัดอยู่ในวงแคบ
เกี่ยวกับ BRI Ventures
บีอาร์ไอ เวนเจอร์ส (BRI Ventures) (https://www.briventures.id/) เป็นบริษัทผู้เชี่ยวชาญการลงทุนในเครือธนาคาร PT Bank Rakyat Indonesia (Persero) Tbk หรือ Bank BRI ซึ่งเป็นหนึ่งในธนาคารที่ใหญ่ที่สุดในอินโดนีเซีย และมีฐานลูกค้าด้านสินเชื่อไมโครไฟแนนซ์ (Microfinance) รวมกว่า 30 ล้านคน บีอาร์ไอ เวนเจอร์ส มีบทบาทหน้าที่ในการเร่งสร้างโอกาสการเข้าถึงบริการทางการเงินอย่างทั่วถึงและสร้างสังคมเศรษฐกิจดิจิทัลในอินโดนีเซียด้วยการส่งเสริมการเติบโตของระบบนิเวศสตาร์ทอัพ (Startup Ecosystem) ที่เอื้อต่อการประกอบธุรกิจ โดยมีกองทุน Sembrani Kiqani ซึ่งออกโดยบีอาร์ไอ เวนเจอร์ส เน้นเจาะกลุ่มสตาร์ทอัพที่อยู่ในช่วงเริ่มต้นธุรกิจในกลุ่มสินค้าและบริการที่เข้าถึงผู้บริโภคโดยตรงโดยไม่ผ่านตัวกลาง (direct-to-consumer: D2C)
@mitihoonwealth
https://lin.ee/cXAf0Dp