“ภาษีคริปโต” Cryptocurrency คำนวณยังไง รายได้แบบไหนบ้างที่ต้องเสียภาษี ?

559

มิติหุ้น-พระราชกําหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 ซึ่งระบุรายละเอียดในเนื้อหาว่า ..

สินทรัพย์ดิจิทัลหากมีกำไรหรือมีผลตอบแทนที่ได้จากการลงทุนจะต้องเสียภาษีหัก ณ ที่จ่าย ‘ร้อยละ 15’ ของกำไร และบุคคลที่มีเงินได้จากการซื้อขายคริปโตฯ จะต้องยื่นแบบแสดงการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดย พระราชกําหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 19) พ.ศ. 2561 ได้หมายเหตุ : เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกําหนดฉบับนี้ …

ในปัจจุบันได้มีการถือหรือครอบครองโทเคนดิจิทัล หรือการซื้อขายหรือแลกเปลี่ยน คริปโตเคอร์เรนซี (Cryptocurrency) หรือ โทเคนดิจิทัล ซึ่งเงินได้จากกรณีดังกล่าวเป็นเงินได้พึงประเมินที่ต้องนํามารวมคํานวณเพื่อเสียภาษี แต่โดยที่ยังไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายเพื่อการจัดเก็บ ภาษีคริปโตเคอร์เรนซี เงินได้จาก คริปโตเคอร์เรนซี หรือ โทเคนดิจิทัล เป็นการเฉพาะเป็นเหตุให้รัฐไม่สามารถจัดเก็บภาษีได้ครบถ้วน

ดังนั้น เพื่อให้การจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในกรณีดังกล่าวเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ จึงมีความจําเป็นที่ต้องแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากรให้เหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบัน และโดยที่เป็นกฎหมายเกี่ยวด้วยภาษีอากรซึ่งจะต้องได้รับการพิจารณาโดยด่วนและลับเพื่อรักษาประโยชน์ของแผ่นดิน จึงจําเป็นต้องตราพระราชกําหนดนี้

แบบไหนต้องเสีย “ภาษีคริปโต” เริ่มต้นด้วยหลักการของกฎหมาย 3 ข้อ คือ

1. ส่วนแบ่งกำไรที่ได้ต้องเสียภาษี
2. ผลประโยชน์ที่เกิดจากการโอนต้องเสียภาษี
3. ให้ผู้จ่ายเงินได้หัก 15% เมื่อมีการจ่ายเงินได้ และหักแล้วไม่สามารถใช้สิทธิ Final TAX

กรณีเป็นเงินได้จากต่างประเทศจะไม่ต้องเสียภาษีในประเทศไทย

1. อยู่ในไทยในปีนั้นไม่ถึง 180 วัน
2. ไม่ได้นำเงินได้เข้ามาในปีที่เกิดเงินได้

*คำแนะนำ ถ้าหากเทรดที่ต่างประเทศแล้วถือกำไรไว้ เอาเข้ามาปีถัดไป จะไม่ต้องเสียภาษีนั่นเอง

เทรดที่ไทย ตีความรายได้เป็น 3 ทาง ดังนี้

1. กรณีที่เทรด (กำไรจากการแลกเปลี่ยน) สรรพากรตีความว่าคิดตาม Transaction ที่มีกำไร โดยไม่ให้นำขาดทุนที่เกิดขึ้นมาหักออกได้เลย และหากมีการซื้อขายที่กระดานเทรด (Exchange) หากเกิดรายได้ (กำไร) เมื่อไร ก็ถือว่าเป็นรายได้ทันที โดยที่ไม่จำเป็นต้องถอนเงินออกมาเข้าบัญชีธนาคาร

2. กรณีที่รับผลตอบแทน (ล็อกเหรียญ / Staking) มองเหมือนการได้ดอกเบี้ยจากเงินฝากธนาคาร ผลตอบแทนต้องนำมาเสียภาษีเงินได้บุคคลด้วยเช่นกัน โดยทั้งข้อ 1 – 2 ถือเป็นเงินได้ประเภทที่ 4

3. กรณีขุด (Mining) จะถือเป็นเงินได้ประเภทที่ 8 เหมือนการผลิตสินค้าเพื่อขาย โดยจะเป็นรายได้ ก็ต่อเมื่อมีการขายให้กับทางผู้ซื้อแล้วเท่านั้น และให้หักต้นทุนค่าใช้จ่ายตามจริงได้ (ไม่มีสิทธิหักเหมา)

*หากผู้จ่ายมีการจ่ายเงินได้ให้ผู้รับเงิน ก็ต้องหักภาษี 15% ตามที่กฎหมายกำหนดไว้

วิธีการคำนวณรายได้

-ซื้อ 100,000 ขาย 150,000 (+กำไร 50,000)

ซื้อ 150,000 ขาย 20,000 (-ขาดทุน 130,000)

= เสียภาษีจาก กำไร 50,000 บาท

▫️-ฝาก 100,000 ผลตอบแทน 10% (+ได้เพิ่ม 10,000)= เสียภาษีจาก 10,000 บาท▫️
-ขุด 100,000 ต้นทุน XXX กำไร XXX = เสียภาษี เมื่อมีการขาย

ทั้งนี้ กฎหมายกำหนดให้ผู้จ่ายเงินได้หัก 15% เมื่อมีการจ่าย


วิธีกรอกแบบการยื่นภาษี ดังนี้..

(1). กรณีการยื่นแบบภาษีออนไลน์ เข้าไปที่เว็บไซต์ E-FILING : https://efiling.rd.go.th/

(2). ในหน้า กรอกเงินได้ จะมีหัวข้อ รายได้จากการลงทุน “ดอกเบี้ย เงินปันผลจากบริษัทต่างประเทศ ประโยชน์ใด ๆ จาก คริปโตเคอร์เรนซี หรือ โทเคนดิจิทัล เงินเพิ่มทุน เงินลดทุน (มาตรา 40(4)) คลิก ระบุข้อมูล

(3). กรอกเป็นรายการ ประเภทธุรกิจ (ประเภทของเงินได้) เงินได้ทั้งหมด ภาษีหัก ณ ที่จ่าย เลขผู้จ่ายเงินได้

#cgs #cgsec #countrygroup

ที่มา: ติดตามอ่านบทความดีๆ รวมทุกด้านครบวงจร เนื้อหาสาระอีกมากมายกับ CGS

🚩🚩ห้อง Official Line ห้องไลน์ฟรี มิติหุ้น ทันทุกสถานการณ์การลงทุน หุ้นเด่น หุ้นเด็ดตลอดวัน กับห้องไลน์ @mitihoonwealth ห้องไลน์ที่นักลงทุนเข้าเป็นสมาชิกฟรี ไม่มีเงื่อนไข เพียงคลิกลิงค์นี้ก็เข้าได้เลย และสามารถส่งต่อให้เพื่อนได้

https://lin.ee/cXAf0Dp