‘บมจ.ซีวิลเอนจีเนียริง’ หรือ CIVIL กำหนดราคาเสนอขายหุ้น IPO ที่ 4.60 บาทต่อหุ้น

169

มิติหุ้น   –   ‘บมจ.ซีวิลเอนจีเนียริง’ หรือ CIVIL ผู้นำด้านงานก่อสร้างและวิศวกรรมโยธาแบบครบวงจรของไทย กำหนดราคาเสนอขาย IPO หุ้นละ 4.60 บาท พร้อมเปิดให้นักลงทุนจองซื้อวันที่ 19-21 ม.ค. นี้ ชูนวัตกรรมเทคโนโลยีเสริมศักยภาพการดำเนินงานในทุกกลุ่มธุรกิจ พร้อมหลักบริหารจัดการสมัยใหม่และการเป็นเจ้าของโรงงานผลิตชิ้นส่วนวัสดุเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารต้นทุน หนุนกำไรขั้นต้นและอัตราการทำกำไรสุทธิสูงกว่าค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรม เดินแผนสร้างสมดุลประเภทและขนาดโครงการทั้งขนาดเล็กจนถึงขนาดใหญ่จากงานก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมและสาธารณูปโภคของภาครัฐ พร้อมต่อยอดงานภาคเอกชน และเสริมฐานความแกร่งในธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับรับเหมาก่อสร้าง ก้าวสู่บริษัทก่อสร้างชั้นนำที่มีการเติบโตอย่างยั่งยืน ช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิต ขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมไทย 

             CIVIL ได้ลงนามในสัญญาแต่งตั้งบริษัทหลักทรัพย์บัวหลวง จำกัด (มหาชน) เป็นผู้จัดการการจัดจำหน่ายและรับประกันการจำหน่าย พร้อมแต่งตั้งบริษัทหลักทรัพย์ กรุงไทย ซีมิโก้ จำกัด เป็นผู้จัดจำหน่ายและรับประกันการจำหน่ายหุ้นสามัญเพิ่มทุนแก่ประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก (IPO)

นายปิยะดิษฐ์ อัศวศิริสุข ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร CIVIL กล่าวว่า บริษัทฯ เป็นผู้นำด้านวิศวกรรมโยธาและงานก่อสร้างแบบครบวงจร ที่มีประสบการณ์ความชำนาญมากกว่า 50 ปี จากการพัฒนาโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่และโครงสร้างพื้นฐานสำคัญของประเทศมาแล้วมากกว่า 1,000 โครงการ ครอบคลุมตั้งแต่ งานทาง   งานรถไฟรางคู่และรถไฟความเร็วสูง งานท่าอากาศยาน เขื่อนและอ่างเก็บน้ำ นิคมอุตสาหกรรมและงานก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานอื่นๆ เป็นต้น โดยตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา CIVIL ได้ส่งมอบผลงานก่อสร้างที่มีคุณภาพ ปลอดภัย ภายใต้งบประมาณที่กำหนด จึงได้รับความไว้วางใจจากหน่วยงานราชการขึ้นทะเบียนเป็นผู้รับเหมาขั้นสูงสุดในด้านต่างๆ สะท้อนศักยภาพบริหารโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ที่มีประสิทธิภาพของ CIVIL พัฒนาคุณภาพชีวิต ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมเติบโตยั่งยืน     

ความสำเร็จดังกล่าว มาจากข้อได้เปรียบเชิงการแข่งขันของ CIVIL ที่ให้ความสำคัญกับ ESG เพื่อการพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืน ด้วยความพร้อมของบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมโยธา เครื่องจักรอุปกรณ์และเป็นเจ้าของโรงงานผลิตชิ้นส่วนวัสดุส่วนก่อสร้าง 11 แห่ง ตั้งอยู่ในจุดยุทธศาสตร์ของประเทศ ช่วยสนับสนุนการบริหารจัดการต้นทุนโครงการที่ดี และที่สำคัญได้นำนวัตกรรมเทคโนโลยีสมัยใหม่ส่งผลต่อขีดความสามารถการแข่งขันในทุกด้าน เช่น นำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศช่วยวางแผน ติดตามและวิเคราะห์ต้นทุนก่อสร้างตั้งแต่ต้นจนจบโครงการ พร้อมใช้เทคโนโลยีอุปกรณ์เครื่องจักรทันสมัยที่เหมาะสม เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารโครงการ ทำให้เกิด Economy of Speed ลดระยะเวลาและต้นทุนดำเนินโครงการ รวมถึงนำหลักบริหารจัดการสมัยใหม่ เน้นความคล่องตัว (Agility) และความยืดหยุ่น (Resilience) เพิ่มความสามารถบริหารงานก่อสร้างได้หลากหลายทั้งประเภทและขนาดโครงการ สร้างสมดุลแก่การดำเนินงานกลุ่มธุรกิจก่อสร้างและบริหารโครงการก่อสร้าง ให้เอื้อต่อการสร้างผลตอบแทนการดำเนินงานโครงการที่ดี 

เช่นเดียวกับธุรกิจผลิตและจำหน่ายวัสดุก่อสร้าง บริษัทฯ ได้นำเทคโนโลยีมาใช้ภาคการผลิตของโรงงานชิ้นส่วนคอนกรีตสำเร็จรูป คอนกรีตผสมเสร็จ แอสฟัลท์ติกคอนกรีต คอนกรีตอัดแรงและราวเหล็กลูกฟูกกันรถและท่อระบายน้ำ ตลอดจนการได้รับการต่ออายุสัมปทานบัตรการทำเหมืองหินปูน เป็นวัตถุดิบหลักในงานก่อสร้างและผลิตปูนซีเมนต์ ทำให้ CIVIL มีความได้เปรียบเชิงบริหารต้นทุนโครงการก่อสร้างที่ดี และยังสร้างโอกาสเติบโตที่ดีจากการจำหน่ายชิ้นส่วนวัสดุก่อสร้างให้แก่คู่ค้าของบริษัทฯ ขณะที่กลุ่มธุรกิจให้บริการอสังหาริมทรัพย์และให้เช่าเครื่องมือเครื่องจักร ที่ให้เช่าพื้นที่อาคารสำนักงานและเครื่องมือเครื่องจักร ก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการดำเนินธุรกิจและให้พันธมิตรทางธุรกิจร่วมเติบโตไปด้วยกัน และสอดคล้องกระแส Sharing Economy ของโลก

นายปิยะดิษฐ์ กล่าวว่า บริษัทฯ พัฒนาขีดความสามารถการดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง เพื่อก้าวสู่บริษัทก่อสร้างชั้นนำที่มีการเติบโตอย่างยั่งยืน โดยนำศักยภาพการดำเนินธุรกิจของ CIVL ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตและร่วมผลักดันเศรษฐกิจไทยขยายตัวต่อเนื่อง พร้อมใช้เทคโนโลยีและวิธีการก่อสร้างสมัยใหม่ ด้วยเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่มีความทันสมัยช่วยบริหารโครงการให้มีประสิทธิภาพ เพิ่มโอกาสเข้าบริหารงานก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่จากภาครัฐเพิ่มเติม ทั้งรูปแบบเข้าประมูลโครงการและจับมือพันธมิตรธุรกิจเพื่อร่วมบริหารโครงการให้มีประสิทธิภาพสูงสุด หรือร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและเอกชน (PPP) ที่ช่วยสร้างความมั่นคงด้านกระแสเงินสดให้แก่การดำเนินธุรกิจอย่างมั่นคงและยั่งยืน 

ทั้งนี้ บริษัทฯ นำจุดแข็งต่อยอดสู่กลุ่มลูกค้าภาคเอกชนและสร้างโอกาสรับงานบริหารโครงการที่หลากหลาย เพิ่มอัตราผลตอบแทนการบริหารโครงการก่อสร้างให้สูงขึ้น และพร้อมขยายไปสู่ธุรกิจเกี่ยวเนื่องกับธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง ตอบสนองต่อความต้องการอุตสาหกรรมที่อยู่ในช่วงขยายตัวและสร้างสมดุลของรายได้ให้แก่การดำเนินธุรกิจของ CIVIL ให้ดีที่สุด  

นายโกวิท เนื่องสุข ประธานเจ้าหน้าที่สายงานบัญชีและการเงิน CIVIL กล่าวว่า ผลการดำเนินงานปี 2562  2563   ประสบความสำเร็จในการผลักดันการเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยมีรายได้รวม 3,210 ล้านบาทในปี 2562 และเพิ่มเป็น 4,130 ล้านบาทในปี 2563 ขณะที่ในช่วง เดือนแรกของปี 2564 (มกราคมกันยายน) มีรายได้รวม 3,736 ล้านบาท เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2563 ที่มีรายได้รวม 2,999 ล้านบาท โดยสัดส่วนรายได้มาจากกลุ่มธุรกิจรับเหมาก่อสร้างมากกว่าร้อยละ 90 ของรายได้รวม ซึ่งมีอัตราขยายตัวอย่างโดดเด่นจาก 2,950 ล้านบาทในปี 2562 เพิ่มเป็น 3,752 ล้านบาทในปี 2563 และช่วง เดือนแรกของปี 2564 รายได้จากกลุ่มธุรกิจรับเหมาก่อสร้างอยู่ที่ 3,532 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีรายได้ 2,719 ล้านบาท คิดเป็นการเติบโต 30% โดยมีมูลค่าสัญญางานโครงการก่อสร้างที่รอส่งมอบ (Backlog) รวมถึงโครงการที่เป็นผู้เสนอราคาต่ำสุดถึงสิ้นเดือนธันวาคม 2564 ประมาณ 16,800 ล้านบาท สะท้อนศักยภาพการดำเนินธุรกิจและโอกาสเติบโตที่ดีของบริษัทฯ ในอนาคต  

ขณะเดียวกัน ความสามารถในการทำกำไรขั้นต้นและอัตราการทำกำไรสุทธิในกลุ่มธุรกิจรับเหมาก่อสร้างของ CIVIL ยังโดดเด่น ซึ่งสูงกว่าอัตราเฉลี่ยของบริษัทในอุตสาหกรรมก่อสร้างที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ โดยมีอัตราการทำกำไรขั้นต้นอยู่ที่ร้อยละ 14.60 ในปี 2562 และร้อยละ 9.28 ในปี 2563 ส่วน เดือนแรกปี 2564 มีอัตราการทำกำไรขั้นต้นอยู่ที่ร้อยละ 11.08 ตอกย้ำแนวทางการบริหารความหลากหลายโครงการช่วยสร้างสมดุลระหว่างมูลค่าโครงการและผลตอบแทนและการจัดสรรทรัพยากรขององค์กรให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด และใช้ข้อเปรียบเชิงการแข่งขันในทุกด้านเพื่อเพิ่มความรวดเร็วและความแม่นยำในการดำเนินโครงการ ทำให้บริหารจัดการต้นทุนที่ดี เป็นผลให้มีกำไรสุทธิในปี 2562 อยู่ที่ 141 ล้านบาท และ 87 ล้านบาทในปี 2563 และในช่วง เดือนแรกของปี 2564 อยู่ที่ 170 ล้านบาท หรือคิดเป็นอัตรากำไรสุทธิร้อยละ 4.38 ร้อยละ 2.10 และร้อยละ 4.56 ตามลำดับ    

นายพิเชษฐ สิทธิอำนวย กรรมการผู้อำนวยการ บริษัทหลักทรัพย์ บัวหลวง จำกัด (มหาชน) ในฐานะที่ปรึกษาทางการเงินและผู้จัดการการจัดจำหน่ายและรับประกันการจำหน่าย กล่าวว่า จากการนำเสนอข้อมูลแผนดำเนินงานและศักยภาพการเติบโตของ CIVIL ต่อกลุ่มนักลงทุนสถาบัน พบว่า ได้รับความสนใจเนื่องจากบริษัทฯ มีพื้นฐานทางธุรกิจที่แข็งแกร่งจากจุดเด่นประสบการณ์ความเชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมมายาวนาน ได้รับการยอมรับจากหน่วยงานภาครัฐขึ้นทะเบียนเป็นผู้รับเหมาก่อสร้างชั้นสูงและความโดดเด่นด้านบริหารต้นทุนโครงการก่อสร้างที่มีประสิทธิภาพ โดยนำเทคโนโลยีขับเคลื่อนบริหารจัดการในหลายมิติรวมถึงมีโรงงานผลิตวัสดุก่อสร้างเป็นของตนเอง ช่วยเสริมสร้างโอกาสเติบโตจากการรับบริหารโครงการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ของภาครัฐเพิ่มขึ้นและต่อยอดขยายฐานลูกค้าภาคเอกชน พร้อมนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยขยายธุรกิจวัสดุก่อสร้างประเภทต่างๆ สร้างความมั่นคงของรายได้และผลักดันการทำกำไรขั้นต้นและอัตราการทำกำไรสุทธิอย่างต่อเนื่อง

ดังนั้น จึงกำหนดราคาเสนอขาย IPO ของ บมจ.ซีวิลเอนจีเนียริง ที่ 4.60 บาทต่อหุ้น พร้อมเปิดให้นักลงทุนจองซื้อในระหว่างวันที่ 19-21 มกราคม 2565 และคาดว่าจะสามารถนำหุ้น CIVIL เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยประมาณวันที่ 27 มกราคม 2565 โดย CIVIL จะนำเงินที่ได้จากการระดมทุนครั้งนี้ ไปลงทุนเพิ่มเติมในเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่ใช้ในงานก่อสร้างเพิ่มประสิทธิภาพบริหารโครงการก่อสร้างให้มีความหลากหลายมากขึ้น ส่วนที่เหลือนำไปชำระเงินกู้ยืมจากสถาบันการเงินและใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในการดำเนินธุรกิจ ส่งผลดีต่อสถานะทางการเงินมีความเข้มแข็งและเพิ่มศักยภาพการดำเนินธุรกิจในการเข้าบริหารโครงการก่อสร้างรองรับการเติบโตของอุตสาหกรรม เพื่อผลักดันการเติบโตได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน 

 

🚩🚩ห้อง Official Line ห้องไลน์ฟรี มิติหุ้น ทันทุกสถานการณ์การลงทุน หุ้นเด่น หุ้นเด็ดตลอดวัน กับห้องไลน์ @mitihoonwealth ห้องไลน์ที่นักลงทุนเข้าเป็นสมาชิกฟรี ไม่มีเงื่อนไข เพียงคลิกลิงค์นี้ก็เข้าได้เลย และสามารถส่งต่อให้เพื่อนได้

https://lin.ee/cXAf0Dp