“ธปท.-คลัง” สกัดนำสินทรัพย์ดิจิทัลมาชำระสินค้าและบริการแทนเงิน กูรูลั่นไม่กระทบผู้ออกคริปโตประเภท Utility Token ทั่วไปแต่ Bitkub โดนเต็มๆ
“ธปท.-คลัง” ร่วมหารือเพื่อกำหนดแนวทางกำกับดูแลและควบคุมการนำสินทรัพย์ดิจิทัลมาใช้เป็นสื่อกลางในการชำระค่าสินค้าและบริการ (Means of Payment) เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดผลกระทบต่อเสถียรภาพทางการเงินและระบบเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งปัจจุบันผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลได้ขยายขอบเขตการประกอบธุรกิจในลักษณะให้บริการ แก่ร้านค้าและผู้ประกอบการในธุรกิจต่าง ๆ เพื่ออำนวยความสะดวกในการรับชำระค่าสินค้าและบริการด้วยสินทรัพย์ดิจิทัล นอกเหนือไปจากวัตถุประสงค์เพื่อการลงทุน พร้อมเปิดรับฟังความเห็น-8 ก.พ. ก่อนออกประกาศต่อไป
“แผนจับมือพันธิมิตรของ
Bitkub สะดุด”
จากการรวบรวมความเคลื่อนของคริปโตในไทยที่เข้าข่ายจะได้รับผลกระทบจากแผนที่วางไว้ อาทิ ล่าสุด RICHY เล็งจับมือ Bitkub รับชำระเงินสกุลดิจิทัล ซื้อบ้าน-คอนโดมีเนียมทั้ง เหรียญ BTC-ETH-USDT-KUB เป็นต้น ส่วน RS ก็มีแผนจะออกเหรียญดิจิทัลโทเคน ในปีนี้ชื่อว่า “Popcoin” ประเภท Utility Token เพื่อนำมาแลกเปลี่ยนกับสิ่งต่างๆที่กำหนด ก็ไม่น่าจะกระทบ เช่นเดียวกับ JFIN แม้ผู้ออกไม่ได้อยู่ภายใต้เกณฑ์ดังกล่าวแต่เป็นเหรียญที่มี Utility Token ที่ใช้ภายในกลุ่ม เป็นต้น
“ลั่นเกณฑ์เฮียรริ่ง ธปท.
จะไม่กระทบผู้ออกคริปโต-โทเคน”
ทั้งนี้แหล่งข่าวจากผู้ประกอบการบริษัทจดทะเบียนยังกล่าวอีกว่า เจตนาของ แบงก์ชาติที่ออกมา คือ ไม่ต้องการให้ใช้เหรียญมาแทนเงินบาทนั่นเอง ซึ่งหากมีการใช้อย่างแพร่หลายจะยิ่งทำให้แบงก์ชาติไม่สามารถควบคุมได้และถือว่ามีความเสี่ยง เนื่องจากไม่มี back ที่น่าเชื่อถือ แต่เชื่อว่าไม่ได้กระทบต่อผู้ออกเหรียญคริปโตรายใหม่ๆแต่อย่างใด หากจุดระสงค์ไม่ได้นำมาชำระค่าบริการต่างๆแทนเงินบาท
@mitihoonwealth
https://lin.ee/cXAf0Dp