เปิด25หุ้นสตอรี่เด็ด เฮ!รับครม.หนุนรถEV

8693

ผู้สื่อข่าว “มิติหุ้น”รายงานว่า ล่าสุด ครม.ก็ได้เคาะมาตรกระตุ้นและจูงใจ การใช้ยานยนต์ไฟฟ้า (EV)นั้น ซึ่งเบื้องต้นจะมีหลายบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯได้รับอานิสงส์ไปด้วย โดยด้านบทวิเคราะห์ บล.ฟิลลิป (ประเทศไทย) ระบุว่า หลังที่ประชุม ครม. เห็นชอบมาตรการดังกล่าว เมื่อวันที่ 15 ก.พ. 65 ที่ผ่านมา ทั้งนี้ภายใต้มาตรการดังกล่าวประกอบด้วยมาตรการทางภาษี และมาตรการอื่นๆ ที่ไม่ใช่ภาษีและเป็นการจำ กัดสิทธิให้เฉพาะกับรถยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่(BEV) เท่านั้น ซึ่งมีการแบ่งกรอบเวลาการดำเนินงานออกเป็น 2 ช่วงๆละ 2 ปีได้แก่ ปี 65-66 เน้นสร้างแรงจูงใจให้เกิดการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศเป็นวงกว้าง โดยครอบคลุม ทั้งการนำเข้ารถยนต์ไฟฟ้า (รถยนต์นั่งและรถกระบะ) และรถจักรยานยนตไฟฟ้าสำเร็จรูปทั้งคันปี 67-68 เน้นส่งเสริมการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าที่ผลิตภายในประเทศเป็นหลัก

 

  • มาตรการที่ออกมานี้ถือเป็นหนึ่งในหนทางที่จะไปสู่เป้าหมายระยะยาวที่ประกาศไว้ว่าภายในปี 73 รัฐบาลตั้งเป้าจะเพิ่ม สัดส่วนปริมาณการผลิตยานยนต์ไฟฟ้า (รถยนต์ไฟฟ้าและรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า) คิดเป็น 30% ของปริมาณการผลิตยานยนต์ทั้งหมดในประเทศ

 

  • ปัจจุบันประเทศไทยถือเป็นฐานผลิต ยานยนต์ที่สำคัญ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) โดยปี 64 มียอดผลิตรถยนต์อยู่ที่ 1,685,705 คัน และยอดผลิตรถจักรยานยนต์ ซึ่งนับรวมทั้ง รถจักรยานยนต์สำเร็จรูป (CBU) และ ชิ้นส่วนประกอบรถจักรยานยนต์ (CKD) อยู่ที่ 2,309,474 คัน

 

  • เบื้องต้นทางฝ่ายประเมิน การออกมาตรการครั้งนี้แม้จะมีแรงจูงใจให้เกิด การใช้รถยนต์ไฟฟ้ามากขึ้น หากแต่เป้าหมายระยะยาวที่ทางฝ่ายมองกลับเป็นการปกป้องอุตสาหกรรมยานยนต์ซึ่งถือเป็นอุตสาหกรรมที่ช่วยขับเคลื่อนและพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทยมายาวนาน สะท้อนจากเงื่อนไข สำหรับผู้ประกอบการค่ายรถยนต์ที่จะเข้าร่วมมาตรการนี้จะต้องทำการผลิตชดเชยจำนวนรถที่นำเข้ามาจำหน่ายจากต่างประเทศ (Complete Built Up; CBU) ระหว่างปี 65-66 ภายในปี 67 (หากจำเป็นต้องขยายเวลา สามารถทำได้ถึงปี 68) ทั้งนี้จะต้องผลิตในอัตราส่วน 1.5 เท่า นั่นคือ นำเข้า 1 คัน ผลิต 1.5 คัน โดยสามารถผลิตรถยนต์ BEV รุ่นใดก็ได้เพื่อชดเชย ยกเว้นรถยนต์ที่มีราคาขายปลีก ราคา 2 ลบ.ไม่เกิน 7 ลบ.จะต้องผลิตรุ่นเดียวกับที่นำเข้ามาในประเทศไทย

 

รายละเอียดมาตรการภาษียานยนต์ไฟฟ้า แบ่งตามประเภทยานยนต์ได้ 4 กลุ่ม ดังนี้

รถยนต์โดยสารที่นั่ง ไม่เกิน 10 คน ราคาขายปลีกแนะนำไม่เกิน 2 ลบ. สิทธิประโยชน์ 1. ลดภาษีศุลกากรขาเข้าสูงสุด 40% สำหรับการนำรถยนต์เข้ามาจำหน่ายในระหว่างปี 65-66 2. ลดภาษีสรรพสามิตจาก 8% เป็น 2% ในระหว่างปี 65-68 3. เงินอุดหนุนจากรัฐบาลในระหว่างปี 65-68 ขึ้นอยู่กับ ความจุแบตเตอร์รี่ถยนต์ไฟฟ้า แบ่งเป็น ความจุแบตเตอรี่ต่ำกว่า 30 kWh รัฐบาลให้เงินอุดหนุน 70,000 บาทต่อคัน ความจุแบตเตอรี่มากกว่า 30 kWh ขึ้นไป รัฐบาลให้เงินอุดหนุน 150,000 บาทต่อคัน

รถยนต์โดยสารที่นั่ง ไม่เกิน 10 คน ราคาขายปลีกแนะนำมากกว่า 2 ลบ. แต่ไม่เกิน 7 ลบ.

สิทธิประโยชน์

  1. ลดภาษีศุลกากรข้าเข้าสูงสุด 20% สำหรับการนำรถยนต์เข้ามาจำหน่ายในระหว่างปี 65-66
  2. ลดภาษีสรรพสามิตจาก 8% เป็น 2% ในระหว่างปี 65-68

รถกระบะ ราคาขายปลีกแนะนำไม่เกิน 2 ลบ.

สิทธิประโยชน์

  1. ลดภาษีสรรพสามิตเป็น 0% ในระหว่างปี 65-68
  2. เงินอุดหนุนจากรัฐบาล 150,000 บาท ในระหว่างปี 65-68 สำหรับ BEV แบตเตอรี่ 30 kWh เฉพาะรุ่นที่ผลิตในประเทศ

รถจักรยานยนต์ ราคาขายปลีกแนะน่าไม่เกิน 150,000 บาท

สิทธิประโยชน์

  1. เงินอุดหนุนจากรัฐบาล 18,000 บาทต่อคัน ทั้ง CKD และ CBU ในระหว่างปี 65-68

โอกาสการลงทุนในหุ้นที่คาดได้อานิสงส์จากมาตรการภาษี

  • เนื่องด้วยอุตสาหกรรมยานยนต์นั้นถือเป็นอุตสาหกรรมที่มีห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) ค่อนข้างยาว ดังนั้นผลกระทบจากมาตรการดังกล่าว จึงมีทั้งผู้ที่ได้ประโยชน์และผู้เสียประโยชน์ในเวลาที่ต่างกัน
  • ทั้งนี้หากพิจารณาตามช่วงเวลาการออกมาตรการ ทางฝ่ายประเมินว่าช่วง 2 ปีแรก (ปี 65-66) ซึ่ง เป็นช่วงที่ค่ายรถจะนำเข้ารถยนต์ไฟฟ้า และรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าสำเร็จรูปทั้งคันจากต่างประเทศมาทำการตลาดและจำหน่ายภายในประเทศ พร้อมทั้งจัดโปรโมชั่นกระตุ้นจูงใจให้ผู้บริโภคหันมาซื้อแทนรถที่ใช้เครื่องยนต์สันดาป ดังนั้นบริษัทที่คาดจะได้ประโยชน์ส่วนใหญ่จะเน้นไปที่ผู้ให้บริการสถานีชาร์จพลังงาน ยานยนต์ไฟฟ้า หรือ EV Charger ซึ่งปัจจุบันเริ่ม มีการทยอยติดตั้งมากขึ้นแล้ว อาทิ สถานีบริการน้ำมัน, ที่จอดรถตามห้างสรรพสินค้าหรือร้านสะดวกซื้อ ฯลฯ

 

หุ้นที่คาดได้ประโยชน์จากอุปกรณ์ EV Charger ได้แก่ DELTA, EA, FORTH ,หุ้นที่คาดได้ประโยชน์จากการให้บริการพื้นที่ ได้แก่ BCP, CPALL, CPN, OR, PTT, PTG และหุ้นที่คาดได้ประโยชน์จากการปล่อยสินเชื่อยานยนต์ไฟฟ้า ได้แก่ TTB, KKP

 

นอกจากนี้ด้วยเงื่อนไขของการเข้าร่วมมาตรการนี้ ค่ายรถจะต้องผลิตรถชดเชยในอัตรำส่วน 1.5 เท่าของจำนวนรถที่นำเข้ามาจำหน่ายจากต่างประเทศภายในช่วงปี 67-68

 

หุ้นที่คาดได้ประโยชน์จากการขยายพื้นที่โรงงานและระบบสาธารณูปโภค ได้แก่ AMATA, PIN, ROJNA, WHA, WHAUP

หุ้นที่คาดได้ประโยชน์จากการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์

1) แบตเตอรี่คือ EA, GPSC, ROJNA, BANPU และ BPP (ถือหุ้นใน Banpu NEXT)

2) ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์คือ DELTA, HANA, KCE

3) ชิ้นส่วนประกอบรถ EV แบ่งเป็น ช่วงล่าง, เกียร์, เบรค, สปริงคือ AH, PCSGH, SAT หลังคาครอบกระบะ, บันไดข้างรถกระบะ คือ EPG คอยล์ร้อน, คอยล์เย็น สำหรับเครื่องปรับอากาศในรถยนต์ คือ PACO อุปกรณ์ส่องไฟคือ  FPI, STANLY เบาะหนัง, สีรถยนต์ คือ CWT, IHL, TNPC, TRU, EASON ยางรถยนต์ คือ GYT, IRC, NDR, HFT ตัวถังรถ, คานนิรภัย คือ INGRS ตกแต่งภายใน คือ TKT และสายเคเบิ้ล คือ TSC

 

🚩🚩ห้อง  Official Line  ห้องไลน์ฟรี  มิติหุ้น   ทันทุกสถานการณ์การลงทุน  หุ้นเด่น หุ้นเด็ดตลอดวัน     กับห้องไลน์ @mitihoonwealth     ห้องไลน์ที่นักลงทุนเข้าเป็นสมาชิกฟรี  ไม่มีเงื่อนไข         เพียงคลิกลิงค์นี้ก็เข้าได้เลย   และสามารถส่งต่อให้เพื่อนได้

 

https://lin.ee/cXAf0Dp