มิติหุ้น – บิทาซซ่า นายหน้าสินทรัพย์ดิจิทัล (Digital Asset Broker) ชั้นนำของประเทศไทย (www.bitazza.com) เปิดลิสติ้งเหรียญใหม่รวม 9 เหรียญในช่วงต้นปี 2565 ที่ผ่านมาให้กับผู้ใช้งาน โดยล้วนเป็นเหรียญที่แสดงให้เห็นถึงการเจริญเติบโตของเทคโนโลยีบล็อกเชน ทั้งโปรโตคอลสัญญาอัจฉริยะ การเชื่อมต่อเครือข่าย เหรียญเกมและ NFT เหรียญการเงินกระจายศูนย์ เหรียญบริการโครงสร้างพื้นฐานทำให้เป็นแพลตฟอร์มซื้อขายแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ดิจิทัลที่มีทางเลือกการลงทุนทั้งหมด 61 เหรียญ
ทั้งนี้บิทาซซ่าได้ประกาศผลประกอบการในปี 2564 ผ่านทางช่องทางโซเชียลมีเดียของบิทาซซ่า เช่น เฟสบุ๊ค อินสตาแกรม ทวิตเตอร์ โดยมียอดธุรกรรมการซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลบนแพลตฟอร์มกว่าแสนล้านบาท และผู้ใช้งานที่ดาวน์โหลดแอปพลิเคชันของบิทาซซ่าแล้วกว่า 500,000 คน จากการรายงานสถิติยอดจำนวนดาวน์โหลดแพลตฟอร์มบิทาซซ่าผ่านทางเว็บไซต์และแอปพลิเคชันมือถือของบิทาซซ่า ซึ่งนับเป็นการเติบโตเพิ่มขึ้นมาถึง 20 เท่า
บิทาซซ่ามุ่งเน้นการพาคนไทยเข้าถึงตลาดโลกทั้งคัดสรรเหรียญคุณภาพและปริมาณสภาพคล่อง (วอลลุ่ม) ในราคาตลาดโลก ลงทะเบียนเข้าใช้งานและยืนยันตัวตนอย่างสะดวกรวดเร็วภายใน 24 ชม. บริการลูกค้าสัมพันธ์ช่วยเหลือตลอดเวลาและการฝากถอนเงินสดทันที ลูกค้าสามารถเลือกจ่ายค่าธรรมเนียมเป็นโทเคนของบิทาซซ่า (BTZ) หรือจ่ายเป็นเงินบาท
1) ALGO เป็นโทเคนของเครือข่าย Algorand ใช้จ่ายค่าธรรมเนียมในระบบนิเวศ และรักษาความปลอดภัยแบบ Pure Proof of Stake (PPoS) พร้อมแผนปรับปรุงสู่ระบบกระจายศูนย์อย่างเต็มที่ในอนาคต หากใครอยากมีส่วนร่วมบริหารจะต้องมี ALGO อยู่เพื่อมีสิทธิ์ออกเสียงทิศทางของโปรโตคอล
2) BAND เป็นเหรียญจากเครือข่าย Band Protocol ใช้รักษาความปลอดภัยและให้พลังงานเครือข่ายโอราเคิล (Oracle) ไร้ศูนย์กลางของตัวเอง ผู้ใช้งานที่เป็น Validators ใช้เหรียญ BAND วางเป็นสินเชื่อเพื่อเพิ่มโอกาสที่จะได้ถูกรับเลือกทำหน้าที่ และรับค่าธรรมเนียมจากการให้ข้อมูล นอกจากนี้เหรียญ BAND ยังใช้มีส่วนร่วมควบคุมการบริหาร BandChain อีกด้วย โดย BAND มีทั้งแบบ ERC20 และเหรียญ BandChain
3) ENJ หรือ Enjin Coin เป็นโทเคน ERC-20 ของแพลตฟอร์ม Enjin ที่ใช้สร้าง NFT ใหม่ และให้แพลตฟอร์มมีสภาพคล่องและสร้างมูลค่าในโลกจริง และยังขับเคลื่อนระบบนิเวศ Enjin ใช้ในกระบวนการสร้างโทเคนที่สร้างขึ้นในระบบทั้งแบบ off-chain และ on-chain ทำให้ผู้ใช้สามารถสร้างโทเคนบนเครือข่าย Ethereum ได้เนื่องจาก แต่ละโทเคนที่สร้างบน Enjin รองรับโดย ENJ ดังนั้น ENJ เป็นเสมือนมาตรฐานทองคำสำหรับโทเคนเหล่านี้ ทำให้ NFT เหล่านี้มีมูลค่าในโลกจริง นอกจากนี้เจ้าของสามารถแลกเปลี่ยน NFT เป็น ENJ ได้ตลอด
4) GODS เป็นเหรียญ ERC-20 ของจักรวาล the Gods Unchained ที่ใช้เป็นสกุลเงินภายในเกม เหรียญ GODS ใช้สร้าง NFTs ในเกม the Gods Unchained ซื้อของจากมาร์เก็ตเพลสในเกม ยิ่งถือจำนวนมากยิ่งได้รางวัลมาก และใช้ร่วมออกเสียงการควบคุมทิศทางเกมในอนาคต
5) CVX เป็นโทเคนของ Convex Finance ซึ่งสามารถใช้สำหรับการวางสเตกเหรียญ CRV เพื่อได้ผลตอบแทน โดยผู้วาง CRV ในโปรโตคอล Convex จะได้รับ cvxCRV หนึ่งต่อหนึ่งซึ่งมีผลตอบแทนเหมือนรับ veCRV แต่มีสภาพคล่องมากกว่า และ CVX ยังสามารถใช้ในการโหวตทิศทางที่ Convex Finance จะใช้ veCRV บน Convex Finance ถืออยู่ในการกำกับดูแลอัตราเฟ้อของ CRV
6) ENS เป็นโทเคนการกำกับดูแลแบบ ERC-20 ของ DAO Ethereum Name Service ซึ่งใช้สำหรับการออกคะแนนเสียงเกี่ยวกับการทำงานของมาตรการอย่างเช่น ราคาโดเมน Price Oracle ที่โปรโตคอลใช้ และอื่น ๆ
7) IMX เป็นยูทิลิตี้โทเคนของโปรโตคอล Immutable X ที่ใช้จ่ายค่าธรรมเนียมของแพลตฟอร์ม ใช้ออกเสียงตัดสินใจทิศทาง และวางสเตกเพื่อรับผลตอบแทนค่าธรรมเนียม โดยค่าธุรกรรมบนโปรโตคอล 20% จะต้องจ่ายด้วยเหรียญ IMX และเหรียญเหล่านี้จะไปวางสเตกในพูลรางวัล หากผู้ใช้งานไม่มี IMX เพียงพอ ระบบจะแลกเปลี่ยนค่าธรรมเนียมที่จ่ายเป็นคริปโตสกุลอื่นและซื้อ IMX จากตลาดเปิดแทน
โทเคน Immutable X เป็นโซลูชั่นที่เอาไว้ขยาย Layer 2 เพื่อ NFT บนบล็อกเชน Ethereum ที่ช่วยให้ทำการซื้อขายแลกเปลี่ยนทันทีแบบไม่มีค่าแก๊ส
8) NEAR เป็นโทเคนยูทิลิตี้ของโปรโตคอล NEAR ที่เอาไว้ใช้จ่ายค่าธรรมเนียมบนแพลตฟอร์ม ให้ Validator Nodes วางสเตกและรับผลตอบแทนเพิ่ม ออกเสียงในการจัดสรรทรัพยากรและทิศทางอนาคตของโปรโตคอล ที่สำคัญโทเคน NEAR ออกแบบมาเพื่อป้องกันการเฟ้อ และมีปริมาณที่มิ้นท์ชึ้นมาทั้งหมด 1 พันล้าน ทุกๆ ปีจะมีการเพิ่มปริมาณ 5% เพื่อเติบโตและรองรับกิจกรรมในระบบ
9) ATOM เป็นโทเคน Proof-of-Stake ของ Cosmos Hub ซึ่งเป็นบล็อกเชนกลางของแพลตฟอร์ม Cosmos ATOM สามารถใช้จ่ายค่าธรรมเนียม วางสเตกเพื่อรับผลตอบแทน และออกคะแนนเสียงทิศทางโปรโตคอลของแพลตฟอร์ม Cosmos
นอกจาก 9 เหรียญใหม่นำกระแสนี้ เหรียญยูทิลิตี้โทเคนแพลตฟอร์มอย่าง BTZ เองก็มีการเปิดให้ซื้อขายแลกเปลี่ยนบนแพลตฟอร์มสากล Bitazza Global เมื่อช่วงวันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2565 เวลา 20.02 น. ที่ผ่านมาเช่นกัน
บิทาซซ่าได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจนายหน้าสินทรัพย์ดิจิทัล (Digital Asset Broker Licenses) จากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์และกระทรวงการคลังและผ่านขั้นตอนการตรวจสอบความปลอดภัยในเดือนตุลาคมปีพ.ศ.2562 และเริ่มปฏิบัติธุรกิจในเดือนธันวาคมปีเดียวกัน โดยบิทาซซ่ามีพันธะกิจในการสนับสนุนและผลักดันให้เทคโนโลยีด้านสินทรัพย์ดิจิทัลเป็นที่รู้จักและรับรู้ในวงกว้างผ่านโครงสร้างพื้นฐานที่มีประสิทธิภาพ
🚩🚩ห้อง Official Line ห้องไลน์ฟรี มิติหุ้น ทันทุกสถานการณ์การลงทุน หุ้นเด่น หุ้นเด็ดตลอดวัน กับห้องไลน์ @mitihoonwealth ห้องไลน์ที่นักลงทุนเข้าเป็นสมาชิกฟรี ไม่มีเงื่อนไข เพียงคลิกลิงค์นี้ก็เข้าได้เลย และสามารถส่งต่อให้เพื่อนได้