- ดัชนี Global Composite PMI ปรับตัวลดลง -0.8 จุด เป็น 52.7 จุด แต่ยังอยู่ในเกณฑ์ขยายตัว (เหนือ 50 จุด) ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 21 จากทั้งดัชนีภาคบริการ (-0.6, 53.4 จุด) และภาคการผลิตที่ปรับตัวลดลง (-0.7, 53.0 จุด) โดยการชะลอตัวลงเป็
นผลมาจาก COVID-19, ปัญหาภายในห่วงโซ่อุปทาน, แรงกดดันเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้ น และสงครามรัสเซีย-ยูเครน - ทั้งนี้ ดัชนีย่อยในส่วนของราคายังคงอยู่
ในระดับสูง โดยต้นทุนปัจจัยการผลิตเร่งตั วขึ้น (+2.9, 70.5 จุด) ส่งผลให้ราคาผลผลิตปรับตัวเพิ่ มขึ้น (+1.4, 61.4 จุด) โดยการเร่งตัวขึ้ นมาจากภาคการผลิตเป็นหลัก - ขณะที่รายประเทศ ดัชนี Composite PMI ของสหรัฐฯ สหราชอาณาจักรและญี่ปุ่นปรับตั
วดีขึ้น ขณะที่จีนได้ผลกระทบรุ นแรงจากการแพร่ระบาดของเชื้ อสายพันธุ์ Omicron ที่นำไปสู่การ Lockdown ส่วนยูโรโซนได้รับผลจากสงครามรั สเซีย- ยูเครน โดยมีรายละเอียด ดังนี้ - สหรัฐฯ: ดัชนีโดย ISM ปรับตัวเพิ่มขึ้น +1.5 จุด เป็น 58.2 จุด จากการเร่งตัวขึ้นในภาคบริการ (+1.8, 58.3 จุด) จากสถานการณ์ COVID-19 ที่ผ่อนคลายลง ขณะที่ภาคการผลิต (-1.5, 57.1 จุด) ชะลอตัวลง
- ยูโรโซน: ดัชนีปรับตัวลดลง -0.6 จุด เป็น 54.9 จุด สูงกว่าเลขเบื้องต้นที่ 54.5 จุด จากดัชนีในภาคการผลิตที่ชะลอตั
วลง (-1.7, 56.5 จุด) จากสงครามรัสเซีย- ยูเครน รวมถึงการระบาดของ COVID-19 ในจีน ที่กดดันอุปสงค์และส่งผลกระทบต่ อห่วงโซ่อุปทาน ในขณะที่ภาคบริการเร่งตัวขึ้ นเล็กน้อย (+0.1, 55.6 จุด) จากการผ่อนปรนมาตรการป้ องกัน COVID-19 โดยเฉพาะในภาคการท่องเที่ยวที่ หนุนภาคบริการ ด้านดัชนีราคาต้นทุนปัจจั ยและราคาผลผลิตปรับตัวเพิ่มขึ้ นสูงสุดเป็นประวัติการณ์ - รายประเทศ ดัชนีชะลอตัวลงในเกือบทุ
กประเทศหลัก สเปน (-3.4, 53.1 จุด) อิตาลี (-1.5, 52.1 จุด) และเยอรมนี (-0.5, 55.1 จุด) ขณะที่ฝรั่งเศส (+0.8, 56.3 จุด) เร่งตัวขึ้น
- รายประเทศ ดัชนีชะลอตัวลงในเกือบทุ
- สหราชอาณาจักร: ดัชนีปรับตัวเพิ่มขึ้น +1.0 จุด เป็น 60.9 จุด สูงสุดในรอบ 9 เดือน สูงกว่าตัวเลขเบื้องต้นที่ 59.7 จุด จากภาคบริการที่ขยายตัว (+2.1, 62.6 จุด) สูงเป็นอันดับ 2 นับตั้งแต่ปี 1997 ท่ามกลางการยกเลิกข้อจำกัดด้
านโควิด-19 ขณะที่ภาคการผลิ ตชะลอตัวลง (-2.8, 55.2 จุด) ต่ำสุดในรอบ 13 เดือน จากปัญหาภายในห่วงโซ่อุปทานทั่ วโลก แรงกดดันด้านเงินเฟ้อที่ทวี ความรุนแรงขึ้น และสถานการณ์สงครามรัสเซีย-ยู เครน - จีน: ดัชนีโดย Caixin ปรับตัวลดลง -6.2 จุด เป็น 43.9 จุด ต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน ก.พ. 2020 จากมาตรการ Lockdown ในหลายพื้นที่ของประเทศ ส่งผลให้กิจกรรมเศรษฐกิจหดตัวทั้
งในภาคการผลิต (-2.3, 48.4) และบริการ (-8.2, 42.0) โดยยอดคำสั่งซื้อใหม่ ภายในประเทศต่ำสุดในรอบ 2 ปี ส่วนยอดคำสั่งซื้ อภายนอกประเทศยังคงหดตัวต่ำสุ ดในรอบ 22 เดือน ด้านราคาต้นทุนปัจจัยการผลิตเร่ งตัวขึ้นสูงสุดในรอบ 5 เดือนจากราคาวัตถุดิบ พลังงาน อาหาร การขนส่งที่เพิ่มสูงขึ้น - ญี่ปุ่น: ดัชนีปรับตัวเพิ่มขึ้น +4.5 จุด เป็น 50.3 จุด และดีกว่าตัวเลขเบื้องต้นที่ 49.3 จุด ทท่ามกลางการแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่ผ่อนคลายลงทำให้มีการยกเลิ
กสถานการณ์กึ่งฉุกเฉินในทุกพื้ นที่ตั้งแต่วันที่ 21 มี.ค. ส่งผลให้ดัชนีภาคบริการเร่งตั วขึ้น (+5.2, 49.4) ส่วนภาคการผลิตเร่งตัวขึ้นเช่ นกัน (+1.4, 54.1) จากผลผลิตที่พลิกกลับมาขยายตั วและยอดคำสั่งซื้อเร่งตัวขึ้ นอย่างรวดเร็ว ด้านราคาต้นทุนปัจจัยการผลิตเร่ งตัวขึ้นสูงสุดนับตั้งแต่ปี 2008จากภาวะขาดแคลนวัตถุดิ บโดยเฉพาะพลังงาน น้ำมัน และเซมิคอนดักเตอร์ ซึ่งหนุนให้ดัชนีราคาขายเร่งตั วขึ้นสูงอย่างมาก - Our take: ดัชนี Composite PMI เดือน มี.ค. ของประเทศในสหรัฐฯ สหราชอาณาจักร และญี่ปุ่น ปรับตัวสูงขึ้น จากสถานการณ์การแพร่
ระบาดของสายพันธุ์ Omicron ที่ดีขึ้น ทำให้กิจกรรมในภาคบริการฟื้นตั วขึ้นอย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตามภาคการผลิ ตของประเทศหลักส่วนใหญ่ชะลอตั วลงท่ามกลางสถานการณ์สงครามรั สเซีย-ยูเครน ปัญหาภายในห่วงโซ่อุปทาน ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่ปรับตัวสู งขึ้น และการ Lockdown ในบางพื้นที่ของจีน - นอกจากนี้ ดัชนียังคงชี้ให้เห็นถึงต้นทุ
นปัจจัยการผลิตที่ปรับตัวเพิ่ มสูงขึ้นอีกครั้งในหลายประเทศ จากการขาดแคลนปัจจัยการผลิ ตและราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่ปรั บตัวสูงขึ้น - โดยการเพิ่มขึ้นของดัชนีราคานั
บเป็นสิ่งที่สร้างความกังวลให้ กับนักลงทุนจากแนวโน้มของเงิ นเฟ้อที่อาจคงอยู่ในระดับสู งยาวนานกว่าที่คาดการณ์ไว้ โดยเฉพาะจากต้นทุนที่ยังอยู่ ในระดับสูงและราคาสินค้าโภคภั ณฑ์ที่ปรับตัวเร่งขึ้นมามาก (Cost-push inflation) ซึ่งจะกดดันให้ธนาคารกลางต้ องเร่งเพิ่มความเข้ มงวดในนโยบายการเงิน โดยเฉพาะ Fed ที่ตลาดคาดจะปรับขึ้นดอกเบี้ยต่ อเนื่องอีกอย่างน้อย 200bps ในปีนี้ โดยมีการประชุมบางรอบที่อาจขึ้ นดอกเบี้ย 50bps (vs. ปกติปรับขึ้น 25bps)
@mitihoonwealth
https://lin.ee/cXAf0Dp