วิเคราะห์สถานการณ์ราคาน้ำมัน

131

ราคาน้ำมันดิบได้รับแรงหนุน หลังปริมาณการผลิตน้ำมันดิบและคอนเดนเสทรัสเซียปรับลดลง

+ ราคาน้ำมันดิบปรับตัวเพิ่มขึ้น หลังปริมาณการผลิตน้ำมันดิบและคอนเดนเสทรัสเซียปรับลดลงอยู่ที่ 10.52 ล้านบาร์เรลต่อวัน ในช่วง 1-6 เม.ย. เมื่อเทียบกับปริมาณการผลิตเฉลี่ยเดือนมี.ค. ที่ 11.01 ล้านบาร์เรลต่อวัน  โดยหลายฝ่ายคาดว่าปริมาณการผลิตของรัสเซียอาจลดลงแตะระดับ 10.44 ล้านบาร์เรลต่อวัน หลังรัสเซียประสบปัญหาในการส่งออก เนื่องจากมาตรการคว่ำบาตร
– ความต้องการใช้น้ำมันในจีน ยังคงถูกกดดัน หลังจีนประกาศยืดระยะเวลาล็อคดาวน์เซี่ยงไฮ้ออกไป จากเดิมสิ้นสุดวันที่ 6 เม.ย. เป็นจนกว่าการตรวจหาเชื้อโควิดให้ประชาชนทั้งหมดจะแล้วเสร็จ
– Baker Hughes รายงานจำนวนแท่นขุดเจาะน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติสหรัฐฯ ปรับเพิ่มขึ้น 13 แท่น ณ สัปดาห์สิ้นสุด 8 เม.ย. นับเป็นการเพิ่มขึ้น 3 สัปดาห์ต่อเนื่อง
-/+ JPMorgan คาดว่าการปล่อยน้ำมันจากคลังสำรองเชิงยุทธศาสตร์ของสหรัฐฯ และสมาชิก IEA จะมีผลในช่วงระยะสั้นเท่านั้น แต่ไม่สามารถชดเชยปริมาณน้ำมันที่อาจจะหายไปจากรัสเซียได้ในระยะยาว
ราคาน้ำมันเบนซิน – ปรับตัวเพิ่มขึ้นน้อยกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ  หลังปริมาณส่งออกน้ำมันเบนซินของจีน มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เนื่องจากความต้องการใช้ในประเทศถูกกดดันจากมาตรการล็อคดาวน์
ราคาน้ำมันดีเซล – ปรับตัวลดลงสวนทางราคาน้ำมันดิบดูไบ หลังปริมาณน้ำมันดีเซลคงคลังที่ Fujairah เพิ่มขึ้น 4.6% ณ สัปดาห์สิ้นสุด 4 เม.ย. ประกอบกับการส่งออกน้ำมันดีเซลของจีน ที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
หน่วยวิเคราะห์สถานการณ์ราคาน้ำมัน บมจ. ไทยออยล์
 
@mitihoonwealth
https://lin.ee/cXAf0Dp