มิติหุ้น – นายพีรพงศ์ กรินชัย รองกรรมการผู้จัดการบริหาร สำนักวิศวกรรมกลาง ในฐานะประธานความมุ่งมั่นด้ านการบริหารทรัพยากรที่เป็นเลิศ หนึ่งในกลยุทธ์ความยั่งยืน CPF 2030 Sustainability in Action เปิดเผยว่า ซีพีเอฟในฐานะผู้นำธุรกิ จเกษตรอุ ตสาหกรรมและอาหารครบวงจร ตระหนักถึงการมีส่วนร่วมรับผิ ดชอบบรรเทาผลกระทบจากการเปลี่ ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) จึงได้นำเทคโนโลยีและนวั ตกรรมมาดำเนินโครงการเพิ่มประสิ ทธิภาพการใช้พลังงาน การจัดการมูลสัตว์และน้ำเสีย และส่งเสริมพลังงานหมุนเวียน ไบโอดีเซล ก๊าซชีวภาพและพลังงานแสงอาทิ ตย์ เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และได้ขึ้นทะเบียนโครงการลดก๊ าซเรือนกระจกภาคสมั ครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย (T- VER) กับองค์การบริหารจัดการก๊าซเรื อนกระจก (องค์การมหาชน) หรืออบก. คาดว่าปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ ลดได้มากกว่า 60,000 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่ อปี (หรือเทียบเท่าการดูดซับก๊ าซคาร์บอนไดออกไซด์ของต้นไม้ 6.5 ล้านต้น) โดย 59 % มาจากโครงการด้านการจั ดการของเสีย และอีกมากกว่า 40 % มาจากโครงการด้านพลังงานทดแทน
สำหรับโครงการที่ขึ้นทะเบี ยนในโครงการ T-VER จำนวน 5 โครงการ ประกอบด้วย โครงการติดตั้งระบบผลิตพลั งงานไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ ประเภทโครงการด้านพลังงานทดแทน กำลังการผลิตติดตั้งรวม 24 แห่ง โดยจะทําการติดตั้งแผงโซลาร์ เซลล์ บนหลังคาของโรงงานซีพีเอฟ ครอบคลุมโรงงานอาหารสัตว์บก โรงงานอาหารสัตว์น้ำ ฟาร์ม โรงงานแปรรูปอาหาร โรงงานอาหารสําเร็จรูป และศูนย์กระจายสินค้า ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่คาดว่ าจะลดได้ 11,092 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่ อปี โครงการบำบัดน้ำเสียฟาร์มสุ กรด้วยระบบก๊าซชีวภาพ เพื่อใช้ผลิตพลังงานไฟฟ้ าทดแทนจากระบบผลิตไฟฟ้ าของประเทศไทย ประเภทโครงการพลั งงานทดแทนและการจัดการของเสีย ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่คาดว่ าจะลดได้ 41,100 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่ อปี ซึ่งฟาร์มสุกรของซีพีเอฟ เป็นต้นแบบที่มีการใช้ระบบกั กเก็บก๊าซชีวภาพในฟาร์มสุกร ถือเป็นเทคโนโลยีที่ช่ วยลดภาวะโลกร้อน และสามารถผลิตเป็นกระแสไฟฟ้ าสำหรับใช้ในฟาร์ม
นอกจากนี้ ยังมีโครงการผลิตไอน้ำจากก๊ าซชีวภาพ ขนาด 5 ตัน ของโรงงานแปรรูปเนื้อไก่ นครราชสีมา ประเภทโครงการพลังงานทดแทน ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่คาดว่ าจะลดได้ 5,626 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่ อปี โครงการ Biodiesel Production for Use as Fuel of Vehicle by CPF ประเภทโครงการพัฒนาพลังงานหมุ นเวียน ดำเนินการโดยโรงงานแปรรูปเนื้ อไก่และอาหารแปรรูปสระบุรี ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่คาดว่ าจะลดได้ 3,961 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่ าต่อปี และโครงการเปลี่ยนอุปกรณ์ไฟฟ้ าแสงสว่างประสิทธิภาพสูง ของโรงงานอาหารสำเร็จรูปแปดริ้ว เป็นโครงการเพิ่มประสิทธิ ภาพพลังงาน คาดว่าจะสามารถลดปล่อยก๊าซเรื อนกระจกได้ 41 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่ อปี
ในปี 2564 ซีพีเอฟ ยังได้รับใบประกาศเกียรติคุ ณจากอบก. ภายใต้โครงการสนับสนุนกิ จกรรมลดก๊าซเรือนกระจก (Low Emission Support Scheme : LESS) ประเภทโครงการด้านป่าไม้ และการเกษตร จากโครงการซีพีเอฟ รักษ์นิเวศ ลุ่มน้ำป่าสัก เขาพระยาเดินธง และพื้นที่สีเขียวในฟาร์ มและโรงงาน และโครงการด้านพลั งงานทดแทนจากพลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งรวมแล้วสามารถดูดซับและลดก๊ าซคาร์บอนไดออกไซด์กว่า 22,255 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า
ทั้งนี้ T-VER เป็นโครงการลดก๊าซเรือนกระจกที่ อบก.พัฒนาขึ้น เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้ทุ กภาคส่วนมีส่วนร่วมในการลดก๊ าซเรื อนกระจกในประเทศไทยโดยความสมั ครใจ และสามารถนำปริมาณการลดก๊าซเรื อนกระจกที่เกิดขึ้น หรือคาร์บอนเครดิต ไปใช้ในการรายงานผลการดำเนินงาน แลกเปลี่ยน หรือ ซื้อขาย ภายในประเทศ โดยประเภทของโครงการที่ สามารถเข้าร่วม T-VER ได้แก่ โครงการด้านการเพิ่มประสิทธิ ภาพพลังงาน การพัฒนาพลังงานทดแทน การจัดการของเสีย การจัดการในภาคขนส่ง การปลูกป่า/ต้นไม้ การอนุรักษ์และฟื้นฟูป่า และการเกษตร ./
@mitihoonwealth
https://lin.ee/cXAf0Dp
https://lin.ee/cXAf0Dp