“บทบาทของกรรมการผู้หญิงในบริษัทจดทะเบียนไทย (Female On Board’s Directors)”

155

มิติหุ้น – เพื่อส่งเสริมการหลายหลายทางเพศ (gender diversity) หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการประเมินด้านการกำกับดูแลกิจการได้ออกข้อเสนอแนะต่างๆ เพื่อส่งเสริมผู้หญิงให้มีบทบาทในเวทีต่างๆ ทั้งเวทีระดับโลก ภูมิภาค หรือระดับบริษัท และพบว่า หญิงไทยมีบทบาทเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในฐานะกรรมการของคณะกรรมการบริษัทจดทะเบียนไทย และมีบทบาทผู้นำ (leadership) ในบริษัทจดทะเบียนไทยเพิ่มมากขึ้น ทั้งในฐานะ “ประธานกรรมการ” หรือ “ผู้บริหารระดับสูงสุด” ของบริษัทจดทะเบียน 

  • จากการศึกษาโครงสร้างคณะกรรมการของบริษัทจดทะเบียนไทย ณ สิ้นปี 2563 จำนวน 731 บริษัท พบว่า ณ สิ้นปี 2563 สัดส่วนจำนวนผู้หญิงต่อจำนวนกรรมการทั้งชุดเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 22.23% จาก ณ สิ้นปี 2562 ที่อยู่ 09% และพบว่า ณ สิ้นปี 2563 สัดส่วนจำนวนที่นั่งกรรมการเป็นผู้หญิงต่อจำนวนที่นั่งกรรมการอยู่ที่ 21.02% เพิ่มขึ้นจาก ณ สิ้นปี 2562 ที่อยู่ที่ 20.72%
  • นอกจากนี้ ณ สิ้นปี 2563 ยังพบว่า 3% ของบริษัทจดทะเบียนจากทั้งหมด ได้แต่งตั้งผู้หญิงอย่างน้อย 1 คน ดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการในคณะกรรมการของบริษัท ซึ่งสัดส่วนนี้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ปี 2558 ที่อยู่ที่ 79.4%
  • ณ สิ้นปี 2563 พบว่า 2% ของบริษัทจดทะเบียนทั้งหมดมีการแต่งตั้งผู้หญิงอย่างน้อย 1 คน ดำรงตำแหน่งกรรมการโดยเป็น “กรรมการอิสระ” ในคณะกรรมการบริษัท และสัดส่วนนี้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ปี 2558 ที่อยู่ที่ 47.8%
  • ผู้หญิงมีบทบาทในคณะกรรมการบริษัทจดทะเบียนเพิ่มมากขึ้น เมื่อพิจารณาจากจำนวนบริษัทจดทะเบียนที่ผู้หญิงดำรงตำแหน่งเป็น “ประธานกรรมการ” (chairman of board director) โดย ณ สิ้นปี 2563 มี 57 บริษัท ที่ผู้หญิงดำรงตำแหน่งเป็น “ประธานกรรมการ” หรือ คิดเป็น 4% ของบริษัทจดทะเบียนทั้งหมด ซึ่งเพิ่มขึ้นจาก ณ สิ้นปี 2562 ที่อยู่ที่ 47 บริษัท 6.9% ของบริษัทจดทะเบียนทั้งหมด

ขณะที่บทบาทผู้หญิงในด้านการบริหารจัดการ เมื่อพิจารณาจากผู้หญิงที่เป็นผู้บริหารอันดับสูงสุดขององค์กร พบว่า ณ สิ้นปี 2563 ลดลงเล็กน้อยจากสิ้นปี 2562 โดย ณ สิ้นปี 2563 มีผู้หญิงเป็นผู้บริหารอันดับสูงสุดของบริษัท จำนวน 101 บริษัท คิดเป็น 13.8% ของบริษัทจดทะเบียนทั้งหมด ลดลงจากจำนวน 105 บริษัท คิดเป็น 14.8%

 

@mitihoonwealth
https://lin.ee/cXAf0Dp