วิเคราะห์สถานการณ์ราคาน้ำมัน

141

ราคาน้ำมันดิบปรับเพิ่ม จากอุปทานในตลาดที่ยังคงตึงตัว

+/- ราคาน้ำมันได้แรงหนุนจากภาวะอุปทานตึงตัวในตลาด อันเนื่องมาจากกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) และชาติพันธมิตร หรือโอเปกพลัส ยังไม่สามารถเพิ่มกำลังการผลิตน้ำมันตามข้อตกลง เนื่องจากบางประเทศประสบปัญหาการผลิต นอกจากนี้ การที่สหภาพยุโรป (EU) แบนการนำเข้าน้ำมันจากรัสเซียจะยิ่งทำให้อุปทานน้ำมันในตลาดโลกตึงตัวมากขึ้น

+ ปริมาณน้ำมันยังคงตึงตัวในตลาด โดยได้รับผลกระทบจากการคว่ำบาตรน้ำมันจากรัสเซีย และการที่กลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) และชาติพันธมิตร หรือโอเปกพลัสยังคงไม่สามารถเพิ่มกำลังการผลิตน้ำมันตามข้อตกลง เนื่องจากบางประเทศประสบปัญหาการผลิต ในขณะที่ผู้ค้ากำลังจับตาอย่างใกล้ชิดถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากข้อพิพาทแรงงานในลิเบีย นอร์เวย์ และเกาหลีใต้ต่อการส่งออกและการบริโภคน้ำมัน ทั้งนี้เพื่อเพิ่มอุปทานในตะวันตก ซาอุดิอาระเบียซึ่งเป็นผู้ส่งออกรายใหญ่ของโลก วางแผนที่จะเปลี่ยนเส้นทางน้ำมันดิบบางส่วนจากจีนไปยังยุโรปในเดือนกรกฎาคม

– ตลาดน้ำมันได้รับแรงกดดันจากการที่กรุงปักกิ่งประกาศล็อกดาวน์เขตเฉาหยางซึ่งเป็นเขตที่มีประชากรมากที่สุดของปักกิ่ง และสั่งปูพรมตรวจเชื้อโควิด-19 ครั้งใหญ่เพื่อควบคุมการแพร่ระบาด ซึ่งมาตรการดังกล่าวทำให้คาดการณ์ว่ากิจกรรมทางเศรษฐกิจและความต้องการใช้น้ำมันในจีนจะชะลอตัวลง

ราคาน้ำมันเบนซิน – ปรับลดลงมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ เนื่องจากจีนคาดจะเพิ่มการส่งออกมากขึ้น หลังมีการประกาศใช้มาตรการล็อกดาวน์ อย่างไรก็ดี ราคายังได้รับแรงหนุนจากอุปสงค์ในอียิปต์

ราคาน้ำมันดีเซล – ปรับลดลงมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ เนื่องจากอุปทานที่ปรับเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะจากไต้หวัน ขณะที่อุปสงค์จากเวียดนามมีแนวโน้มทรงตัว หลังรัฐบาลลดภาษีการนำเข้าเพื่อชะลอผลกระทบของราคาที่สูงขึ้น

หน่วยวิเคราะห์สถานการณ์ราคาน้ำมัน บมจ. ไทยออยล์

 

@mitihoonwealth
https://lin.ee/cXAf0Dp