วิเคราะห์สถานการณ์ราคาน้ำมัน

98

ราคาน้ำมันดิบร่วง จากความกังวลภาวะเศรษฐกิจถดถอย และความไม่แน่นอนของการผลิตในอนาคตจากกลุ่ม OPEC+

– ราคาน้ำมันดิบปรับลดลงกว่า 3% หลังดัชนีหุ้นหลักทั้งสามของสหรัฐฯ ในเดือน มิ.ย. และไตรมาสที่สองปิดตัวอยู่ในแดนลบ โดยดัชนี S&P 500 ปรับตัวลดลงสูงที่สุดนับตั้งแต่ปี 2513 ด้วยความกังวลว่าความมุ่งมั่นที่จะควบคุมอัตราเงินเฟ้อของธนาคารกลางสหรัฐฯ โดยการเร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย จะขัดขวางการเติบโตของเศรษฐกิจทั่วโลก

-/+ จากการประชุมของกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมันและชาติพันธมิตร (OPEC+) มีมติให้ยึดข้อตกลงเดิมในการเพิ่มกำลังการผลิตน้ำมันที่ 648,000 บาร์เรลต่อวัน ในเดือน ก.ค. และ ส.ค. 65 นอกจากนี้ทางกลุ่มยังปฏิเสธการหารือถึงนโยบายการผลิตสำหรับเดือน ก.ย. 65

+ อุปทานน้ำมันตึงตัวมากขึ้น จากการระงับการขนส่งของลิเบียจากท่าเรือตะวันออกสองแห่ง ในขณะที่ผลผลิตจากเอกวาดอร์ลดลงเนื่องจากบริษัทปิโตรเอกวาดอร์ (Petroecuador) ซึ่งเป็นบริษัทน้ำมันของรัฐบาลเอกวาดอร์ประกาศภาวะสุดวิสัย (force majeure) เนื่องจากเหตุการณ์ประท้วงรุนแรงทั่วประเทศได้ส่งผลกระทบต่อการผลิตน้ำมัน นอกจากนี้พนักงานที่แท่นขุดเจาะน้ำมันนอกชายฝั่งของนอร์เวย์ จะนัดหยุดงานตั้งแต่วันที่ 5 ก.ค. ซึ่งจะส่งผลให้การผลิตน้ำมันของนอร์เวย์หายไปประมาณ 4%

ราคาน้ำมันเบนซิน – ปรับตัวลดลงมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ จากน้ำมันเบนซินคงคลังสหรัฐฯ ปรับเพิ่มขึ้น 2.6 ล้านบาร์เรล สวนทางกับที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าจะปรับตัวลดลง 452,000 บาร์เรล อย่างไรก็ตามความต้องการใช้น้ำมันเบนซินในภูมิภาคยังคงอยู่ในระดับสูง

ราคาน้ำมันดีเซล – ปรับตัวลดลงมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ ได้รับแรงกดดันจากอุปทานที่เพิ่มขึ้นจากการปรับเพิ่มกำลังการผลิตของโรงกลั่นในเอเซีย ส่งผลให้มีการส่งออกน้ำมันดีเซลมากขึ้น โดยเฉพาะจากเกาหลีใต้ อีกทั้งน้ำมันดีเซลคงคลังสหรัฐฯ ปรับเพิ่มขึ้น 2.6 ล้านบาร์เรล

 

หน่วยวิเคราะห์สถานการณ์ราคาน้ำมัน บมจ. ไทยออยล์

 

@mitihoonwealth
https://lin.ee/cXAf0Dp