Summary
-
ตลาด: นักเก็งกำไรเข้าซื้อสัญญาพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ระยะยาวอายุ 10 ปีต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ที่ 2 ในปริมาณค่อนข้างมาก
-
น้ำมัน: ปธน. ไบเดน ประสบความล้มเหลวในการขอความร่วมมือเพิ่มกำลังการผลิตน้ำมันดิบจากซาอุดีอาระเบีย
Chart of the Day
-
ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ปรับตัวลดลงเร็วจากความกังวลต่อสภาวะเศรษฐกิจถดถอย
Highlight
-
US NAHB Housing Market Index (Jul): 55 pts (vs. 67 prev and 65 cons)
Today’s Data Releases
- สหรัฐฯ: ยอดก่อสร้างบ้านใหม่ (Housing Starts) และยอดขออนุมัติสร้างบ้าน (Building Permits) เดือน มิ.ย.
Upcoming Events
-
(19-23 ก.ค.) ครม. มีมติให้มีการอภิปรายไม่ไว้วางใจในช่วงวันที่ 19 – 23 ก.ค. โดยจะมีการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคล ทั้งนี้ ประเด็นดังกล่าวอาจจะทำให้ความไม่แน่นอนทางการเมืองเพิ่มขึ้น
-
(20-21 ก.ค.) การประชุม BoJ คาด BoJ จะยังคงนโยบายการเงินไว้เช่นเดิม ทั้งในส่วนของอัตราดอกเบี้ยนโยบายและมาตรการ Yield Curve Control โดยเราคาด BoJ จะยังคงจุดยืนทางนโยบายที่ผ่อนคลายไปตลอดจนสิ้นสุดวาระของนาย Haruhiko Kuroda ผู้ว่าฯ BoJ ในเดือน เม.ย. 2023 เป็นอย่างน้อย ตามคาดการณ์เงินเฟ้อที่จะยังคงห่างไกลเป้าหมายที่ 2% ในระยะปานกลาง (แม้ในระยะสั้นจะเร่งตัวขึ้นมากจากผลของราคาพลังงานที่ปรับขึ้นมามาก และผลของฐานต่ำจากมาตรการลดค่าบริการโทรศัพท์ในปีก่อน)
-
(21 ก.ค.) การประชุม ECB คาด ECB ปรับขึ้นดอกเบี้ย 25bps เพื่อรับมือกับเงินเฟ้อที่สูงกว่าเป้าหมายอย่างมาก โดยคาด ECB จะปรับดอกเบี้ยขึ้นอย่างน้อย 75-100bps ในช่วงครึ่งหลังของปี ทั้งนี้ ในเดือน ก.ย. อาจมีการปรับขึ้นดอกเบี้ยมากถึง 50bps ขึ้นอยู่กับคาดการณ์เงินเฟ้อในระยะกลาง (ปี 2024F) ตามที่ ECB ได้ส่งสัญญาณไว้ก่อนหน้านี้
-
(26 ก.ค.) IMF ออกทบทวนรายงานประมาณการเศรษฐกิจฉบับใหม่ (WEO Update) คาดมีแนวโน้มปรับลดคาดการณ์เศรษฐกิจโลกลง จากปัญหาเงินเฟ้อที่สูงยาวนาน และการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางทั่วโลก กดดันการฟื้นตัวของเศรษฐกิจหลังวิกฤต COVID-19 คลี่คลายลง ทั้งนี้ ในรายงานฉบับเดือน เม.ย. IMF คาดเศรษฐกิจโลกขยายตัว 3.6% ในปีนี้และปีหน้า
-
(26-27 ก.ค.) คาด Fed ปรับขึ้นดอกเบี้ย 75bps สู่ระดับ 2.25-2.50% เพื่อรับมือกับเงินเฟ้อที่ยังขยายตัวในระดับสูงและยังไม่ชะลอตัว ติดตามการส่งสัญญาณของนาย Powell เกี่ยวกับความเป็นไปได้ในการขึ้นดอกเบี้ยครั้งละ 50-75bps ในการประชุม 2 ครั้งหน้า (เดือน ก.ย. และ พ.ย.) เพื่อรับมือกับเงินเฟ้อที่มีแนวโน้มขยายตัวในระดับสูงยาวนาน
Key economic events and data releases Source: Bloomberg, TISCO Economic Strategy Unit (ESU)
Global Economic Pulse
Figure 1: นักเก็งกำไรเข้าซื้อสัญญาพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯระยะยาวอายุ 10 ปีต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ที่ 2 ในปริมาณค่อนข้างมาก Source: Bloomberg, CFTC, TISCO Economic Strategy Unit (ESU)
Figure 2: กำลังการผลิตจริงของซาอุดีอาระเบียในเดือน มิ.ย. อยู่ที่ 10.5 ล้านบาร์เรลต่อวัน ต่ำกว่าโควต้าการผลิต และมีความเสี่ยงที่จะไม่สามารถเร่งกำลังการผลิตไปที่ระดับ 11 ล้านบาร์เรลต่อวัน ภายในเดือน ส.ค. ตามโควต้าที่ได้รับ Source: Bloomberg, TISCO Economic Strategy Unit (ESU)
ESU Risk Indicators: 1) Bond yield ที่เพิ่มขึ้นสะท้อนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจซึ่งเป็นปัจจัยบวกต่อตลาดหุ้น อย่างไรก็ดี Bond yield ที่เพิ่มขึ้นมากเกินไปอาจกลับมากดดัน Valuation ของตลาดหุ้นได้ Movement: Bond yield 10 ปี ลดลงมาอยู่ในระดับ 2.9 – 3.0% ท่ามกลางความกังวลภาวะเศรษฐกิจถดถอยที่เพิ่มสูงขึ้น จากผลกระทบของการเร่งขึ้นดอกเบี้ยของ Fed เพื่อสกัดเงินเฟ้อที่ยังคงเร่งตัวขึ้นต่อเนื่อง Source: Bloomberg, TISCO Economic Strategy Unit (ESU)
2) คาดการณ์เงินเฟ้อในระยะยาว ซึ่งหากอยู่ระดับสูงกว่า 2.5% อย่างต่อเนื่อง Fed จะยังคงใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวด เพื่อลดความเสี่ยงจากปัญหาการปรับขึ้นราคาไม่สิ้นสุด (Wage-price spiral) Movement: คาดการณ์เงินเฟ้อระยะยาว (10 Year Breakeven Inflation) ลดลงสู่ระดับ 2.3% ต่ำกว่าระดับ 2.5% ท่ามกลางนโยบายการเงินที่ตึงตัวขึ้นมาก หลัง Fed ส่งสัญญาณเร่งขึ้นดอกเบี้ยอย่างต่อเนื่องเพื่อสกัดเงินเฟ้อ Source: Bloomberg, TISCO Economic Strategy Unit (ESU)
3) ส่วนต่างระหว่างผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 10 ปี และ 2 ปี (Yield spread) ซึ่งสะท้อนวัฏจักรของเศรษฐกิจ โดยเมื่อส่วนต่างลดลงจนติดลบ (Yield curve invert) ชี้ว่าเศรษฐกิจกำลังอยู่ในช่วงปลายของวัฏจักร และมีความเสี่ยงที่เศรษฐกิจจะเข้าสู่ภาวะถดถอย (Recession) ในอดีตตั้งแต่ปี 1956 เศรษฐกิจสหรัฐฯ จะเข้าสู่ Recession หลัง Yield curve invert โดยเฉลี่ย 19 เดือน รอบนี้ Yield @mitihoonwealth |