วิเคราะห์สถานการณ์ราคาน้ำมัน

82

ราคาน้ำมันดิบปรับตัวลง หลังตลาดกังวลดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐฯ

– ราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสและเบรนท์ปรับตัวลดลง หลังดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐฯ ปรับตัวลดลงกว่าร้อยละ 2.7 สู่ระดับ 95.7 ซึ่งมากกว่าที่ตลาดคาดการณ์ว่าจะปรับลดลงสู่ระดับ 97.2 และแตะระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน ก.พ. 2564 ที่ผ่านมา จากความกังวลต่ออัตราเงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ยที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ซึ่งคาดว่าจะส่งผลกดดันความต้องการจับจ่ายใช้สอย การเติบโตทางเศรษฐกิจ และความต้องการใช้น้ำมัน ในไตรมาสนี้

– รัฐบาลสหรัฐฯ เผยแผนการขายน้ำมันดิบจากคลังสำรองน้ำมันเชิงยุทธศาสตร์ (SPR) เพิ่มเติมกว่า 20 ล้านบาร์เรล หลังจากที่วางแผนในเดือน มี.ค. 65 ที่ผ่านมา ในเพิ่มอุปทานน้ำมันดิบจากคลังสำรองราว 1 ล้านบาร์เรลต่อวัน เป็นระยะเวลา 6 เดือน ซึ่งเป็นแผนต่อเนื่องเพื่อลดความร้อนแรงของราคาน้ำมันจากเหตุความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครนตั้งแต่ตั้นปีที่ผ่านมา ท่ามกลางอุปสงค์ความต้องการใช้น้ำมันที่ฟื้นตัวจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในช่วงก่อนหน้า

-/+ สหภาพยุโรปมีมติจำกัดการใช้ก๊าซธรรมชาติของประเทศในกลุ่ม หลังรัสเซียจำกัดการส่งก๊าซธรรมชาติจากเหตุความขัดแย้งในการปฏิบัติการด้านทหารของรัสเซียในยูเครน โดยบริษัท Gazprom ของรัสเซียปรับลดการส่งออกก๊าซธรรมชาติผ่านท่อก๊าซธรรมชาติ Nord Stream 1 ลงมาเหลือที่ 20% ของกำลังการผลิต หลังก่อนหน้านี้กลับมาดำเนินการส่งออกที่ราว 40% ของกำลังการผลิต

ราคาน้ำมันเบนซิน – ปรับตัวเพิ่มขึ้นมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ หลังได้รับแรงหนุนจากอุปทานในภูมิภาคที่ยังคงจำกัด ท่ามกลางอุปสงค์ในภูมิภาคที่จำกัดในอินโดนิเซียจากเตรียมออกมาตรการจำกัดการนำเข้าน้ำมันเบนซิน และการขับขี่ที่ลดลงในเวียดนาม

ราคาน้ำมันดีเซล – ปรับตัวเพิ่มขึ้นมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ หลังได้รับแรงหนุนจากอุปสงค์ในภูมิภาคที่ยังอยู่ในระดับดี ท่ามกลางอุปทานที่มีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเกาหลีใต้ จีน อินเดีย และตะวันออกกลาง

หน่วยวิเคราะห์สถานการณ์ราคาน้ำมัน บมจ. ไทยออยล์

 

@mitihoonwealth
https://lin.ee/cXAf0Dp