วิเคราะห์สถานการณ์ราคาน้ำมัน

101

ราคาน้ำมันดิบปรับเพิ่มเล็กน้อย ท่ามกลางความกังวลภาวะเศรษฐกิจถดถอยทั่วโลก และค่าเงินดอลลาร์ที่แข็งค่าขึ้น

+/- ราคาน้ำมันดิบปรับเพิ่มเล็กน้อย หลังจากที่ปรับลดลงอย่างมากจากสัปดาห์ก่อนหน้า อย่างไรก็ตามตลาดยังคงกังวลกับภาวะเศรษฐกิจถดถอยทั่วโลก จากตัวเลขเศรษฐกิจที่อ่อนแอของทั้ง สหรัฐฯ ยูโรโซน และจีน ซึ่งเป็นสัญญาณการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลง และอาจส่งผลให้อุปสงค์น้ำมันลดลง นอกจากนี้ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐที่แข็งค่าขึ้นสูงสุดในรอบ 5 สัปดาห์ จากการคาดการณ์ว่าธนาคากลางสหรัฐฯ (FED) จะเร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ยังเป็นอีกปัจจัยที่กดดันราคาน้ำมันเนื่องจากสัญญาน้ำมันดิบจะมีราคาแพงขึ้น สำหรับนักลงทุนที่ถือเงินสกุลอื่น ส่งผลให้ความน่าสนใจในการลงทุนในตลาดน้ำมันลดลง

– สำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐฯ (EIA) รายงานกำลังการผลิตของโรงกลั่นในสหรัฐฯ ปรับตัวลดลง 158,000 บาร์เรลต่อวัน โดยลดลง 0.8% ทำให้กำลังการผลิตโดยรวมของโรงกลั่นในสหรัฐฯ อยู่ที่ระดับ 93.5%

– Baker Hughes รายงานจำนวนแท่นขุดเจาะน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติสหรัฐฯ ทรงตัวที่ระดับ 601 แท่น ในสัปดาห์นี้  โดยผู้ผลิตจะค่อยๆ เพิ่มการผลิตจนถึงระดับก่อนเกิดโรคระบาด และคาดว่าการผลิตน้ำมันจากชั้นหินในเดือน ก.ย. จะเพิ่มขึ้นจนแตะระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือน มี.ค. 63

+ อย่างไรก็ตามนักวิเคราะห์มองว่าอุปทานน้ำมันอาจตึงตัวอีกครั้ง เมื่อผู้ซื้อในยุโรปเริ่มมองหาน้ำมันดิบจากภูมิภาคอื่นๆ เพื่อมาทดแทนการนำเข้าน้ำมันดิบจากรัสเซีย ปริมาณ 1.2 ล้านบาร์เรลต่อวัน ก่อนที่มาตรการคว่ำบาตรของสหภาพยุโรปจะมีผลตั้งแต่วันที่ 5 ธ.ค.

ราคาน้ำมันเบนซิน – ปรับตัวเพิ่มขึ้นน้อยกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ จากอุปสงค์น้ำมันเบนซินในภูมิภาคที่ชะลอตัวลงโดยเฉพาะที่อินโดนีเซีย และมาเลเซีย ในขณะที่เกาหลีใต้ ไต้หวัน และอินเดียส่งออกน้ำมันเบนซินเพิ่มสูงขึ้น

ราคาน้ำมันดีเซล – ปรับตัวเพิ่มขึ้นน้อยกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ จากน้ำมันดีเซลคงคลังสิงคโปร์ ปรับเพิ่มขึ้น 5.4% อีกทั้งการส่งออกน้ำมันดีเซลของซาอุดีอาระเบียที่เพิ่มสูงขั้นแตะระดับ 745,000 บาร์เรลต่อวัน ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือน ธ.ค. 64

หน่วยวิเคราะห์สถานการณ์ราคาน้ำมัน บมจ. ไทยออยล์

 

 

@mitihoonwealth
https://lin.ee/cXAf0Dp