นักศึกษาจากล้านนา คว้าที่ 1 โครงการประกวดแบบ “BIMobject Green Design Competition 2022” “CPAC Green Solution” ร่วมสนับสนุนพร้อมมอบเงินรางวัลรวมมูลค่ากว่า 400,000 บาท

135

มิติหุ้น – เรียกว่าประสบความสำเร็จเกินคาดสำหรับโครงการประกวดแบบ BIMobject Green Design Competition 2022” ครั้งแรก! ของการประกวดแบบ BIM ระดับประเทศ ที่ให้นิสิตนักศึกษาทั่วฟ้าเมืองไทยมาร่วมมือกันสร้างสรรค์การก่อสร้างสีเขียว ภายใต้ธีม “Green Construction” ล้ำ เปลี่ยน โลก ผ่านการนำกระบวนการ BIM และเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ ร่วมกับการเลือกใช้วัสดุก่อสร้างที่เป็นมิตรกับสิ่งเเวดล้อม เเละการก่อสร้างด้วยระบบ Modular 

โดยงานนี้ได้รับความสนใจจากเหล่านิสิตนักศึกษาที่แท็กทีมส่งผลงานกันมากว่า 70 ทีม และคัดเหลือเพียง 10 ทีมสุดท้ายในการร่วมโชว์ศักยภาพ การประยุกต์ใช้ความคิดสร้างสรรค์ออกแบบสิ่งก่อสร้าง เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตให้ตอบรับกับวิถีชีวิตรูปแบบใหม่ได้อย่างยั่งยืน ภายใต้โจทย์การออกแบบ Green Co-Living Space-ชุมชนสีเขียว, Green Material-การเลือกใช้วัสดุเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และ Green Construction-การออกแบบอาคารโดยใช้กระบวนการ BIM ชิงเงินรางวัลมูลค่ารวมกว่า 400,000 บาท จัดขึ้นโดย BIMobject Thailand พร้อมด้วย CPAC Green Solution ในฐานะผู้สนับสนุนหลักฯ ซึ่งผู้ที่ประเดิมคว้ารางวัลชนะเลิศไปครองเป็นของทีม คณะลาบ ประกอบด้วยสมาชิกในทีม ได้แก่ นายอุดมศักดิ์ คำหล้า, นายจิรพัช พรหมแก้ว และ นายธนพงศ์ ลิ่วยอดสิงขร นักศึกษาชั้นปีที่ 5 จากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา (เชียงใหม่) กับผลงานสุดโฮมมี่ที่ชื่อว่า HomeWork”  

นางสาวกัลยา วรุณโณ Green Solution and New Business Marketing Director CPAC Green Solution ในฐานะผู้สนับสนุนหลักโครงการประกวดฯ กล่าวว่า ยินดีกับน้องๆ ทุกคนที่ได้รับรางวัลในวันนี้ ทาง CPAC Green Solution เอง รู้สึกภูมิใจเป็นอย่างมากที่ได้สนับสนุนการประกวดโครงการ BIMobject Green Design Competition 2022 ในครั้งนี้ ซึ่งถือเป็นส่วนผลักดันในการขับเคลื่อนแนวทาง ESG และเป็นการปลูกฝังให้เหล่านิสิตนักศึกษา หรือคนรุ่นใหม่ได้ใส่ใจในสินค้าและบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม อีกทั้งยังได้มอบประสบการณ์และความรู้ ทั้งในด้านการใช้ทรัพยากรหมุนเวียน เปลี่ยน Waste หรือความสูญเสียให้เป็น Value หรือการสร้างผลประโยชน์คืนกลับสู่สังคม เพื่อยกระดับมาตรฐานการก่อสร้างของประเทศให้เติบโตอย่างยั่งยืน” 

CPAC Green Solution มีความมุ่งมั่นที่จะผลักดัน Green Construction ผ่านการให้ความรู้เชิงปฏิบัติงานจริง ด้วยการเลือกใช้วัสดุที่สอดคล้องกับเกณฑ์การประเมินความยั่งยืนทางพลังงานและสิ่งแวดล้อมไทย ได้แก่ CPAC Precast Concrete System Solution, CPAC 3D Printing Solution เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการออกแบบการประกวด ผ่านโจทย์การออกแบบ Green Co-Living Space ชุมชนสีเขียวซึ่งประกอบด้วยอาคาร Low-Rise ให้เช่าเพื่ออยู่อาศัยประมาณ 9 ยูนิต พื้นที่ใช้สอยประมาณ 500 ตร.ม., Green Material การเลือกใช้วัสดุเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมให้สอดคล้องกับเกณฑ์การประเมินความยั่งยืนทางพลังงานและสิ่งแวดล้อมไทย และ Green Construction ใช้กระบวนการ BIM ในการออกแบบอาคาร โดยต้องคำนึงถึงการใช้ระบบ Prefabricated ผสมผสานการใช้เทคโนโลยี 3D Printing” 

ทั้งนี้ ภายในงานยังได้รับเกียรติจาก ดร.วิลสา วิจิตรวาทการ กรรมการผู้จัดการ BIMobject Thailand ร่วมงาน พร้อมด้วย ดร.ทศพร ศรีเอี่ยม ผู้อำนวยการสถาบัน BIM ในวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย, ดร.สิงห์ อินทรชูโต หัวหน้าคณะที่ปรึกษาศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน (RISC), นายไพทยา บัญชากิติคุณ Managing Director Atom Design, นางสาวกัลยา วรุณโณ Green Solution and New Business Marketing Director – Marketing and Branding, Cement and Green Solution Business ในธุรกิจซีเมนต์และผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง เอสซีจี และนายธงชาติ ชินสีห์ Managing Director Hook Architects & Goodwill of Work Company Limited ร่วมเป็นกรรมการตัดสิน ณ ห้อง Amber 3 อิมแพ็ค เมืองทองธานี พร้อมเผยผลผู้ชนะรางวัลต่างๆ ดังนี้

  • ผู้ชนะเลิศ อันดับที่ 1 เงินรางวัล 200,000 บาท พร้อมคอร์สอบรม Autodesk Revit Learning Path มูลค่า 45,000 บาท ได้แก่ นายอุดมศักดิ์ คำหล้า, นายจิรพัช พรหมแก้วและ นายธนพงศ์ ลิ่วยอดสิงขร  “ทีมคณะลาบ” นักศึกษาชั้นปีที่ จากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา (เชียงใหม่) 
  • รองชนะเลิศ อันดับที่ เงินรางวัล 100,000 บาท พร้อมคอร์สอบรม Autodesk Revit Learning Path มูลค่า 45,000 บาท ได้แก่ นายเอกดนัย รถกิจ และนายธนธรรศ รัตนอำนวยศิริ “ทีม Parimonton Architects”  นักศึกษาชั้นปีที่ จากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • รองชนะเลิศ อันดับที่ 3 เงินรางวัล 50,000 บาท พร้อมคอร์สอบรม Autodesk Revit Learning Path มูลค่า 45,000 บาท ได้แก่ นางสาวพิมพ์ชนก ประวันไหว้, นายอัษฎาวุธ ภูมิลา และ นางสาววาทินี แนบพลกรัง “ทีมใหญ่”  จากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 
  • นอกจากนี้ยังมี รางวัลชมเชย รางวัลละ 10,000 บาท อีก รางวัล รวมมูลค่าทั้งสิ้น 420,000 บาท

นายอุดมศักดิ์ คำหล้า ตัวแทนจากทีม “คณะลาบ” ผู้ชนะเลิศการประกวดฯ เผยถึงการเข้าร่วมการประกวดแบบ BIM ครั้งนี้ว่า “รู้สึกภูมิใจมากกับรางวัลที่ได้มา ต้องขอบคุณเพื่อนๆ ที่เป็นพาร์ทเนอร์ที่ดีและพากันมาทำตามความฝันได้อีกก้าว ซึ่งตอนแรกๆ เรายังใช้งาน BIM ไม่คล่อง ก็มีไปใช้ AutoCAD หรือโปรแกรมอื่นบ้าง แต่พอลองกลับมาใช้ BIM อีกครั้ง ก็รู้สึกถึงความรวดเร็วในเรื่อง Compact ที่สามารถทำงานครบจบในโปรแกรมเดียวได้ ยิ่งได้มีโอกาสเข้าร่วมการประกวดฯ ครั้งนี้ ก็ยิ่งทำให้เห็นเลยว่าการใช้ BIM ในการก่อสร้างอาคาร มันสามารถทำได้อย่างรวดเร็วและว่องไวมากๆ” 

“สำหรับผลงาน “HomeWork” เราได้แรงบันดาลใจมาจากบริบทในเมืองเชียงใหม่ โดยหยิบยกความเป็นซิกเนเจอร์ของบ้านล้านนาสมัยก่อนมาใช้ในการออกแบบ เพราะรู้สึกว่าเป็นบ้านที่มีความสมบูรณ์ มีความโฮมมี่ ทำให้รู้สึกถึงความอบอุ่น คิดถึงภาพวันเก่าๆ ทั้งนี้เราได้นำกระบวนการที่ได้จากการเรียนรู้ในกิจกรรมต่างๆ มาปรับใช้ในการพัฒนาผลงานให้ดียิ่งขึ้น โดยเฉพาะกิจกรรม Boot Camp อาทิ การใช้โปรแกรมแบบโซล่าร์ การ Analysis หรือการเรียนรู้ที่จะใช้โปรดักส์จาก CPAC Green Solution ในการนำมาปรับใช้ให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งนับว่าเป็นการปลูกฝังการให้ความสำคัญกับเรื่องของ Green Design Green Construction และ Green Architectures ได้เป็นอย่างดี เพราะจะช่วยส่งเสริมในเรื่องของ Well-being ให้ทั้งผู้อยู่อาศัย และเกิดประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อมได้อย่างยั่งยืนในอนาคตได้” 

ด้าน นายเอกดนัย รถกิจ ตัวแทนจากทีม “Parimonton Architects”  ผู้ได้รางวัลรองชนะเลิศเผยว่า สำหรับการประกวดแบบ BIMobject Green Design Competition ครั้งนี้ เหมือนเราได้ลอง Explore โลกใหม่ๆ ซึ่งก่อนหน้านี้เราก็ไม่เคยรู้ว่าในการออกแบบอุตสาหกรรมนี้ มันมีมิติในการคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมยังไงบ้าง พอได้มาประกวดงานนี้ ก็ได้เรียนรู้ในการทำ Simulation เรียนรู้กับวัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ได้รู้จักข้อจำกัดของวัสดุต่างๆ ในการก่อสร้างอาคารเขียวมากขึ้น โดยเฉพาะการออกแบบด้วย BIM ช่วงแรกๆ จะรู้สึกยาก แต่พอได้เรียนรู้และเริ่มทำความเข้าใจได้มากขึ้น ก็รู้สึกว่ามันง่ายกว่าวิธีเดิมๆ เพราะพอเป็นวิธีเดิมๆ มันจะมีความผิดพลาดของงานค่อนข้างมาก พอได้เรียนรู้ BIM เริ่มเข้าใจจะเห็นว่าความผิดพลาดน้อยลง เรียกว่าเป็นวิธีที่เหมาะกับการนำไปใช้ทำแบบจริงๆ” 

“ที่สำคัญคือประทับใจการประกวดโครงการนี้ ตั้งแต่เริ่ม Consult ในวันแรกจนถึงวันนี้เลย ต้องขอบคุณอาจารย์ทุกท่านมากๆ ที่ทำให้เราได้กลับไปพัฒนาผลงานต่อให้ดีจนได้รางวัลในวันนี้ รู้สึกสนุกและประทับใจมากครับ” 

@mitihoonwealth

https://lin.ee/cXAf0Dp