กลุ่มแบงก์ Q3ยังแกร่งโบรกคาดโต 27%

427

มิติหุ้น – บล.พายระบุว่า ท่ามกลางปัจจัยค้างค่าเกี่ยวกับเศรษฐกิจชะลอตัวและเงินเฟ้อที่สูงขึ้นทั่วโลก แต่ปัจจัยพื้นฐานของกลุ่มธนาคารยัง ยืดหยุ่นดี ด้วยการเติบโตของกำไรสุทธิที่มั่นคง คุณภาพสินเชื่อที่มีเสถียรภาพ และอัตราผลตอบแทนผู้ถือหุ้น (ROE) ที่มีโอกาสปรับ สูงขึ้น คาดกำไรสุทธิของกลุ่มโต 19% YoY ในปี 2022 และ 11% YoY ในปี 2023 ขณะที่คาดกำไรสุทธิโดยรวมในไตรมาส 3/22 โต 27% YoY (+1% QoQ) คงมุมมองเชิง “บวก” เลือก BBL และ SCB เป็นหุ้นเด่น

คาดกำไรโตรมาส 3/22 โต 27% YoY และ 1% QoQ

• คาดธนาคาร 8 แห่งที่วิเคราะห์อยู่จะรายงานกำไรสุทธิโดยรวมที่ 4.58 หมื่นล้านบาท โตขึ้น 27% YoY (-1% QoQ) ในไตรมาส 3/22 แม้รายได้ ค่าธรรมเนียมซับเซาจากความผันผวนของตลาดทุน แต่การเติบโต YoY ได้แรงหนุนจากรายได้ดอกเบี้ยสุทธิที่สูงขึ้นจากการเติบโตของสินเชื่อ และการตั้งสำรองหนี้ฯ ที่ลดลง การเติบโตเล็กน้อย QoQ เป็นผลจากรายได้ดอกเบี้ยสุทธิที่สูงขึ้น แม้รายได้ค่าธรรมเนียมจะลดลงและค่าใช้จ่าย การดำเนินงานสูงขึ้น • คาดกำไรสุทธิ BBL, KBANK, และ SCB จะโตขึ้นทั้ง YoY และ QoQ ส่วน KKP, KTB, TCAP, TISCO, และ TTB น่าจะโต YoY แต่ลดลง QoQ

สินเชื่อโดยย่าง นกและคุณภาพสินเชื่อที่มีเสถียรภาพ

คาดสินเชื่อโดยรวมในไตรมาส 3/22 โต 1.3% QoQ (2022: +1.2%) ทำให้ตัวเลขสะสม 9 เดือนโตขึ้น 3.1% YTD ขณะที่คาดว่า BBL และ KKP จะมีสินเชื่อที่โตโดดเด่น และประเมินว่าสินเชื่อทั้งปี 2022 จะโท 4.7% • คาดอัตราส่วนหนี้สินที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL ratio) ของกลุ่มทรงตัวที่ 4% ในไตรมาส 3/22 ประเมินว่าอัตราส่วนการตั้งสำรองหนี้ฯ จะยังอยู่ ในระดับสูงที่ 165% เพียงพอต่อความไม่แน่นอนในอนาคต

แม้เศรษฐกิจระยะตัว แต่กำไรสุทธิของกลุ่มธนาคารยังโตต่อเนื่อง

– เศรษฐกิจการลงจากเงินเฟ้อและดอกเบี้ยที่สูงขึ้น บวกกับความไม่แน่นอนของประเด็นทางภูมิรัฐศาสตร์ แต่ยังคาดว่ากำไรของกลุ่ม

ธนาคารจะจัดต่อเนื่อง 19% YoY ในปี 2022 และ 11% YoY ในปี 2023 คาดได้รับแรงหนุนจากรายได้ดอกเบี้ยสุทธิที่โตขึ้นจากการขยายตัวของ

สินเชื่อ อัตราส่วนต่างดอกเบี้ย (NIM) และการตั้งสำรองหนี้ฯ ที่ลดลง คาด ROE ของกลุ่มจะเพิ่มขึ้นเป็น 8.2% ในปี 2022 และ 9.2% ในปี 2023 เทียบกับ 7.3% ในปี 2021

เลือก BBL และ SCB เป็นหุ้นเด่นในกลุ่มธนาคาร

• คงมุมมองเชิง “บวก” กลุ่มธนาคารเพราะ 1) กำไรสุทธิโตอย่างมั่นคง 2 งบดุลยืดหยุ่น (อัตราการตั้งสำรองหนี้ฯ และฐานเงินทุน แข็งแกร่ง) พร้อมรับมือกับความไม่แน่นอน และ 3) มูลค่าหุ้นที่ไม่แพง ซื้อขายกันที่ 0.7x PEV22E หรือ -1.0SD ต่อค่าเฉลี่ย 5 ปี

ชอบกลุ่มธนาคารขนาดใหญ่ เพราะมีพอร์ตสินเชื่อหลากหลายมากกว่าและมีโอกาสได้ประโยชน์จากการปรับเพิ่มดอกเบี้ยที่จะไปกระตุ้น NIM ขึ้น เลือก BBL (“ซื้อ” มูลค่าพื้นฐาน 164.00 บาท) SCB (“ซื้อ” มูลค่าพื้นฐาน 144.00 บาท) เป็นหุ้นเด่นในกลุ่มธนาคาร เพราะต่างมีงบดุลที่ ยืดหยุ่นดี การเติบโตของกำไร ก็เล่าต่อเนื่อง และมูลค่าหุ้นน่าดึงดูด

@mitihoonwealth

https://lin.ee/cXAf0Dp