สถานการณ์ตลาดน้ำมันสัปดาห์ที่ 17 – 21 ต.ค. 65 และแนวโน้ม 24 – 28 ต.ค. 65

112

ราคาน้ำมันดิบในสัปดาห์ล่าสุดลดลง เนื่องจากนักลงทุนกังวลต่อเศรษฐกิจโลกซึ่งอาจชะลอตัว ขณะที่ธนาคารกลางของทั้งสหรัฐฯ และยุโรปมีแนวโน้มจะยังคงนโยบายการเงินแบบตึงตัว โดยผลสำรวจ (Poll) นักวิเคราะห์ของ Reuters คาดการณ์การประชุมธนาคารกลางยุโรป (ECB) ในวันที่ 27 ต.ค. 65 จะมีมติปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายสำหรับการปล่อยสภาพคล่องให้ระบบธนาคารพาณิชย์ (Main Refinancing Operations Rate) อีก 0.75% มาอยู่ที่ 1.75% และในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินของสหรัฐฯ (Federal Open Market Committee: FOMC) วันที่ 1-2 พ.ย. 65 จะมีมติปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 0.75% อยู่ที่ 3.75-4% และกว่า 60% คาดการณ์ว่า FOMC จะทยอยปรับขึ้นดอกเบี้ยไปแตะระดับสูงสุดที่ 4.5-4.75% ในไตรมาส 1/66

EIA ของสหรัฐฯ คาดการณ์ปริมาณการผลิต Shale Oil จาก 7 แหล่งผลิตใหญ่ ในเดือน พ.ย. 65 จะเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 104,000 บาร์เรลต่อวัน มาอยู่ที่ 9.11 ล้านบาร์เรลต่อวัน สูงสุดตั้งแต่เดือน มี.ค. 63 ทั้งนี้สหรัฐฯ ผลิตน้ำมันดิบในสัปดาห์สิ้นสุด 14 ต.ค. 65 เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อน 100,000 บาร์เรลต่อวัน อยู่ที่ 12.00 ล้านบาร์เรลต่อวัน

ปัจจัยที่กระทบต่อราคาน้ำมันดิบในเชิงลบ

  • ประธานาธิบดี Joe Biden แห่งสหรัฐฯ ประกาศยืนยันแผนระบายน้ำมันดิบจากคลังสำรองปิโตรเลียมเชิงยุทธศาสตร์ (Strategic Petroleum Reserve: SPR) ที่เหลือปริมาณ 15 ล้านบาร์เรล อยู่ภายใต้มาตรการระบายน้ำมันดิบจากคลัง SPR ปริมาณรวม 180 ล้านบาร์เรล ในช่วง เม.ย.- ต.ค. 65 ที่ประกาศตั้งแต่เดือน มี.ค. 65 เพื่อกดดันราคาขายปลีก Gasoline ในประเทศที่เพิ่มขึ้น ก่อนการเลือกตั้งกลางเทอม (Midterm Election) ในวันที่ 8 พ.ย. 65
  • Joint Organizations Data Initiative (JODI) รายงานปริมาณการผลิตน้ำมันดิบของซาอุดีอาระเบีย ในเดือน ส.ค. 65 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 236,000 บาร์เรลต่อวัน อยู่ที่ 05 ล้านบาร์เรลต่อวัน และส่งออกน้ำมันดิบเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 220,000 บาร์เรลต่อวัน มาอยู่ที่ 7.60 ล้านบาร์เรลต่อวัน สูงสุดตั้งแต่เดือน เม.ย. 63

ปัจจัยที่กระทบต่อราคาน้ำมันดิบในเชิงบวก

  • อุปสงค์น้ำมันดิบของฝรั่งเศสฟื้นตัว หลังสถานการณ์การประท้วงขอขึ้นค่าแรงที่ยืดเยื้อตั้งแต่ 20 ก.ย. 65 เริ่มคลี่คลาย โดยโรงกลั่น Port Jerome-Gravenchon (240,000 บาร์เรลต่อวัน), Fos-sur-Mer (140,000 บาร์เรลต่อวัน) ของบริษัท ExxonMobil และโรงกลั่น La Mede (153,000 บาร์เรลต่อวัน) ของบริษัท TotalEnergies คาดว่าจะสามารถกลับมาดำเนินการอย่างเต็มกำลังได้ใน 2-3 สัปดาห์ อย่างไรก็ตามการประท้วงที่โรงกลั่น Gonfreville (240,000 บาร์เรลต่อวัน) และโรงกลั่น Feyzin (119,000 บาร์เรลต่อวัน) ของบริษัท TotalEnergies ยังคงดำเนินต่อไป เนื่องจากยังไม่สามารถบรรลุข้อตกลง

 

@mitihoonwealth
https://lin.ee/cXAf0Dp