สรุปภาพรวมภาวะตลาดหลักทรัพย์เดือนตุลาคม 2565

154

มิติหุ้น – ตัวเลขเศรษฐกิจจริงของประเทศสหรัฐฯ กลับมาขยายตัวในไตรมาส 3 ปี 2565 ขณะที่เงินเฟ้อทั่วไปเริ่ม  ชะลอลงแต่ยังสูงกว่าระดับเป้าหมายนโยบายการเงิน ส่งผลให้ผู้ลงทุนคาดว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ ยังมีโอกาสปรับขึ้นดอกเบี้ยต่อไปอีกในปีหน้า อีกทั้งกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ได้ปรับประมาณการเศรษฐกิจโลกในปี 2566 ลงจาก 2.9% ไปที่ 2.7% พร้อมส่งสัญญาณกังวลความเสี่ยงเศรษฐกิจถดถอยซึ่งเป็นผลจากนโยบายการเงินที่ตึงตัวเพื่อชะลอเงินเฟ้อ ทำให้ต้นทุนการเงินโลก และค่าเงินดอลล่าร์ปรับตัวแข็งค่าอาจส่งผลกระทบเชิงลบต่อการฟื้นตัวของประเทศอื่นๆ ที่สถานะเศรษฐกิจยังเปราะบาง ไม่สามารถต้านทานความผันผวนของเงินทุนเคลื่อนย้าย จนเกิดปัญหาขาดสภาพคล่อง และมีความเสี่ยงด้านเครดิตที่เพิ่มสูงขึ้น

 

นายศรพล ตุลยะเสถียร รองผู้จัดการ หัวหน้าสายงานวางแผนกลยุทธ์องค์กร ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า IMF ประเมินตัวเลขการเติบโตของ GDP ไทยยังคงโตต่อเนื่องทั้งในปี 2565 และ 2566 อยู่ที่ 2.8% และ 3.7% ตามลำดับ จากการกลับมาเพิ่มขึ้นของนักท่องเที่ยวต่างชาติในช่วงครึ่งหลังปี 2565 และจะยังคงฟื้นตัวต่อเนื่องในปี 2566 อีกทั้งยังคาดการณ์ว่าอัตราเงินเฟ้อจะกลับเข้าใกล้เคียงกรอบเป้าหมายนโยบายการเงินของธนาคารแห่งประเทศไทยในปี 2566 จากแรงกดดันด้านอุปทานที่ค่อยๆ ลดลงตามราคาสินค้าโภคภัณฑ์ ขณะที่แรงกดดันด้าน   อุปสงค์มีอยู่จำกัด ส่งผลให้ภาพรวมเศรษฐกิจและตลาดหุ้นไทยยังแข็งแกร่ง โดย ณ สิ้นเดือนตุลาคม 2565 SET Index ปรับเพิ่มขึ้นไปในทิศทางเดียวกันกับดัชนีตลาดหลักทรัพย์อื่นในภูมิภาค

 

ภาวะตลาดหลักทรัพย์ไทย

  • ณ สิ้นเดือนตุลาคม 2565 SET Index ปิดที่ 1,76 จุด ปรับเพิ่มขึ้น 1.2% จากเดือนก่อนหน้า โดยปรับเพิ่มขึ้นไปในทิศทางเดียวกันกับดัชนีตลาดหลักทรัพย์อื่นในภูมิภาค และเมื่อเทียบกับสิ้นปี 2564 SET Index ปรับลดลงอยู่ที่ 2.9%
  • SET Index ใน 10 เดือนแรกปี 2565 ได้แรงหนุนจากอุตสาหกรรมที่ได้รับอานิสงส์จากการกลับมาเปิดเมือง โดยกลุ่มอุตสาหกรรมที่ปรับตัวดีกว่า SET Index เมื่อเทียบกับสิ้นปี 2564 ได้แก่ กลุ่มบริการ กลุ่มทรัพยากร และกลุ่มอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง
  • ในเดือนตุลาคม 2565 มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันใน SET และ mai อยู่ที่ 64,036 ล้านบาท ลดลง 27.5% จากเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยใน 10 เดือนแรกปี 2565 มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันอยู่ที่ 80,208 ล้านบาท โดย ผู้ลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิ 7,467 ล้านบาท ทำให้ใน 10 เดือนแรกปี 2565 ผู้ลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิรวม 153,931 ล้านบาท โดยผู้ลงทุนต่างชาติมีสัดส่วนมูลค่าการซื้อขายสูงสุดต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 6
  • ในเดือนตุลาคม 2565 มีบริษัทเข้าจดทะเบียนใหม่ซื้อขายใน SET 1 หลักทรัพย์ ได้แก่ บมจ. พรีไซซ คอร์ปอเรชั่น (PCC) และใน mai 3 หลักทรัพย์ ได้แก่ บมจ. ทเวนตี้ โฟร์ คอน แอนด์ ซัพพลาย (24CS) บมจ. ศูนย์ห้องปฏิบัติการและวิจัยทางการแพทย์และการเกษตรแห่งเอเซีย (AMARC) บมจ. อินเตอร์เนชั่นแนล เน็ตเวิร์ค ซิสเต็ม (ITNS) โดยมูลค่าระดมทุนรวมในหุ้น IPO ของไทยปี 2565 อยู่ยังในระดับต้นๆ ของเอเชีย
  • Forward P/E ของตลาดหลักทรัพย์ไทย ณ สิ้นเดือนตุลาคม 2565 อยู่ที่ระดับ 3 เท่า สูงกว่าค่าเฉลี่ยของตลาดหลักทรัพย์ในเอเชียซึ่งอยู่ที่ระดับ 11.5 เท่า และ Historical P/E อยู่ที่ระดับ 15.2 เท่า สูงกว่าค่าเฉลี่ยของตลาดหลักทรัพย์ในเอเชียซึ่งอยู่ที่ระดับ 10.4 เท่า
  • อัตราเงินปันผลตอบแทน ณ สิ้นเดือนตุลาคม 2565 อยู่ที่ระดับ 83% ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของตลาดหลักทรัพย์ในเอเชียซึ่งอยู่ที่ 3.41%

 

ภาวะตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้า

  • ในเดือนตุลาคม 2565 ตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (TFEX) มีปริมาณการซื้อขายเฉลี่ยต่อวัน 512,031 สัญญา ลดลง 24.4% จากเดือนก่อน ที่สำคัญจากการลดลงของ Single Stock Futures และในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2565 TFEX ปริมาณการซื้อขายเฉลี่ยต่อวัน 559,866 สัญญา เพิ่มขึ้น 1.3% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน

 

@mitihoonwealth
https://lin.ee/cXAf0Dp