กสทช. เคาะ 8 ม.ค. 66 นี้ เปิดประมูลสิทธิในการเข้าใช้วงโคจรดาวเทียมในลักษณะจัดชุด

34

มิติหุ้น  –  พลอากาศโท ดร.ธนพันธุ์ หร่ายเจริญ กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ใช้สิทธิในการเข้าใช้วงโคจรดาวเทียมในลักษณะจัดชุด (Package) ได้ประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาและมีผลบังคับใช้แล้ว โดยหลังจากนี้ สำนักงาน กสทช.
จะเริ่มดำเนินการเพื่อจัดประมูลการอนุญาตให้ใช้สิทธิในการเข้าใช้วงโคจรดาวเทียมในลักษณะจัดชุด 
(Package)
เริ่มจากการเปิดให้รับเอกสารการคัดเลือกเป็นเวลา 4 สัปดาห์ ตั้งแต่วันที่ 4 – 30 พ.ย. 2565 จากนั้น จะจัด Info session เพื่อชี้แจงการเตรียมเอกสารในวันที่ 2 ธ.ค. 2565 และจะเปิดให้ยื่นขอรับอนุญาต (1 วัน) ในวันที่ 27 ธ.ค. 2565 หลังจากนั้น สำนักงาน กสทช. จะทำการตรวจคุณสมบัติ (ใช้เวลา 1 สัปดาห์) ตั้งแต่วันที่ 27 ธ.ค. 2565 – 4 ม.ค. 2566 และจะประกาศรายชื่อผู้เข้าร่วมการคัดเลือก ในวันที่ 4 ม.ค. 2566 จากนั้นสำนักงาน กสทช. จะทำ Mock Auction ในวันที่ 7 ม.ค.2566
สำหรับวันประมูลสิทธิในการเข้าใช้วงโคจรดาวเทียมในลักษณะจัดชุด 
(Package) กำหนดเป็นวันที่ 8 ม.ค. 2566

ในกรณีที่มีผู้เข้าร่วมการประมูลเพียงรายเดียว จะมีการขยายระยะเวลาออกไปอีกไม่น้อยกว่า 14 วัน เริ่มจากเปิดให้รับเอกสารการคัดเลือกในวันที่ 6 – 11 ม.ค. 2566 แล้วจะจัดให้มี Info session อีกครั้งกรณีที่มีผู้เข้าร่วมการประมูลเพิ่มในวันที่ 12 ม.ค. 2566 จากนั้นจะเปิดให้ยื่นขอรับอนุญาต (1 วัน) ในวันที่ 19 ม.ค. 2566 หลังจากนั้นสำนักงาน กสทช. จะทำการตรวจคุณสมบัติ ตั้งแต่วันที่ 20 – 26 ม.ค. 2566 และจะประกาศรายชื่อผู้เข้าร่วมการคัดเลือก ในวันที่ 27 ม.ค. 2566
จากนั้นสำนักงาน กสทช. จะทำ 
Mock Auction ในวันที่ 28 ม.ค. 2566 และจะประมูลในวันที่ 29 ม.ค. 2566 แทน

ขั้นตอนหลังจากนั้น กสทช. จะจัดให้มีการประชุมรับรองผลการประมูลภายใน 7 วัน หลังการประมูล

พล.อ.ท.ดร. ธนพันธุ์ ฯ กล่าวว่า สำหรับหลักเกณฑ์การประมูลสิทธิในการเข้าใช้วงโคจรดาวเทียมในลักษณะ
จัดชุด
 (Package) ในครั้งนี้ หลังจากที่ได้รับฟังความคิดเห็นสาธารณะไป กสทช. ได้ปรับปรุงหลักเกณฑ์ โดยได้มีการปรับลดราคาขั้นต่ำของการประมูลเพื่อให้เกิดการแข่งขันและมีการปรับคุณสมบัติของผู้เข้าร่วมการประมูล โดยมีการแยกคุณสมบัติของผู้เข้าร่วมการประมูลในแต่ละชุดข่ายงานดาวเทียมที่แตกต่างกัน โดยเฉพาะในชุดที่ 4 (วงโคจรที่ 126 E) เพื่อให้ผู้ประกอบการรายย่อยหรือรายใหม่เข้าสู่การแข่งขันได้ง่าย เพราะราคาเริ่มต้นของชุดข่ายงานดาวเทียมนี้กำหนดเพียง
8 ล้านบาท นอกจากนั้น กสทช. ยังคงให้ความสำคัญกับการใช้งานเพื่อประโยชน์สาธารณะของหน่วยงานภาครัฐ โดยได้กำหนดให้ภาครัฐได้ใช้ดาวเทียมฟรี 1 ทรานสปอนเดอร์ สำหรับดาวเทียมสื่อสารแบบ
 Broadcast และ 400 Mbps สำหรับดาวเทียมสื่อสารความจุสูงแบบ Broadband ต่อวงโคจรหรือต่อดาวเทียม 1 ดวง ซึ่งเมื่อเทียบกับระบบสัมปทานเดิมภาครัฐจะได้สิทธิใช้ดาวเทียมฟรีดังกล่าวต่อ 1 สัมปทาน (แม้ว่าสัมปทานหนึ่งจะมี 3 – 4 ดวง ก็ได้เท่านี้) นอกจากนั้น เพื่อให้สอดคล้องตามนโยบายของคณะกรรมการอวกาศแห่งชาติ กสทช. ก็ได้กำหนดให้ บริษัทที่ชนะการประมูลจะต้องอนุญาตให้หน่วยงานภาครัฐที่ได้รับมอบหมายมีส่วนร่วมในการใช้วงโคจรที่ 119.5 E อาทิ มีส่วนร่วมในการจัดสร้างศูนย์ควบคุม
เกตเวย์ของรัฐเพื่อควบคุมการใช้งานดาวเทียมในส่วนของภาครัฐและเป็นการฝึกบุคลากรภาครัฐให้มีความพร้อมในการบริหารจัดการดาวเทียมในส่วนของตนเองโดยในส่วนนี้รัฐจะเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายเอง เป็นต้น

พล.อ.ท.ดร. ธนพันธุ์ ฯ ให้รายละเอียดเพิ่มเติมว่า ชุดข่ายงานดาวเทียมที่จะนำมาประมูลฯ ในครั้งนี้ มีทั้งสิ้น
5 ชุด 
(Package) ประกอบด้วย

ชุดที่ ประกอบด้วย วงโคจร 50.5E (ข่ายงาน C1 และ N1) และวงโคจร 51E (ข่ายงาน 51) ราคาเริ่มต้นการประมูล 374 ล้านบาทเศษ

ชุดที่ ประกอบด้วย วงโคจร 78.5E (ข่ายงาน A2B และ 78.5E) ราคาเริ่มต้นการประมูล 360 ล้านบาทเศษ

ชุดที่ ประกอบด้วย วงโคจร 119.5E (ข่ายงาน IP1, P3 และ 119.5E) และวงโคจร 120E (ข่ายงาน 120E) ราคาเริ่มต้นการประมูล 397 ล้านบาทเศษ

ชุดที่ วงโคจร 126E (ข่ายงาน 126E) ราคาเริ่มต้นการประมูล ล้านบาทเศษ

และชุดที่ วงโคจร 142E (ข่ายงาน G3K และ 142E) ราคาเริ่มต้นการประมูล 189 ล้านบาทเศษ

“กสทช. คาดว่าหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการประมูลฯ ที่ปรับปรุงนี้ จะทำให้มีผู้สนใจเข้าร่วมประมาณ 2-3 ราย โดยสิ่งที่ กสทช. ดำเนินการมาก็เพื่อรักษาไว้ซึ่งสิทธิในการเข้าใช้วงโคจรดาวเทียมอันเป็นสมบัติของชาติ เพราะหากไม่สามารถหาผู้มาใช้สิทธิในการสร้างและส่งดาวเทียมในวงโคจรทั้ง ชุด ได้ ประเทศไทยอาจโดนเพิกถอนสิทธิดังกล่าวจากสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ หรือ ITU ได้ จึงคาดหวังว่าการประมูลครั้งนี้จะบรรลุผลและทำให้กิจการดาวเทียมสื่อสารของประเทศไทยเปลี่ยนผ่านจากระบบสัมปทานมาสู่ระบบการอนุญาตได้และมีการพัฒนาเจริญก้าวหน้าต่อไป” พล.อ.ท.ดร. ธนพันธุ์ ฯ กล่าว

@mitihoonwealth
https://lin.ee/cXAf0Dp