มิติหุ้น – ภาครัฐชูบทบาทเอกชนเป็นกลไกสำคั ญร่วมเพิ่มพื้นที่สีเขียวและสนั บสนุนเป้าหมายรัฐบาลรับมื อผลกระทบจากการเปลี่ ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิ เป็นศูนย์ สะท้อนผลสำเร็จความร่วมมือ 3 ประสาน รัฐ เอกชน และชุมชนอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าต้นน้ำ และป่าชายเลน ยกต้นแบบ ความร่วมมือกับ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ ร่วมฟื้นฟูผืนป่า ช่วยภาครัฐประหยัดงบประมาณ รักษาสมดุลระบบนิเวศ ปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพ ส่งเสริมมิติด้านเศรษฐกิจสังคม และสิ่งแวดล้อมของชุมชนในพื้นที่
นายวัฒนา พรประเสริฐ ผู้อำนวยการสำนักงานทรั พยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจั งหวัดสมุทรสาคร เปิดเผยว่า ประเทศไทยประกาศเป้ าหมายลดการปล่อยก๊าซเรื อนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี ค.ศ. 2065 โดยได้กระตุ้นให้ทุกภาคส่วนเห็ นความสำคัญของการร่วมแก้ ปัญหาวิกฤตโลกร้อน ซึ่งหนึ่งในแนวทางของการแก้ปั ญหาและเป็นเรื่องที่สำคัญมาก คือ การเพิ่มพื้นที่ป่า ทั้งป่าต้นน้ำ และป่าชายเลนโดยเฉพาะการปลูกป่ าชายเลนที่สามารถดูดซับก๊าซคาร์ บอนไดออกไซด์ ได้มากกว่าป่าบกประมาณ 3 เท่า สอดรับตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 กำหนดเป้าหมายให้เพิ่มพื้นที่ป่ าไม้เป็น 40 % ของพื้นที่ประเทศ
การเข้ามีส่วนร่ วมของภาคเอกชนในการปลูกป่ าชายเลน จึงมีส่วนสำคัญที่ช่วยผลักดั นให้ภาครัฐสามารถตอบสนองต่ อนโยบายดังกล่าว ซึ่งในพื้นที่จังหวัดสมุ ทรสาครเป็นพื้นที่ที่มีแนวเขตติ ดทะเลและมีปัญหาถูกกัดเซาะชายฝั่ ง โดยที่ผ่านมาได้รับการสนับสนุ นจากภาคเอกชนอย่าง บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ เข้ามาช่วยดูแลรักษาและเพิ่มพื้ นที่ป่าชายเลน ฟื้นฟูระบบนิเวศป่าชายเลน ช่วยให้ภาครัฐประหยัดงบประมาณที่ ต้องใช้ในการดูแลผืนป่า ถ้าเรามีภาคเอกชนเข้ามาช่ วยหลายๆราย จะทำให้สามารถดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาลได้สำเร็ จเร็วขึ้น
“ความร่วมมือของภาคเอกชนอย่างซี พีเอฟ ที่เข้ามาช่วยดูแลและเพิ่มพื้ นที่ป่าชายเลนในพื้นที่จังหวั ดสมุทรสาคร ในช่วง 7- 8 ปีมานี้ เห็นผลสัมฤทธิ์ชัดเจน สมดุลระบบนิเวศกลับคืนมา ความหลากหลายทางชีวภาพของสัตว์ น้ำเพิ่มขึ้น เป็นผลจากการฟื้นฟูป่าที่ทำให้ ชาวบ้านมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น และผลที่ชัดเจนอีกประการหนี่ง คือ ป่าชายเลนที่เพิ่มขึ้น ช่วยป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ งของคลื่นทะเล ขอเชิญชวนให้ทุกภาคส่วนช่วยกั นปลูกต้นไม้ทั้งป่าต้นน้ำ และป่าชายเลนเพื่อโลกของเรา รวมทั้งแก้ปัญหาขยะที่ไหลลงสู่ แม่น้ำ ลำคลอง ทะเลและมหาสมุทร เพื่อดูแลสมดุลระบบนิเวศทั้ งทางบกและทางทะเลอย่างยั่งยืน” นายวัฒนา กล่าว
ด้าน นายวุฒิชัย สิทธิปรีดานันท์ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ด้านความรับผิดชอบต่อสั งคมและการพัฒนาอย่างยั่งยืน ซีพีเอฟ กล่าวว่า บริษัทฯมุ่งมั่นเป็นส่วนหนึ่ งของการร่ วมบรรเทาผลกระทบจากสภาวะโลกร้อน ปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพ มุ่งสู่การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศู นย์ตามเป้าหมายของรัฐบาลและเป้ าหมายของโลก โดยได้ดำเนินโครงการอนุรักษ์ และฟื้นฟูป่าต้นน้ำและป่ าชายเลนมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียวและกั กเก็บคาร์บอนของต้นไม้ ซึ่งปัจจุบัน ซีพีเอฟ ได้อนุรักษ์และฟื้นฟูป่าต้นน้ำ และป่าชายเลนไปแล้วมากกว่า 10,000 ไร่ และในระหว่างปี 2562-2566 มีเป้าหมายอนุรักษ์และฟื้นฟูป่ าชายเลนเพิ่มอีก 2,800 ไร่ ในพื้นที่จังหวัดสมุทรสาคร ระยอง และตราด ขณะที่ผลการดำเนินโครงการอนุรั กษ์และฟื้นฟูป่าชายเลนในระยะที่ หนึ่ง ( ปี 2557-2561)
ซีพีเอฟอนุรักษ์และฟื้นฟูป่ าในพื้นที่ 5 จังหวัด รวม 2,388 ไร่ พร้อมทั้งต่อยอดสู่การสร้างงาน และสร้างอาชีพให้กับชุ มชนสามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่ งยืน
“ซีพีเอฟ ดำเนินโครงการซีพีเอฟ ปลูก ปัน ป้อง ป่าชายเลน มาตั้งแต่ปี 2557 โดยร่วมมือกับภาครัฐและชุมชน ในพื้นที่ตำบลบางหญ้าแพรก อนุรักษ์ป่าชายเลนรวม 500 ไร่ ปลูกป่าใหม่เพิ่มเติม 104 ไร่ และในระหว่างปี 2562-2566 ซึ่งเข้าสู่ระยะที่ สองของโครงการ ฯ มีเป้าหมายปลูกป่าใหม่เพิ่มเติมอีก 266 ไร่ ซึ่งขณะนี้ได้ดำเนินการไปแล้ว 115 ไร่ ถือว่าเป็นพื้นที่ต้ นแบบของการปลูกป่าชายเลนของสมุ ทรสาคร ที่ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นแก้ปั ญหาพื้นที่ถูกกัดเซาะชายฝั่ งจากคลื่นทะเล จนประสบความสำเร็จในการฟื้นฟูป่ า และยังมีแผนในการขอรับรองคาร์บอนเครดิตในอนาคตด้ วย” นายวุฒิชัย กล่าว
นายวุฒิชัย ยังได้กล่าวเพิ่มเติมว่า นอกจากร่วมมือกับภาครัฐ อาทิ กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช และชุมชนในพื้นที่ เพื่ออนุรักษ์และฟื้นฟูป่ าชายเลนในพื้นที่จังหวัดสมุ ทรสาครแล้ว ซีพีเอฟยังได้ร่วมมือกับชุ มชนตำบลบางหญ้าแพรก และเทศบาลตำบลบางหญ้าแพรก จัดกิจกรรมกับดักขยะทะเล (Trap the Sea Trash) ลดการทิ้งขยะ เก็บ ดักขยะ ในคลองสาธารณะ ก่อนไหลลงสู่แม่น้ำบริเวณปากอ่ าวและทะเลอ่าวไทยตอนบน เพื่อช่วยลดปริมาณขยะที่ไหลลงสู่ ทะเล พร้อมทั้งส่งเสริมการบริหารจัดการขยะตามหลักเศรษฐกิ จหมุนเวียน (Circular Economy) ด้วยหลักการ 3R คือ ลดการใช้ (Reduce) นำกลับมาใช้ซ้ำ (Reuse) นำกลับมาใช้ใหม่ (Recycle) ทำให้ชุมชนมีรายได้ จากการนำขยะไปใช้ประโยชน์ได้ มากขึ้น
ทั้งนี้ ซีพีเอฟ ได้ประกาศเป้าหมายลดการปล่อยก๊ าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net –Zero) ในปี 2050 โดยวางกลยุทธ์การดำเนินงานเพื่ อก้าวสู่เป้าหมายดังกล่าว ใน 2 ด้านหลัก คือ การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Decarbonization) อาทิ เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาใช้ ส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียน ฯลฯ และอีกด้านหนึ่ง คือ การกักเก็บคาร์บอน (Carbon Removal) โดยได้ประกาศเป้าหมายต่อต้ านการตัดไม้ทำลายป่าให้เป็นศู นย์ การฟื้นฟูป่าและการปลูกต้นไม้ มีเป้าหมายอนุรักษ์ ปกป้อง และฟื้นฟูป่า ทั้งป่าต้นน้ำและป่าชายเลน รวมทั้งเพิ่มพื้นที่สีเขียว ด้วยการปลูกต้นไม้ ในสถานประกอบการ มีเป้าหมายดูดซับก๊าซคาร์ บอนไดออกไซด์สะสม 200,000 ตัน ครอบคลุมพื้นที่ 20,000 ไร่ ภายในปี 2573.
@mitihoonwealth
https://lin.ee/cXAf0Dp
https://lin.ee/cXAf0Dp