BTS ทวงหนี้4หมื่นล. สะเทือนถึงใคร?

1011

ป้ายโฆษณาอิเล็กทรอนิกส์และคลิปทวงหนี้ว่อนโลกโซเชียลมูลค่ากว่า 4 หมื่นลบ.ที่ BTS ปล่อยออกมาเพื่อทวงหนี้ที่ กทม.และกรุงเทพธนาคม ค้างจ่ายเป็นเวลากว่า 3 ปี จากค่าเดินรถไฟฟ้าสายสีเขียว ท่ามกลางความไม่ชัดเจนเรื่องของการต่ออายุสัมปทาน 30 ปี แลกกับหนี้สินในส่วนนี้

 

 แบกหนี้กว่า 4 หมื่นลบ. ช่วง3ปีรับไม่ได้

ซึ่งเนื้อหาในคลิปมีเสียงสัมภาษณ์ “คีรี กาญจนพาสน์” ประธานกรรมการบริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ (มหาชน) ด้วยในประเด็นนี้ว่า หนี้กว่า 40,000 ลบ.ที่รอการจ่ายมาถึง 3 ปีกว่า(เดือน เม.ย.60)นั้น ใครก็รับไม่ได้  และทาง BTS ก็เองมีค่าใช้จ่ายทุกวัน ทั้ง ค่าพนักงาน ค่าไฟฟ้า จึงอยากขอให้ผู้ที่มีอำนาจบริหารประเทศ ทั้ง กทม. หรือฝ่ายการเมืองต้องเร่งต้องเข้ามาดูด่วน เพราะดอกเบี้ยเดินทุกวัน ซึ่งอย่างไรก็ต้องจ่ายแน่นอน ซึ่งผู้ที่เสียหาย คือ ประชาชนผู้เสียภาษี

 

กทม.ยื่นยันมีเงินจ่ายแต่ไม่มีอำนาจตัดสิน

ขณะที่แอ็คชั่นของ กทม.ยืนยันมีเงินเพียงพอจ่ายหนี้ให้ BTS กรณีสายสีเขียว แต่คาดว่าจะเป็นหนี้เพียง 1 หมื่นลบ. ไม่ใช่ 4 หมื่นลบ. ทั้งนี้การจะจ่ายต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไข 3 ข้อ 1.ให้รัฐบาลสนับสนุนค่าก่อสร้างและระบบเดินรถ ถ้าครม.จะขยายสัมปทานต่อไปถึงปี 2582 , 2.การดำเนินการต้องผ่าน พรบ.ร่วมทุนปี 2562 และ 3.ให้ครม.ยุติคำสั่ง คสช.ปี 2562 ที่ให้ตั้งคณะทำงานเจรจาร่วมเรื่องสัญญาสัมปทานและการเดินรถ เพราะเรื่องนี้ไม่ใช่อำนาจของ กทม. เป็นอำนาจของ คณะกรรมการฯ ที่ คสช.ตั้งขึ้นมา นอกจากนี้ที่ผ่านมา ผู้ว่าฯ กทม.ได้ทำหนังสือส่งไปยัง รมว.มหาดไทย ตั้งแต่ต้น พ.ย.65 แล้ว

 

ยังต้องรอ ครม.อนุมัติ

ขณะที่มุมมองนักวิคราะห์ อย่าง บล.ดีบีเอสวิคเคอร์ส (ประเทศไทย) ระบุว่า จากการติดตามความคืบหน้าเกี่ยวกับรถไฟฟ้าสายสีเขียว-ส้ม ที่ BTS อยู่ระหว่างติดตามทวงหนี้ 4 หมื่นลบ.ที่ กทม.ค้างอยู่สำหรับค่าบริหารเดินรถ,งานระบบไฟฟ้าและเครื่องกล (E&M) ล่าสุดกทม.ชี้แจงว่ากทม.มีเงินสะสมอยู่ 7 หมื่นลบ. และพร้อมจะชำระทันที 1 หมื่นลบ.แต่การที่ค้างชำระ เพราะมีเรื่องที่ครม.ยังไม่อนุมัติออกมา

 

โดยเฉพาะกรณีการพิจารณาให้ BTS ทำการร่วมทุนในสายสีเขียวส่วนขยาย และพัวพันไปถึงการต่ออายุสัมปทานสายสีเขียวปัจจุบันที่จะหมดอายุในปี 2572 นี้แล้วหรือไม่ ทางด้านสายสีส้ม ที่รฟม.ให้กลุ่ม BEM ชนะการประมูลไปแล้ว แต่ก็ยังมีเรื่องที่ค้างคาอยู่ นั่นคือ สัญญาร่วมลงทุนอยู่ในช่วงการพิจารณาของอัยการสูงสุด และการลงนามในสัญญาต้องผ่านความเห็นชอบจากครม.ก่อน

 

นอกจากนี้ทาง บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTSC  (BTS ถือหุ้น 75% ) คือผู้ให้บริการรถไฟฟ้าสีเขียว อยู่ในระหว่างการยื่นอุทธรณ์ต่อศาลอาญาคดีทุจริต คดีการแก้ไขหลักเกณฑ์การประมูลรถไฟฟ้าของรฟม.ซึ่งคำตัดสินของศาลชั้นต้นคือ “ยกฟ้อง”

 

ทั้งหมดทั้งมวนเงินที่จะต้องจ่ายออกไปจากดอกเบี้ยที่งอกทุกวันหากทางการไม่เร่งสรุป ก็หนี้ไม่พ้นเงินภาษีจากประชาชนอยู่ดี…หากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องหันหน้าเข้าหากันเพื่อปิดเลือดซิบทุกๆวันจากดอกเบี้ยที่เดินก็จะช่วยประหยัดลงไม่กระทบเงินภาษีประชาชนไปมากกว่านี้

@mitihoonwealth

https://lin.ee/cXAf0Dp