อีสท์สปริง จัดสัมมนาลดหย่อนภาษีโค้งสุดท้าย พร้อมแนะเทรนด์แห่งอนาคต

68

มิติหุ้น  –   บลจ.อีสท์สปริง ประเทศไทย จัดงานมหกรรมการลงทุนเพื่อวางแผนภาษี โค้งสุดท้าย! คัดเน้นๆ SSF-RMF หลากหลายธีมลงทุนจากทั่วโลก โดยในงานได้รับเกียรติจาก นายจักรพงษ์ เมษพันธุ์ หรือ โค้ชหนุ่ม จาก The Money Coach,  นายถนอม เกตุเกม จากเพจ TaxBugnoms, นายเธียรวิชญ์ จิตตมานนท์กุล ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายฝึกอบรม บมจ. พรูเด็นเชียล ประกันชีวิต, นายอติชาญ เชิงชวโน จากเพจ spin9 ยูทูบเบอร์และคอนเทนต์ครีเอเตอร์ชื่อดัง และ นายบดินทร์ พุทธอินทร์ ผู้อำนวยการฝ่ายกลยุทธ์การลงทุน บลจ.อีสท์สปริง มาร่วมพูดคุย และร่วมให้มุมมองการลงทุนเพื่อวางแผนภาษีไว้อย่างน่าสนใจ

ในช่วงเริ่มต้นงานสัมมนา นายถนอม ได้กล่าวถึงการวางแผนภาษีไว้ว่า การวางจัดการการเงินของตัวเองเพื่อให้มีเงินเหลือและเงินเก็บ ไม่ได้จำกัดแค่การจัดการลดหย่อนภาษีเท่านั้น เพราะหากเราเข้าใจ ก็จะทำให้เรามีเงินมากขึ้น นอกจากนั้นยังพบว่าหลายคนยังติดกับดักของผู้ชนะ คือ ยิ่งได้เงินภาษีคืนมากเท่าไหร่ก็นับว่าเป็นชัยชนะมากเท่านั้น ซึ่งจริง ๆ แล้วอาจไม่ได้เป็นอย่างนั้นเสมอไป

หลังจากนั้นโค้ชหนุ่มได้กล่าวเสริมว่า จริง ๆ แล้ว ทุกคนทราบดีว่าภาษี คือ ค่าใช้จ่ายขนาดใหญ่ แต่หลายคนกลับมองข้าม ไปโฟกัสการใช้จ่ายอย่างอื่นมากกว่า ดังนั้น การวางแผนภาษี ในทางหนึ่งก็คือการบริหารค่าใช้จ่ายอย่างมีศิลปะ บางครั้งการมุ่งมั่นที่จะลดหย่อนภาษีมากเกินพอดี ก็อาจทำให้เราไม่มีเงินมาจับจ่ายใช้สอยได้ ดังนั้นการวางแผนภาษีที่มีความพอดีนี้ จะต้องดูทั้งความคุ้มครองและความมั่งคั่งด้วย เพราะโจทย์ไม่ใช่ว่าซื้อประกันหรือยัง แต่โจทย์คือเรามีความคุ้มครองเพียงพอหรือไม่ และในทางเดียวกันการลงทุนในกองทุนที่มีสิทธิประโยชน์ทางภาษีนั้น เราก็ควรถามตัวเองด้วยเหมือนกันว่าส่วนที่เราลงทุนเพียงพอกับที่ใช้จ่ายในตอนเกษียณอายุหรือไม่ ซึ่งในตอนท้าย ทั้งสองท่านมีความเห็นตรงกันว่า ปีนี้ค่อนข้างเป็นปีที่มีความยาก ทั้งในด้านการวางแผนการเงินเนื่องจากสภาพเศรษฐกิจโดยรวม และในด้านการเลือกกองทุน เพราะปีนี้เป็นปีที่ค่อนข้างท้าทายในเกือบทุกสินทรัพย์

ต่อมานายเธียรวิชญ์ ได้ให้แง่คิดในการเลือกซื้อประกันไว้ว่าต้องให้ความสำคัญที่ความคุ้มครองด้วย และควรคำนึงมากกว่าแค่ส่วนลดหย่อนภาษีที่ได้รับ โดยปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์หลากหลายให้เลือกที่สามารถตอบโจทย์ความคุ้มครองได้ครอบคลุมแน่นอน

หลังจากนั้น เพื่อเจาะลึกเทรนด์น่าลงทุนในอนาคต นายอติชาญ เชิงชวโน จากเพจ spin9 ได้มาแนะนำเทรนด์ที่น่าสนใจไว้หลายเทรนด์ด้วยกัน  โดยมีเทรนด์ในช่วง 3-5 ปี ที่โดดเด่น คือ พลังงานสะอาด เพราะเราเห็นนโยบาย Net Zero นโยบายกักเก็บคาร์บอน (Carbon Capture) เป็นรูปธรรมมากขึ้น และมีดัชนีชี้วัดง่าย ๆ ตอนนี้หลายคนก็เริ่มคิดแล้วว่ารถคันต่อไปจะเป็นรถยนต์ EV หรือเปล่า สำหรับ EV เป็นเทรนด์ใหญ่ ที่ไม่ได้มีเฉพาะในไทย ในต่างประเทศ เทรนด์นี้ไปไกลมาก เพราะในปี 2030 ทั้งบริษัท Mercedes Benz และ BMW ตั้งเป้าจะผลิตรถยนต์ไฟฟ้า 100%

ในช่วงท้ายของงานสัมมนา คุณบดินทร์ได้กล่าวว่า สำหรับผู้ที่สามารถรับความเสี่ยงได้ อยากให้มองกองทุนหุ้นโลกเพื่อโอกาสรับผลตอบแทนในระยะยาว แต่ผู้ที่รับความเสี่ยงได้น้อยก็สามารถเลือกกองทุนตราสารหนี้โลกเพื่อกระจายความเสี่ยงได้ โดยได้แนะนำ กองทุน น่าลงทุน คือ กองทุน TMBGQGRMF กองทุน T-ES-GCG-SSF และ T-ES-GCG-RMF และกองทุน TMBGINCOMERMF

สำหรับกองทุน TMBGQGRMF เป็นกองทุนที่ลงทุนในหุ้นทั่วโลกโดยเน้นการคัดเลือกบริษัทที่ทั้งเติบโต (Growth) และมีคุณภาพ (Quality) ปรับน้ำหนักหุ้นอย่างเป็นระบบตามภาวะเศรษฐกิจ ด้วยทีมนักวิเคราะห์ที่คอยจับตามวัฏจักรธุรกิจอย่างต่อเนื่อง เพิ่มน้ำหนักหุ้นเติบโตเมื่อเศรษฐกิจดี และสับเปลี่ยนเข้าหุ้นคุณภาพเมื่อเศรษฐกิจตกต่ำ จัดพอร์ตกระจายการลงทุนในหุ้น 60-90 บริษัท และจำกัดไม่ให้น้ำหนักหุ้นกระจุกตัวใน Top-holding มากจนเกินไป เหมาะสำหรับจัดเป็น Core Portfolio

กองทุน T-ES-GCG-SSF และ T-ES-GCG-RMF กองทุนคู่แฝดที่เน้นลงทุนหุ้นเติบโตจากทั่วโลกเพียง 25-35 บริษัท โดยเลือกลงทุนในบริษัทคุณภาพที่มีการเติบโตสม่ำเสมอ เหมาะเน้นการลงทุนระยะยาว

สำหรับผู้ที่รับความเสี่ยงได้ไม่มากนัก แนะนำกองทุน TMBGINCOMERMF เน้นลงทุนในตราสารหนี้หลากหลายประเทศทั่วโลก ปรับสัดส่วนการลงทุนในตราสารหนี้ประเภทต่าง ๆ เช่น เงินฝาก หุ้นกู้ พันธบัตร ตราสารหนี้ที่มีสินเชื่อค้ำประกัน ตามสภาวะตลาดที่เปลี่ยนแปลง และเน้นลดความผันผวนในช่วงที่ทิศทางดอกเบี้ยกำลังเปลี่ยนแปลง

ทั้งนี้ หากสนใจลงทุน สามารถเข้าไปดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.eastspring.co.th หรือโทร 1725 ในวันและเวลาทำการ หรือผ่านช่องทางการขายของบริษัทฯ หรือตัวแทนการสนับสนุนการขายและรับซื้อคืนที่ได้รับแต่งตั้ง

ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ทางภาษี ที่ระบุไว้ในคู่มือการลงทุนในกองทุนรวมดังกล่าวด้วย ทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไข ผลตอบแทนและความเสี่ยง ก่อนตัดสินใจลงทุน

@mitihoonwealth
https://lin.ee/cXAf0Dp